backup og meta

แพ้ยาย้อมผม รักษายังไง และสารเคมีที่ควรระวัง

แพ้ยาย้อมผม รักษายังไง และสารเคมีที่ควรระวัง

แพ้ยาย้อมผม คือ อาการแพ้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งในยาย้อมผม ซึ่งสารเคมีที่อาจพบได้บ่อยในยาย้อมผม คือ พาราโทลูอีนไดอามีน แต่สารเคมีที่มักทำให้เกิดอาการแพ้ คือ พาราฟินีลินไดอะมีน ส่วนใหญ่แล้ว พาราฟินีลินไดอะมีนมักใช้ผสมกับเปอร์ออกไซด์ในสีย้อมเพื่อเปลี่ยนสีผม เมื่อพาราฟินีลินไดอะมีนทำปฏิกิริยากับผิวหนังก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้นได้ โดยอาการที่เกิดขึ้นมักได้แก่ คัน ผื่น ผิวหนังเป็นขุย มีน้ำเหลืองไหล  หน้าบวมช่วงบน

[embed-health-tool-heart-rate]

แพ้ยาย้อมผม เกิดจากอะไร

อาการแพ้ยาย้อมผม (Hair Dye Allergy) เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อระบบภูมิกันภายในร่างกายมีการตอบสนองต่อสารเคมีบางอย่างที่อยู่ในยาย้อมสีผมที่สัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหนังศีรษะ มือ แขน เป็นต้น จนส่งผลให้เกิดอาการแพ้ หรือภูมิแพ้ตามมา ซึ่งอาจปรากฏเป็นปฏิกิริยาที่สังเกตเห็นได้ ดังนี้

  • ผิวหนังอักเสบ
  • ผื่นแดง และอาการคันบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับสารเคมี
  • ลมพิษรุนแรง
  • ตา ริมฝีปาก ลิ้น มือ มีอาการบวม หรือบวมทั้งหน้า
  • หายใจไม่ออก หรือหายใจถี่ขึ้น
  • คลื่นไส้
  • รู้สึกแสบหนังศีรษะ หู ใบหน้า ลำคอ

นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่า ผู้ที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงต่อสารเคมีในยาย้อมผม อาจนำไปสู่ภาวะช็อค ความดันโลหิตสูง และอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้น ดังนั้น หากประสบกับอาการข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น อาการแพ้ยาย้อมผมที่รุนแรงหรือไม่รุนแรงก็ตาม ควรหยุดการย้อมผม ล้างทำความสะอาดยาย้อมผมออกให้หมด เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายเบื้องต้นก่อนเข้ารับการรักษาจากคุณหมอ

สารเคมีในยาย้อมผมที่ควรระวัง

ผลิตภัณฑ์ย้อมสีผมมักประกอบไปด้วยสารเคมีที่รุนแรง ดังนั้น ก่อนการเข้ารับการย้อมสีผมจากร้านเสริมสวย หรือซื้อยาย้อมผมมาย้อมสีผมด้วยตนเอง ควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ และระมัดระวังส่วนผสมที่อาจเป็นอันตราย ดังต่อไปนี้

  • พาราฟีนิลีนไดอะมีน (Paraphenylenediamine หรือ PPD)
  • พี-ไดอะมิโนเบนซีน (P-Diaminobenzene)
  • 4-ฟีนิลีนไดอะมีน (4-Phenylenediamine)
  • 4-อะมิโนอะนิลีน (4-Aminoaniline)
  • 1,4-ไดอะมิโนเบนซีน (1,4-Diaminobenzene)
  • 1,4-เบนซีนไดอามีน (1,4-Benzenediamine)

การหลีกเลี่ยงสารเคมีเหล่านี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ยาย้อมผม นอกจากนี้ ควรเลือกใช้ยาย้อมสีผมที่มีส่วนประกอบของสารเคมีให้น้อยลง และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติมาทดแทน โดยอาจตรวจสอบหรือเปรียบเทียบยาย้อมผมหลากหลายยี่ห้อโดยการอ่านฉลากข้างบรรจุภัณฑ์

วิธีรักษาอาการแพ้ยาย้อมผม

ในกรณีที่มีอาการระคายเคือง หรืออาการแสบบริเวณหนังศีรษะเล็กน้อยในขณะย้อมผม สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การสระผมด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยนและล้างยาย้อมสีผมออกไปให้หมด เพื่อชำระล้างสารเคมีที่รุนแรงที่อาจส่งผลเสียต่อหนังศีรษะ

สำหรับอาการแพ้ยาย้อมผมที่รุนแรงอาจต้องใช้ครีมคอร์ติโคสเตรียรอยด์ รับประทานยาแก้แพ้ ที่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปมาทาให้ทั่วบริเวณที่มีอาการแสบ ผื่นแดง เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น และติดตามอาการสักระยะ หากยังมีอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางในทันที เพื่อรับยาชนิดอื่นที่เหมาะสมกับการบรรเทาอาการแพ้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hair dye reactions https://www.nhs.uk/conditions/hair-dye-reactions/ Accessed January 28, 2021

Allergy to paraphenylenediamine. https://dermnetnz.org/topics/allergy-to-paraphenylenediamine. Accessed January 5, 2022

Reactions to Hair Dye Factsheet. https://www.allergyuk.org/resources/reactions-to-hair-dye-factsheet/. Accessed January 5, 2022

Learn All About Allergy from Hair Colour/Hair Dye Allergy Treatment, Causes & Prevention. https://www.skinspecialistindelhi.com/services/hair-dye-allergy/. Accessed January 5, 2022

Hair Dyes. https://www.anaphylaxis.org.uk/knowledgebase/allergic-reactions-to-hair-dyes/. Accessed January 5, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

9 สิ่งใกล้ตัว สาเหตุของอาการแพ้ที่คุณต้องประหลาดใจ

ย้อมสีผม เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งจริงหรือ?


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 7 วันก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา