backup og meta

การให้อาหารทางสายยาง ผ่านหน้าท้อง ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย หรือไม่

การให้อาหารทางสายยาง ผ่านหน้าท้อง ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย หรือไม่

เมื่อผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะสุขภาพบางอย่าง จนทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารผ่านทางทางได้ตามปกติ การให้อาหารทางสายยาง ผ่านทางหน้าท้อง จึงเป็นอีกเทคนิคที่แพทย์มักเลือกใช้ แต่เทคนิคดังกล่าวนี้มีขั้นตอน และความเสี่ยงอย่างไรต่อผู้ป่วยบ้างนั้น หาคำตอบได้ในบทความของ Hello คุณหมอกันค่ะ

ทำความรู้จักกับเทคนิค การให้อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง (Feeding Tubes) คือ การใส่อุปกรณ์หรือสายยางให้อาหาร เข้าสู่กระเพาะอาหารผ่านช่องหน้าท้องโดยตรง วิธีการนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคี้ยวหรือกลืนอาหารด้วยตนเองได้

การให้อาหารทางสายยางผ่านทางช่องท้องจำเป็นต้องมีกระบวนการผ่าตัดที่เรียกว่า การใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy; PEG) โดยการผ่าตัดเพื่อสอดสายยางและกล้องส่องขนาดเล็กเข้าไปในช่องท้อง เพื่อให้สามารถมองเห็นบริเวณอวัยวะภายในที่ต้องการสอดสายยางเข้าไปยังในกระเพาะได้อย่างแม่นยำ

การเตรียมตัวก่อนได้รับการให้อาหารทางสายยาง

ขั้นตอนแรก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจมีการ สอบถามประวัติในการใช้ยาปฏิชีวนะ พร้อมตรวจสุขภาพตัวผู้ป่วยร่วมด้วย ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติการใช้ยา สุขภาพ และโรคประจำตัวอย่างละเอียด ก่อนเข้ารับการผ่าตัดใส่ สายยางให้อาหาร อาจต้องมีการหยุดใช้ยาบางชนิดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือตามที่แพทย์กำหนด เมื่อถึงวันนัดหมายเข้าผ่าตัดใส่สายยางให้อาหาร ผู้ป่วยก็มีควรงดรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มอย่างน้อยเป็นเวลา 8 ชั่วโมง

การให้อาหารทางสายยางมีขั้นตอนอย่างไร

ขั้นตอนการผ่าตัดใส่ สายยางให้อาหาร

  1. สวมชุดที่เหมาะสมกับการเข้าห้องผ่าตัด ส่วนมากมักเป็นชุดประจำของทางโรงพยาบาล และโปรดถอดเครื่องประดับตามแพทย์ได้ชี้แจงออกให้หมด
  2. แพทย์อาจมีการใช้ยากล่อมประสาท ยาบรรเทาอาการปวดเข้าสู่ทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายชั่วครู่
  3. แพทย์จะเริ่มทำการนำกล้องขนาดเล็กที่เรียกกว่า กล้องเอ็นโดสโคป (Endodiscectomy) สอดเข้าผ่านทางช่องปากลงไปยังหลอดอาหาร จนถึงกระเพาะ
  4. แพทย์จะกรีดเปิดแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้องให้ตรงกับบริเวณที่จะใส่ สายยางให้อาหาร และนำสายยางให้อาหาร PEG ใส่เข้าไปยังบริเวณที่ตรงกับจุดที่แพทย์กำหนด
  5. ปิดเย็บแผลบริเวณ พร้อมทำความสะอาด กระบวนการนี้มักใช้ระยะเวลาการผ่าตัดทั้งหมด 30-45 นาทีด้วยกัน ตามสภาวะอาการของแต่ละบุคคล

หลังการผ่าตัดแพทย์อาจให้ผู้ป่วยนอนพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลจนกว่าอาการดีขึ้น เนื่องจากต้องคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อทำการกำหนดอาหารที่จะให้ผ่านทางสายยางได้อย่างเหมาะสม พร้อมอาจให้คำแนะนำถึงการดูแลเบื้องต้นอย่างเคร่งครัด ก่อนที่จะได้กลับไปรักษาตัวที่บ้านด้วยตนเอง

ความเสี่ยงของการใส่ สายยางให้อาหาร

แน่นอนว่าทุกการผ่าตัดมักมีความเสี่ยงต่าง ๆ ทางสุขภาพ และภาวะแทรกซ้อนตามมาเสมอ ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดได้ ในกรณีที่รักษาความสะอาดไม่เพียงพอ อีกทั้งในบางครั้งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคืองแผล

หากผู้ป่วยสังเกตพบว่ากำลังเผชิญกับผลกระทบดังกล่าว โปรดเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ พร้อมบอกรายละเอียดที่เจอให้ชัดเจน เพื่อที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะได้ดำเนินการหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้อย่างทันท่วงที

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Feeding Tube Insertion (Gastrostomy) https://www.healthline.com/health/feeding-tube-insertion-gastrostomy Accessed January 24, 2021

Percutaneous Endoscopic Gastrostomy (PEG) https://www.medicinenet.com/percutaneous_endoscopic_gastrostomy/article.htm#percutaneous_endoscopic_gastrostomy_facts Accessed January 24, 2021

Percutaneous Endoscopic Gastrostomy (PEG): Procedure Details https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/4911-percutaneous-endoscopic-gastrostomy-peg/procedure-details Accessed January 24, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/01/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

An interview with Dr Joseph Saba, Chief Executive Officer at Axios

ท้องผูกหลังผ่าตัด ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่คุณรับมือได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/01/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา