backup og meta

ผ่าตัดเล็บขบ (Ingrown Toenail Surgery)

ผ่าตัดเล็บขบ (Ingrown Toenail Surgery)

ข้อมูลพื้นฐาน

การผ่าตัดเล็บขบคืออะไร

การผ่าตัดเล็บขบ (Ingrown Toenail Surgery) ใช้สำหรับการรักษาอาการเล็บขบ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเล็บงอกยาวเข้าไปในผิวหนังรอบๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นถูกทำลาย จนเกิดการอักเสบและปวด ปัญหานี้มักเกิดขึ้นที่นิ้วโป้งเท้า

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเล็บขบทั่วไปคือ การไม่ตัดเล็บให้เรียบร้อย หรือตัดเล็บไม่ผิดทรง ปัญหานี้ส่วนใหญ่จะส่งต่อกันทางพันธุกรรม  จากการมีลักษณะเล็บที่มักจะโค้งงอเวลางอกยาวออกมา ทำให้เกิดเล็บขบได้ง่าย นอกจากนี้ การสวมรองเท้าหัวแคบเกินไป ทำให้นิ้วเท้าไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ก็สามารถทำให้เกิดอาการเล็บขบได้เช่นกัน

ความจำเป็นในการ ผ่าตัดเล็บขบ

เล็บขบเป็นอาการที่พบได้บ่อย คุณสามารถป้องกันหรือรักษาอาการเล็บขบได้ด้วยตนเอง โดยวิธีดังต่อไปนี้

  • ตัดเล็บเท้าให้เป็นแนวตรง และไม่ปล่อยให้ขอบเล็บแหลม
  • สวมรองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้า
  • แพทย์สามารถตัดผิวหนังบริเวณที่เกิดเล็บขบออก หรือตัดเล็บที่ยาวยื่นเข้าไปในผิวหนังออกได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อเล็บงอกและทิ่มลึกเข้าสู่ผิวหนัง และไม่สามารถรักษาตามวิธีที่กล่าวข้างต้นได้ อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัด แต่ก็ยังสามารถกลับมาเป็นเล็บขบซ้ำได้อีก

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเล็บขบ

การผ่าตัดเล็บขบก็มีความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนเช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับการผ่าตัดที่สามารถเกิดกับคุณได้

อาการแทรกซ้อนทั่วไปของการผ่าตัดทุกประเภท มีดังนี้

  • อาการแพ้ยาสลบ
  • เลือดออกมากเกินไป หรือเกิดลิ่มเลือด (thrombosis)

อาการแทรกซ้อนจำเพาะที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัดเล็บขบ ได้แก่

  • การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
  • การติดเชื้อที่เนื้อเยื่อกระดูกส่วนล่าง

คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเล็บขบ

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด แพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์ เช่น ยาที่ใช้อยู่ อาการแพ้ต่างๆ ภาวะสุขภาพของคุณ จากนั้นคุณจะได้เข้าพบวิสัญญีแพทย์ และวางแผนในการดมยาสลบ สิ่งที่สำคัญคือ คุณต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการงดอาหารและน้ำก่อนการผ่าตัด

ขั้นตอนการ ผ่าตัดเส้นเล็บขบ

การผ่าตัดจะทำควบคู่ไปกับการใช้ยาชา และใช้เวลาประมาณ 10 นาที โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • การถอดเล็บ
  • การตัดส่วนของเล็บเท้า
  • การตัดเนื้อเยื่อรองเล็บ เป็นการตัดบางส่วนหรือทั้งหมด และทาสารเคมีหรือใช้คลื่นไฟฟ้ากับบริเวณของเนื้อเยื่อซึ่งเล็บงอกออกมา
  • กระบวนการซาเด็ค (Zadek’s procedure) ซึ่งเป็นการถอดเล็บทั้งหมด และตัดเนื้อเยื่อบริเวณที่เล็บงอกออกไป

รายละเอียดในการผ่าตัดอาจแตกต่างไปในแต่ละกรณี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

การพักฟื้น

หลังการผ่าตัดผ่าตัดเล็บขบ

หลังจากผ่าตัดเล็บขบ แพทย์จะให้คุณพักสักครู่ จากนั้นคุณก็สามารถกลับบ้านได้

ในช่วงวันแรกๆ หลังจากการผ่าตัด คุณควรยกขาสูงเพื่อลดอาการบวม หลังจากนั้น คุณสามารถเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นทีละเล็กละน้อย

นอกจากนี้ คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้เพื่อฟื้นฟูอาการได้เร็วขึ้น

  • ไม่ควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนักเป็นเวลาสองสัปดาห์
  • รักษาเครื่องแต่งกายให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะถุงเท้าละรองเท้า
  • ตัดเล็บเป็นแนวตรง และไม่ปล่อยให้มีส่วนแหลมที่ขอบเล็บ
  • สวมรองเท้าที่สบายและเหมาะกับรูปเท้า อย่าสวมรองเท้าคับเกินไป

ความเสี่ยงหลังผ่าตัดเส้นเล็บขบ

การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง จึงควรศึกษาข้อมูลและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการผ่าตัด

สำหรับการผ่าตัดเล็บขบ อาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อน  เช่น มีอาการปวด รอยช้ำ 

คุณสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมในการผ่าตัด เช่น งดอาหาร หยุดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ingrown toenail. http://www.nhs.uk/conditions/Ingrown-toenail/Pages/Introduction.aspx. Accessed July 16, 2016.

Ingrown Toenail. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00154. Accessed July 16, 2016.

Ingrown Toenail (Onychocryptosis). http://www.medicinenet.com/ingrown_toenail/page4.htm. Accessed July 16, 2016.

Understanding Ingrown Nails – Treatment. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/understanding-ingrown-nail-treatment. Accessed July 16, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัดเล็บ บ่อยเกินไป อาจส่งผลต่อสุขภาพ

เลือดออกใต้เล็บ สาเหตุ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา