backup og meta

ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 23/06/2021

    ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

    การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนต้องตระหนัก โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพหัวใจ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่คอยเชื่อมกับระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในเอาไว้ด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ที่เป็นอีกเทคนิคทางการแพทย์ ช่วยวัดประสิทธิภาพของหัวใจ มาฝากกันค่ะ

    การ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย คืออะไร

    การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) เป็นการทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจของคุณว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีอาการผิดปกติใด ๆ หรือไม่ แต่ในการทดสอบนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น วิ่ง เดินลู่วิ่ง ใช้เครื่องปั่นจักรยาน ประมาณ 10-15 นาทีด้วยกัน โดยอาจมีพัก 3 นาที เพื่อตรวจสอบการหายใจ

    ในช่วงที่คุณออกกำลังกายเพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย แพทย์จะติดอุปกรณ์ทดสอบที่เรียกกว่า แผ่นอิเล็กโทรดที่เชื่อมโยงกับหน้าจอแสดงผล ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา หน้าอก เพื่อให้เห็นอัตราการเต้นของหัวใจ และบันทึกกราฟ หรือตัวเลขเอาไว้ให้เป็นข้อมูล ก่อนนำมาวิเคราะห์สุขภาพหัวใจของคุณ หากอัตราการเต้นหัวใจผิดปกติ แพทย์จะแจ้งผลให้ทราบทันทีหลังการทดสอบเสร็จสิ้น พร้อมเริ่มวางแผนการรักษาตามอาการลำดับถัดไป

    ใครบ้างที่ควรได้รับ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย

    การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับสภาวะโรคหัวใจต่าง ๆ ดังนี้

    •     โรคหลอดเลือดหัวใจ
    •     ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
    •     อาการเจ็บหน้าอก
    •     หายใจลำบาก
    •     ระบบการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ
    •     ภาวะหัวใจวาย

    5 ข้อปฎิบัติก่อนทำการ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย

    ไม่ใช่ว่าใครก็จะสามารถเข้ารับการทดสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายได้ในทันที เพราะแพทย์จำเป็นต้องวินิจฉัยสุขภาพร่างกายในปัจจุบันเสียก่อน เพื่อความปลอดภัยในระหว่างการทดสอบ โดยสิ่งที่คุณควรปฏิบัติเพิ่มเติมตามคำแนะนำของแพทย์ ในการเตรียมตัวให้พร้อมนั้น มี 5 ข้อ ดังต่อไปนี้

    1. แจ้งประวัติของสุขภาพคุณ รวมถึงยา สมุนไพร และอาหารเสริม ที่ใช้อยู่ให้แพทย์ทราบ
    2. เข้าร่วมวางแผนรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนถึงวันทดสอบ
    3. งดอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต ก่อนการทดสอบ 24 ชั่วโมง
    4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ อย่างน้อย 3 ชั่วโมง ก่อนเริ่มการทดสอบ
    5. สวมใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ ไม่รัดแน่น

    อย่างไรก็ตาม หากคุณเกิดอาการเหนื่อยหอบ หายใจแรง วิงเวียนศีรษะ ในขณะเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เพื่อหยุดการทดสอบ และเข้ารับการรักษาอาการเบื้องต้น เพราะหากคุณฝืนร่างกายจนเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ นำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ จนถึงขั้นหมดสติ หรือเกิดอาการหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนเสียชีวิตได้ในที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 23/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา