backup og meta

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test)

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test)

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 ในกระแสเลือด โจวัน (histidyl tRNA synthetase) แอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นตัวบ่งชี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบร่วมด้วย

คำจำกัดความ

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test)

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 ในกระแสเลือด โจวัน (histidyl tRNA synthetase) ก็คือเอนไซม์ในกลุ่ม acyl-tRNA synthetase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในเซลล์ชนิดที่มีนิวเคลียส แอนตี้บอดี้-โจ-1 ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบจะจับตัวอยู่กับปลายสายโปรตีน ที่ช่วยยับยั้งฤทธิ์การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในหลอดทดลองได้

แอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นตัวบ่งชี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบร่วมด้วย แอนตี้บอดี้เหล่านี้พบได้มากกว่าครึ่งในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่มีพังผืด ในเนื้อเยื่อปอด และโรคข้ออักเสบแบบสมมาตรร่วม

ทำไมต้องทดสอบหาแอนตี้บอดี้-โจ-1?

ก็เพื่อประเมินโรคในผู้ป่วยที่มีสัญญาณและอาการแสดง ที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ปวดกล้ามเนื้อ และมีภาวะแขนขาอ่อนแรง มีอาการแสดงของโรคปอด โรคเรเนาด์ (Raynaud’s phenomenon) และโรคข้ออักเสบร่วมด้วย

ข้อควรระวัง/คำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจหาแอนตี้บอดี้-โจ-1 มีอะไรบ้าง

คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการเตรียมควาพร้อมก่อนทำการตรวจได้แก่

  • ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • สำหรับการตรวจเลือด ผู้ป่วยควรงดน้ำและอาหารก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • ยาหลายชนิดสามารถส่งผลต่อผลการตรวจได้ จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ท่านใช้อยู่ ทั้งยาที่ซื้อมารับประทานเอง และยาตามใบสั่งแพทย์
  • การทดสอบชนิดนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย ที่มีผลการตรวจ Antinuclear Antibodies เป็นลบ
  • การได้ผลการตรวจแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นลบหนึ่งครั้ง ไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้ออักเสบหรือผิวหนังอักเสบได้

กระบวนการ

การเตรียมการสำหรับทดสอบ

สิ่งที่ท่านต้องเตรียมตัวก่อนการทดสอบก็คือ

การตรวจเลือด

รัดต้นแขนผู้ป่วยด้วยแถบยางยืดเพื่อห้ามการไหลเวียนของเลือด วิธีนี้จะทำให้เส้นเลือดดำที่อยู่ใต้แถบผ้าแถบยางขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ใช้เข็มเจาะเข้าไปในเส้นเลือดดำได้ง่ายขึ้น

1. ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะเจาะด้วยแอลกอฮอล์

2. แทงเข็มเข้าเส้นเลือดดำ บางทีอาจต้องใช้เข็มมากกว่า 1 เข็ม

3. ต่อหลอดเก็บเลือดเข้ากับเข็มเพื่อให้เลือดไหลเข้าหลอดเก็บ

4. กดบริเวณที่เจาะแล้วปิดพลาสเตอร์

การตรวจหาจากปัสสาวะ

การทดสอบหาแอนตี้บอดี้-โจ-1 จากปัสสาวะ สามารถทำได้ 2 แบบ คือการเก็บตัวอย่างปัสสาวะในช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมง และในระยะเวลา 2 ชั่วโมง การเก็บตัวอย่างปัสสาวะในช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมงนั้น ทำโดยเก็บปัสสาวะเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า และจดเวลาที่เก็บปัสสาวะในครั้งแรกเอาไว้ ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มของช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมงที่จะทำการเก็บตัวอย่าง

  • ทางห้องปฏิบัติการจะให้ภาชนะบรรจุปัสสาวะขนาดใหญ่ 1 อัน ที่มีปริมาตร 1 แกลลอน (4 ลิตร) โดยในภาชนะบรรจุนั้นจะมีสารฆ่าเชื้อจำนวนหนึ่งอยู่ ปัสสาวะลงในภาชนะบรรจุอันเล็กที่ยังสะอาดอยู่ จากนั้นจึงเทปัสสาวะลงภาชนะบรรจุอันใหญ่
  • ระวังอย่าให้นิ้วมือไปสัมผัสกับพื้นผิวภายในภาชนะ
  • เก็บภาชนะบรรจุอันใหญ่ไว้ในตู้เย็นนาน 24 ชั่วโมง
  • ปัสสาวะออกให้หมดเป็นครั้งสุดท้าย หรือในช่วงใกล้สิ้นสุดระยะเวลา 24 ชั่วโมง และบันทึกเวลาเอาไว้
  • อย่าให้มีกระดาษชำระ เส้นขน เลือดประจำเดือน อุจจาระ  หรือซึ่งแปลกปลอมอื่นใดตกลงไปปนกับตัวอย่างปัสสาวะ

การเก็บตัวอย่างปัสสาวะแบบ 2 ชั่วโมง ก็ใช้วิธีการเก็บเช่นเดียวกัน เพียงแต่เก็บในระยะ 2 ชั่วโมงเท่านั้น

สิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการทดสอบหาแอนตี้บอดี้-โจ-1มีอะไรบ้าง

ในระหว่างการทดสอบ…ท่านอาจมีภาวะดังนี้

เนื่องจากการเก็บตัวอย่างเลือดจะเก็บจากเส้นเลือดบริเวณแขน ซึ่งมีแถบยางยืดรัดบริเวณต้นแขนไว้ ดังนั้นจึงอาจรู้สึกแน่นและไม่สะดวกสบายบ้าง แต่อาจไม่รู้สึกอะไรเลยหรือรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ท่านจะไม่มีอาการปวดใดๆทั้งสิ้นหากเป็นการตรวจหาจากตัวอย่างปัสสาวะ

หลังการทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 จะมีอาการอย่างไร

มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาน้อยมากจากการเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดดำ

ประการแรก คุณอาจมีรอยช้ำเป็นบริเวณเล็กๆ อย่างไรก็ตามคุณสามารถลดโอกาสที่จะเกิดการช้ำได้โดยกดบริเวณที่ถูกเจาะไว้ซักระยะหนึ่ง

ในบางกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนัก เส้นเลือดดำอาจบวมหลังจากการเจาะตัวอย่างเลือดไปตรวจ ซึ่งเรียกว่าภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ การประคบร้อนวันละหลายๆ ครั้ง จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ นอกจากนี้การเกิดภาวะเลือดออกก็สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ อีกทั้งการใช้ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน (Coumadin) และยาลดการเกาะตัวของเม็ดเลือดอื่นๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกได้มากขึ้น ถ้ามีภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือหากกำลังรับประทานยาลดการเกาะตัวของเลือดอยู่ ก็ควรแจ้งแพทย์ก่อนทำการเก็บตัวอย่าง

หากท่านมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ กรุณาปรึกษาแพทย์

คำอธิบายผลตรวจ

ผลตรวจบ่งบอกถึงอะไรบ้าง

การตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ประวัติสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ ตรวจ และปัจจัยอื่นๆ

โดยทั่วไประดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 จะมีค่าน้อยกว่า 1 ยูนิต ดังนั้นหากท่านมีระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 มากกว่า 1 ยูนิต นั่นก็แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว

โปรดปรึกษาแพทย์หากท่านมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Anti-Jo-1 antibodies test. http://www.mayomedicallaboratories.com/test-catalog/Clinical+and+Interpretive/80179 . Accessed February 17, 2017.

Anti-Jo-1 antibodies test.     http://www.allinahealth.org/CCS/doc/Consumer_Lab/49/150339.htm     . Accessed February 17, 2017.

Anti-Jo-1 antibodies test.     https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15804708   . Accessed February 17, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

An interview with Dr Joseph Saba, Chief Executive Officer at Axios

จัดการกับอาการ ปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย ให้ได้ผล


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา