ไตวาย หรือ ไตเสียหาย (Kidney Injury) เกิดขึ้นเมื่อไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียจากเลือด ภาวะไตวายสามารถส่งผลต่อคนทุกวัย แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง
คำจำกัดความ
ไตวาย คืออะไร
ไตวาย (Kidney Injury) ภาวะไตวาย หรือ ไตเสียหาย เกิดขึ้นเมื่อไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียจากเลือด ไตเป็นคู่อวัยวะอยู่บริเวณด้านหลังส่วนล่าง โดยจะอยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่กรองเลือดและกำจัดสารพิษจากร่างกาย โดยส่งสารพิษไปยังกระเพาะปัสสาวะ แล้วร่างกายจึงกำจัดสารพิษออกทางปัสสาวะ
ไตวาย พบบ่อยเพียงใด
ภาวะไตวาย สามารถส่งผลต่อคนทุกวัย แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของ ไตวาย
อาการทั่วไปของ ภาวะไตวาย ได้แก่
- ปัสสาวะน้อยเกินไป
- อาการบวมที่ขา ข้อเท้า และเท้า จากภาวะของเหลวคั่ง เนื่องจากไตไม่สามารถกำจัดน้ำที่เป็นของเสียได้
- หายใจลำบากโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เพลียหรือเหนื่อย
- คลื่นไส้เรื้อรัง
- มึนงง
- ปวดหรือแน่นหน้าอก
- มีอาการชักหรือหมดสติในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของไตวาย
ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิด ภาวะไตวาย มากที่สุดมักมีสาเหตหนึ่งประการหรือมากกว่า ดังต่อไปนี้
– ขาดเลือดหล่อเลี้ยงไต
การขาดกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงไตอย่างกะทันหันทำให้เกิดไตวายได้ โดยโรคและภาวะบางประการที่ทำให้ขาดกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงไต ได้แก่
- หัวใจวาย
- โรคหัวใจ
- ตับแข็งหรือตับวาย
- ภาวะขาดน้ำ
- แผลไฟไหม้ขั้นรุนแรง
- อาการแพ้
- การติดเชื้อรุนแรง เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย
นอกจากนี้ ความดันโลหิตหรือยาต้านการอักเสบยังสามารถขัดขวางการไหลเวียนของกระแสเลือดได้อีกด้วย
– ปัญหาเกี่ยวกับการขับปัสสาวะ
เมื่อร่างกายไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้ สารพิษจะเกิดการสะสมและทำให้ไตทำงานหนัก ภาวะบางประการสามารถส่งผลต่อระบบปัสสาวะและอาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้ ซึ่งได้แก่
- มะเร็ง
- นิ่วในไต
- ต่อมลูกหมากโต
- ลิ่มเลือดในทางเดินปัสสาวะ
- เส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะเสียหาย
– สาเหตุอื่น ๆ
โรคและภาวะบางประการทำให้เกิด ภาวะไตวาย ได้แก่
- ลิ่มเลือดในไตหรือบริเวณโดยรอบ
- การติดเชื้อ
- การได้รับสารพิษจากโลหะหนักในปริมาณมาก
- ยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลอดเลือดอักเสบ
- โรคลูปุส ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะร่างกายจำนวนมาก
- ไตอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะการอักเสบของกลุ่มเลือดฝอยของไต
- กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตก หรือ ยูรีเมีย คือการที่หลอดเลือดแดงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้แตกออก
- โรคมัลติเพิล มัยอิโลม่า (Multiple myeloma) ซึ่งเป็นมะเร็งของเซลล์พลาสม่าในไขกระดูก
- ผิวหนังหนาและแข็งตัว ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อผิวหนัง
- ลิ่มเลือดในหลอดเลือดฝอย
- ยาเคมีบำบัด ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษามะเร็งและโรคภูมิต้านตนเองบางชนิด
- สีที่ใช้ในการทดสอบด้วยภาพถ่ายอวัยวะ
- ยาปฏิชีวนะบางชนิด ได้แก่ ยาอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycosides) ยาเซฟาโลสพอริน (cephalosporins)
ยาแอมโฟเทริซิน บี (amphotericin B) ยาเบซิเทรซิน (bacitracin) และยาแวนโคไมซิน (vancomycin)
- ยาความดันโลหิต เช่น ยากลุ่มเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) อย่างไลซิโนพริล (lisinopril) และยารามิพริล (ramipril) หรือยากลุ่มแอนจิโอเทนซินรีเซ็ปเตอร์บล็อกเกอร์ (angiotensin receptor blocker) อย่างแคนดีซาร์แทน (candesartan) และยาวาลซาร์แทน (valsartan)
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของอาการไตวาย
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงสำหรับ ภาวะไตวาย มีหลายประการ ได้แก่
- โรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- มีประวัติครอบครัวมีภาวะไตวาย
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการไตวาย
มีการทดสอบหลายประการที่สามารถใช้เพื่อวินิจฉัย ภาวะไตวาย ได้แก่
- การตรวจปัสสาวะ ใช้เพื่อวัดเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาว ตรวจระดับแบคทีเรียที่มีค่าสูง และตรวจเซลล์ในปัสสาวะในปริมาณสูง
- การวัดปริมาณปัสสาวะ เป็นการวัดปริมาณปัสสาวะที่ขับออกมา
- การตรวจเลือด การนำตัวอย่างเลือดมาวัดปริมาณสารที่กรองโดยไต
- การตรวจโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะ เช่น การตรวจ อัลตร้าซาวด์ ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์หรือไม่ อัลตร้าซาวด์ การตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ และการตรวจด้วยซีทีสแกน ทำให้ได้ภาพถ่ายของไตพร้อมกับท่อปัสสาวะ แพทย์จึงสามารถตรวจหาการอุดกั้นหรือความผิดปกติที่ไตได้
- ตัวอย่างเนื้อเยื่อไต มีการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อไตเพื่อหาการก่อตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ การเกิดพังผืด หรือการติดเชื้ออื่นๆ
การรักษาไตวาย
มีการรักษาหลายวิธีสำหรับ ภาวะไตวาย ซึ่งแตกต่างกันไปตามสาเหตุของภาวะไตวาย โดยแพทย์จะช่วยกำหนดทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดซึ่งได้แก่
- การฟอกไต การฟอกไตช่วยกรองของเสียและทำให้เลือดบริสุทธิ์โดยใช้เครื่องมือที่เลียนแบบการทำงานของไต
- การปลูกถ่ายไต เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา แต่มักต้องรอเวลาเพื่อให้ได้รับบริจาคไตที่สามารถเข้ากับร่างกายของผู้ป่วยได้
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับภาวะไตวาย
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับ ภาวะไตวาย ได้
- ปกิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดหากซื้อยามาใช้เอง การใช้ขนาดยาที่สูงเกินไป แม้กระทั่งยาทั่วไป เช่น ยาแอสไพริน สามารถทำให้ระดับสารพิษในร่างกายสูงขึ้นได้ในเวลาอันสั้น ซึ่งจะทำให้ไตทำงานหนัก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีต่าง ๆ เช่น น้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือน บุหรี่ ยาฆ่าแมลง และผลิตภัณฑ์ที่มีสารพิษอื่นๆ
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยใช้ยาที่แพทย์สั่งหรือแนะนำอย่างเคร่งครัด
- รักษาพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด