เนื้องอกในสมอง เป็นกลุ่มเนื้อเยื่อที่ก่อตัวจากเซลล์ผิดปกติที่ขยายตัว เซลล์เหล่านี้เกิดขึ้นจากสมองหรือกระดูกสันหลังส่วนกลางที่ทำลายการทำงานของสมอง
คำจำกัดความ
เนื้องอกในสมอง คืออะไร
เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เป็นกลุ่มเนื้อเยื่อที่ก่อตัวจากเซลล์ผิดปกติที่ขยายตัว เซลล์เหล่านี้เกิดขึ้นจากสมองหรือกระดูกสันหลังส่วนกลางที่ทำลายการทำงานของสมอง
เนื้องอกในสมองมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับบริเวณที่ เนื้องอก เกิดขึ้น และขึ้นอยู่ที่ว่า เนื้องอก นั้นเป็นเนื้อร้าย (เซลล์มะเร็ง) หรือเป็นเนื้องอกธรรมดา
- เนื้องอกธรรมดา เป็น เนื้องอก ที่ไม่ใช่มะเร็งซึ่งอันตรายน้อยที่สุด จะไม่มีเซลล์มะเร็งแฝงอยู่ และอาจเกิดจากเซลล์ที่อยู่ภายในสมอง หรือบริเวณใกล้เคียง อัตราการเติบโตของเซลล์ชนิดนี้ค่อนข้างต่ำและไม่แพร่ขยายไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ
- เนื้อร้าย เป็น เนื้องอก ที่มีเซลล์มะเร็งและเป็นอันตราย และอัตราการเติบโตสูงกว่าและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ เช่น ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนอื่น ๆ ของสมอง
- เนื้องอกปฐมภูมิ เป็น เนื้องอก เกิดขึ้นที่เซลล์สมอง มักลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของสมองและกระดูกสันหลัง
- เนื้องอกซึ่งลุกลามจากที่อื่น มักเกิดจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายและลุกลามเข้าสู่สมอง
เนื้องอกในสมองพบบ่อยแค่ไหน
อาการนี้เกิดขึ้นในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย และสามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของ เนื้องอกในสมอง
อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับประเภทของ เนื้องอก บริเวณและขนาดของเนื้องอกที่เกิดขึ้น ส่วนของสมองที่แตกต่างกันควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต่างกัน และอาการอาจแตกต่าง ๆ กันไปตามบริเวณที่ เนื้องอก เกิดขึ้น เนื้องอกบาง ประเภทอาจแสดงอาการที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลา บางชนิดอาจไม่แสดงอาการ จนกระทั่ง เนื้องอก มีขนาดใหญ่และส่งผลเสียต่อสุขภาพ
อาการทั่วไปของเนื้องอกในสมอง ได้แก่
- อาการชัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่เคยมีประวัติการชักมาก่อน
- ปวดศีรษะบ่อย หรือลักษณะอาการปวดแตกต่างกันไป
- คลื่นไส้หรืออาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปัญหาทางการมองเห็น เช่น เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็นชั่วคราว
- ปัญหาทางการได้ยิน
- ปัญหาทางการพูดหรือทำความเข้าใจ
- ปัญหาทางการทรงตัว
- อาการชาหรือรู้สึกเสียวซ่าที่แขนขา
- สูญเสียความทรงจำ
- ปัญหาเกี่ยวกับการจดจ่อ
- บุคลิกเปลี่ยนไป
อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษาแพทย์
ควรพบคุณหมอเมื่อใด
เมื่อสังเกตว่าเกิดอาการต่าง ๆ หรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการแตกต่างกัน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อสอบถามถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับอาการที่เกิดขึ้น
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิด เนื้องอกในสมอง
สาเหตุหลัก 2 ประการของการเกิดก้อนเนื้องอกในสมอง ได้แก่
- เนื้องอกในสมองแบบปฐมภูมิ เป็น เนื้องอก เกิดที่บริเวณสมองหรือบริเวณใกล้เคียง เช่น เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) ประสาทสมอง (Cranial Nerves) ต่อมพิทูอิทารี (Pituitary Gland) หรือต่อมไพเนียง (Pineal Gland) ก้อนเนื้อในสมองประเภทนี้เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอของเซลล์ การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นกระบวนการที่ผิดปกติของดีเอ็นเอที่ทำให้เซลล์เจนิญเติบโต แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และแข็งแรงขึ้นจากการแย่งสารอาหาร และทำให้เซลล์อื่น ๆ ตายไป ผลของกระบวนการนี้ทำให้เกิดกลุ่มเซลล์ที่ผิดปกติ นั่นคือ ก้อนเนื้อ นั่นเอง
- เนื้องอกในสมองที่ลุกลามจากที่อื่น (Metastatic Brain Tumor) เป็น เนื้องอก ที่เกิดจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และลุกลามมายังสมอง เนื้องอก ประเภทนี้เกิดขึ้นบ่อยกว่าเนื้องอกแบบปฐมภูมิ
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมอง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมอง ได้แก่
- อายุ ความเสี่ยงการเกิด เนื้องอก อยู่ที่อายุที่เพิ่มมากขึ้น เนื้องอกในสมองจะเกิดมากในวัยผู้ใหญ่ แต่อาจเกิดได้กับบุคคลทุกวัย และเนื้องอกในสมองบางประเภทก็เกิดขึ้นกับเด็กโดยเฉพาะ
- การรับรังสี รังสีมีหลายประเภท ผู้ที่ได้รับรังสีไอออนไนซ์มีความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกในสมองได้สูงกว่า ตัวอย่างของรังสีไอออนไนซ์ ได้แก่ การฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็ง และรังสีจากระเบิดอะตอม แต่รังสีจากคลื่นความถี่จากแหล่งพลังงานทั่วไป เช่น โทรศัพท์มือถือและเตาไมโครเวฟ ยังไม่มีการพิสูจนทางวิทยาศาสตร์ว่า เกี่ยวข้องกับการเกิดเนื้องอกในสมอง
- ประวัติของคนในครอบครัวที่เคยเป็นเนื้องอกในสมอง ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติ มีโอกาสสูงขึ้นที่จะเกิดภาวะนี้
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ได้ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยเนื้องอกในสมอง
หากคุณสงสัยว่าจะเป็นเนื้องอกในสมอง แพทย์จะซักถามถึงอาการและประวัติทางครอบครัวเกี่ยวกับสุขภาพ และอาจแนะนำให้เข้ารับการทดสอบและตรวจวินิจฉัยต่างๆ ได้แก่
- การตรวจระบบประสาท เป็นการตรวจร่างกายเพื่อตรวจดูความสามรถทางการมองเห็น การได้ยิน การทรงตัว การประสานงานของส่วนต่างๆ ความแข็งแรงและความหยืดหยุ่น หากเกิดปัญหาที่ระบบใดแพทย์จะสามารถระบุถึงตำแหน่งของสมองที่เกิดปัญหา และทำการตรวจด้วยวิธีการอื่นต่อไป
- การตรวจด้วยการถ่ายภาพ การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือซีทีสแกน (CT Scan) ทำให้เห็นภาพราบละเอียดของสมอง วิธีการอื่น ๆ เช่น การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (Angiogram) หรือ เอ็มอาร์เอ (MRA) ซึ่งเป็นการตรวจโดยการฉีดสีเข้าสู่เส้นหลอดสมอง เพื่อให้แพทย์สามารถหาสัญญาณของ เนื้องอก หรือเส้นเลือดที่ผิดปกติ
- การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy) เป็นการตรวจเพื่อตรวจว่าชิ้นเนื้อเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่ ชิ้นเนื้อตัวอย่างจะถูกตัดออกจากสมองโดยการผ่าตัดหรือการใช้เข็มเจาะผ่านรูเข้าสู่กะโหลก และชิ้นเนื้อตัวอย่างจะถูกส่งไปตรวจ
การรักษาเนื้องอกในสมอง
การรักษาเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่
- อายุ สุขภาพและประวัติการรักษา
- ประเภท บริเวณและขนาดของก้อนเนื้อ
- การลุกลามหรือการเกิดซ้ำของก้อนเนื้อ
- ความอดทนของคุณต่อประเภทการรักษา ขั้นตอนการรักษาหรือการบำบัดต่าง ๆ
การรักษาอาการต่าง ๆ ประกอบด้วย
- ยากันชัก (AEDs)
- สเตียรอยด์
- การผ่าตัด
โดยทั่วไป เนื้องอกขั้นแรก (1 และ 2) ที่ไม่ร้ายแรงสามารถรักษาโดยการผ่าตัดและติดตามอาการ แม้ว่า เนื้องอก เหล่านี้จะได้รับการเฝ้าติดตามจากการสแกนสมอง เนื้องอกชนิดที่ 2 จะต้องได้รับการเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่า เนื้องอก จะไม่เกิดซ้ำ
แต่เนื้องอกชนิดร้ายแรง (3 และ 4) เป็น เนื้องงอก ที่อันตราย และสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็ว จึงยากที่จะทำการผ่าตัดออก และมักต้องได้รับการรักษาที่นอกเหนือจากการผ่าตัด อัตราการที่ เนื้องอก จะกลับมาเกิดใหม่มีสูง การรักษาทุกวิธีทำเพื่อเยียวยาอาการให้ดีขึ้นและยืดอายุของผู้ป่วยให้นานขึ้น วิธีการรักษาเนื้องอกชนิดขั้นสูง ได้แก่
- การรักษาโดยการฉายรังสี การเอกซเรย์ และการฉายรังสีรูปแบบอื่น ๆ เพื่อยับยั้งการเติบโตของ เนื้องอก หรือทำลายเซลล์เนื้องอกนั้น
- การทำเคมีบำบัด เป็นวิธีที่ต้องมีการใช้ยาร่วมด้วย โดยอาจเป็นยารับประทานหรือฉีดเข้าเส้น เพื่อจัดการกับเซลล์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
- การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์ เป็นการรักษาที่เน้นเฉพาะองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง เช่น โมเลกุลหรือช่องทางสำหรับการเติบโตของเซลล์และใช้เป็นช่องทางการรักษาที่เฉพาะต่อเซลล์เป้าหมาย
- การรักษาเนื้องอกด้วยสนามไฟฟ้า เป็นการรักษาที่มีการใช้อุปกรณ์สวมใส่ โดยอุปกรณ์จะผลิตสนามไฟฟ้าเพื่อไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ที่เกิดขึ้นจากเซลล์มะเร็ง
ผู้ป่วยเนื้องอกในสมองต้องวางแผนร่วมกับแพทย์ ไม่เฉพาะเพียงการรักษาอย่างทันท่วงทีเท่านั้น แต่วางแผนการรักษาฟื้นฟูในระยะยาว เพราะการรักษามะเร็งนั้นอาจส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่ดี ผู้ป่วยจึงควรรับทราบถึงผลข้างเคียงระยะยาวของการรักษาใด ๆ การวางแผนการดูแลในระยะยาวประกอบด้วย
- การดูแลติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
- การทำกายภาพบำบัด การบำบัดด้านการพูด กิจกรรมบำบัด
- การให้คำปรึกษา หรือการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่อาจช่วยจัดการเนื้องอกในสมอง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเยียวยาตนเอง ที่อาช่วยรับมือกับเนื้องอกในสมองเบื้องต้นด้วยตนเอง มีดังนี้
- การมองโลกในแง่ดี พยายามหลีกเลี่ยงแหล่งที่ทำให้เกิดความเครียด ทำสิ่งที่คุณรักและปรับพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มองหาผัก เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และอาหารที่มีไขมันต่ำ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดการสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นการช่วยส่งเสริมทั้งสุขภาพกายและใจ พยายามออกกำลังกายให้บ่อยขึ้น ความรู้สึกเหนื่อยล้าระหว่างการออกกำลังกายเป็นเรื่องปกติ คุณอาจลองลดความเข้มข้นของการออกกำลังกายลงและเริ่มช้า ๆ แต่หัวใจสำคัญคือความสม่ำเสมอ
หากคุณมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์สำหรับการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ