backup og meta

มะเร็งตับ (Liver cancer)

มะเร็งตับ (Liver cancer)

มะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ในตับพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง ที่พบได้มากที่สุดมักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ตับ โดยเริ่มจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นในตับ ไม่ได้เกิดมาจากการแพร่กระจายจากส่วนสำคัญอื่นใดในร่างกายมาสู่ตับ

คำจำกัดความ

มะเร็งตับ คืออะไร

มะเร็งตับ(Liver cancer) เกิดจากเซลล์ในตับพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง

ตับเป็นอวัยวะหนึ่งในส่วนขวาบนของช่องท้อง ซึ่งอยู่ใต้กะบังลมและกระเพาะอาหาร มะเร็งตับที่พบได้มากที่สุดมักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ตับ โดยเริ่มจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นในตับ ไม่ได้เกิดมาจากการ แพร่กระจายจากส่วนสำคัญอื่นใดในร่างกายมาสู่ตับ

มะเร็งที่เกิดในอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ลำไส้ ปอด หรือหน้าอก แล้วลุกลามไปยังตับ ไม่ใช่มะเร็งตับแต่จะเรียกว่ามะเร็งระยะแพร่กระจาย (metastatic cancer)

มะเร็งตับพบได้บ่อยเพียงใด

มะเร็งตับพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยมักพบในผู้ที่อายุ 50

ถึง 70 ปี การวินิจฉัยในระยะเริ่มแรกจะนำไปสู่การพยากรณ์โรคที่เหมาะสม โดยสามารถจัดการกับโรคนี้ได้โดยลดความเสี่ยงลง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรค มะเร็งตับ

ผู้ป่วยหนึ่งในสามไม่มีอาการมะเร็งตับในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อโรคเริ่มพัฒนาขึ้น อาจะมีสัญญาณบ่งชี้และอาการดังนี้

  • น้ำหนักลดลงอย่างมากจนผิดปกติ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • ท้องโต
  • มีภาวะเบื่ออาหารหรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้
  • อ่อนเพลีย 
  • มีอาการดีซ่าน
  • ซีด

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

ให้แจ้งแพทย์หากคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น เช่น ปวดท้องรุนแรง มีไข้สูงเรื้อรัง เป็นต้น สถานการณ์และภาวะของโรคมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน หมั่นปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการวินิจฉัย การรักษา และวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคมะเร็งตับ

สาเหตุของมะเร็งตับส่วนใหญ่ไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ดี ในบางกรณี อาจเกิดจากตับอักเสบสาเหตุอื่นๆ ที่พบได้บ่อยได้แก่ ภาวะตับแข็ง หรือตับเสียหายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน หรือไขมันพอกตับ มะเร็งตับเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ตับเปลี่ยนแปลงไป หรือ การผ่าเหล่าในระดับดีเอ็นเอ ส่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ต่อมาเซลล์ตับจะเริ่มเสียการควบคุมและเกิดเนื้องอกขึ้น

ปัจจัยความเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ

ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งตับ ได้แก่

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) หรือไวรัสตับอักเสบซี (HCV) เรื้อรัง
  • ภาวะตับแข็ง ซึ่งมีการก่อตัวของพังผืดในตับ
  • โรคตับทางพันธุกรรมที่เกิดจากภาวะเหล็กมากเกินไป และโรควิลสัน
  • โรคเบาหวาน ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับน้ำตาลในเลือดจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน
  • ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ การสะสมตัวของไขมันในตับสามารถทำให้เกิดมะเร็งตับได้
  • การสัมผัสสารอะฟลาท็อกซิน หรือสารพิษในอาหารที่ทำจากข้าวโพด ถั่ว และอื่นๆ
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นประจำในเวลาหลายปี

    จะทำให้ตับเสียหายและเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับ

  • โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับ ไขมันพอกตับ และตับแข็งได้

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรค มะเร็งตับ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับมักเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากเซลล์เยื่อบุตับที่เป็นมะเร็งมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก ในการวินิจฉัย แพทย์อาจทำการตรวจเลือดแบบ AFP (alpha fetoprotein) หรือตรวจการทำงานของตับในผู้ป่วยตับแข็งหรือตับอักเสบบีและซี อย่างไรก็ดี การทดสอบนี้ยังคงได้ผลไม่แน่ชัดเนื่องจากเซลล์ตับที่เป็นมะเร็งอาจไม่สามารถตรวจพบในการตรวจเลือด ดังนั้น แพทย์จะสามารถทำการตรวจเลือดร่วมกับการทดสอบอื่นๆ เช่น

การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจทีซีสแกน หรือ เอ็มอาร์ไอ หากภาพถ่ายอัลตราซาวนด์แสดงให้เห็นเนื้องอก แพทย์จะทำการตรวจตัวอย่าง เนื้อเยื่อตับ โดยใช้เข็มสอดเข้าไปเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อและใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งตับ

การรักษามะเร็งตับขึ้นอยู่กับระยะของโรค อายุ และภาวะสุขภาพ การผ่าตัดเป็นการรักษาที่เหมาะสมที่สุด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้ารับ การผ่าตัดได้เนื่องจากภาวะตับแข็งหรือเนื้องอกอาจแพร่กระจายได้ โดยเนื้องอกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 ซม. อาจแพร่กระจายและไม่สามารถผ่าตัดได้ แต่จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของตับและจะไม่มีอาการซ้ำในอนาคต ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดสามารถรักษาได้โดยวิธีอื่นๆ ซึ่งได้แก่ การรักษาด้วยเคมีบำบัด โดยมีการฉีดยาเอทานอลเข้าไปในเส้นเลือดเพื่อทำลายเนื้องอกโดยตรง ผู้ที่มีก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่หรือตับได้รับความเสียหายมากอาจต้องใช้วิธีการเปลี่ยนถ่ายตับ จากผู้ที่บริจาคตับ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยรับมือกับโรคมะเร็งตับ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการการเยียวยาตัวเองดังต่อไปนี้จะช่วยให้คุณรับมือกับโรคมะเร็งตับได้

  • นัดตรวจร่างกายซ้ำเพื่อติดตามความต่อเนื่องของอาการ รวมทั้งสุขภาพโดยรวม
  • รับฟังข้อแนะนำของแพทย์ โดยไม่ใช้ยาที่ไม่ได้ระบุในใบสั่งยา หรือเลิกยาโดยพลการโดยไม่มีคำแนะนำจากแพทย์
  • เรียนรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งตับเพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสมได้
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 321

Liver cancer. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/liver-cancer/basics/definition/con-20025222. Accessed July 14, 2016.

Liver cancer. http://www.webmd.com/cancer/understanding-liver-cancer-basic-information#1. Accessed July 14, 2016.

Liver cancer. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000280.htm. Accessed July 14, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งตับระยะสุดท้าย อาการ และการรักษา

อาหารต้านมะเร็งตับ คุณควรกินอะไรบ้าง?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา