backup og meta

ราคาของความตาย ที่ต้องจ่ายเมื่อทำ การุณยฆาต

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ราคาของความตาย ที่ต้องจ่ายเมื่อทำ การุณยฆาต

    การุณยฆาต (Euthanasia หรือ Mercy Killing) เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เกิดขึ้นมาในสมัยนี้ เป็นธุรกิจบริการความตาย เมื่อเราพร้อมที่จะจากไป ไม่ต้องการใช้ชีวิตนี้แล้ว บริการนี้ก็จะทำให้เราจากโลกนี้ไปอย่างสงบ แต่อาจจะมีหลายๆ คนที่สงสัยว่า ราคาของความตาย ที่เราต้องจ่ายนั้น ราคาเท่าไร แล้วมีบริการอย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้อ่านกันค่ะ

    การุณยฆาต คืออะไร

    การุณยฆาตเป็นการทำให้ตายด้วยความเต็มใจ เป็นการตายอย่างจงใจ ซึ่งผู้ที่จะเป็นคนทำคือแพทย์หรือผู้มีความชำนาญเฉพาะทางเท่านั้น ผู้ที่ต้องการทำการุณยฆาตจะเป็นใครก็ได้ อาจจะเป็นผู้ที่ต้องการจบชีวิตของผู้ป่วยที่ไม่ต้องการทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย หรือผู้ที่ไม่ต้องการอยู่บนโลกใบนี้แล้ว โดยแพทย์อาจจะใช้วิธีการฉีดยา ให้ยา หรือวิธีการทำให้ตายในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่รุนแรงหรือวิธีการที่ทำให้ตายอย่างสะดวก และไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ ซึ่งแบ่งวิธีการตาย 2 แบบคือ การให้สารหรือวัตถุใดๆ เพื่อเร่งให้ผู้ป่วยตาย (Active) หรือการหยุดการรักษาให้แก่ผู้ป่วย (Passive)

    ประเภทของการการุณยฆาต ที่แบ่งตามเจตจำนง

    ประเภทของการทำการุณยฆาต สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท การการุณยฆาต นั้นคือการตายด้วยความสมัครใจ โดยการกระทำของแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยเพื่อยุติชีวิตอย่างเต็มใจ

    การุณยฆาตด้วยความสมัครใจ (Voluntary and Direct Euthanasia) หมายถึง การทำการุณยฆาตที่ผู้ป่วยได้แสดงเจตจำนงว่าต้องการที่จะยุติการมีชีวิตอยู่ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ลงมือทำการุณยาฆาตด้วยตัวเอง ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย แต่มีประเทศที่ยอมรับการทำการุณฆาตแบบถูกกฎหมายอย่าง เนเธอร์แลนด์และเบลเยียม

    การุณยาฆาตแบบไม่สมัครใจ (Involuntary euthanasia) การทำการุณยฆาตแบบไม่สมัครใจ มักเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วย ป่วยหนัก อาการสาหัส หรือผู้ป่วยที่อาการหนักมากจนไม่สามารถแสดงเจตจำนงว่าต้องการยุติชีวิตตัวเองได้ แต่ผู้แทนโดยชอบธรรม เช่น พ่อ แม่ ลูก ภรรยา หรือสามีสามารถตัดสินใจแทนได้ว่าต้องการทำการุณฆาตหรือไม่

    การุณยฆาต เป็นวิธีการที่ถูกกฎหมายหรือไม่

    การทำการุณยฆาต เป็นวิธีการที่ยังไม่ถูกกฎหมายในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก แต่ในปัจจุบันประเทศอย่างเนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยมเป็นประเทศที่อนุญาตให้มีการทำการุณยฆาตได้แบบถูกกฎหมาย แต่ในปัจจุบันมีกฎหมายเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายที่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ซึ่งมีในสหรัฐอเมริกาและอีกในหลายรัฐในประเทศอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า แพทยานุเคราะหฆาต (Physician-assisted suicide) เป็นการฆ่าตัวตายโดยการช่วยเหลือจากแพทย์ นั้นสามารถทำได้เฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีการวินิจฉัยแล้วว่าได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการป่วย ในกรณีนี้แพทย์จะเป็นผู้ตระเตรียมยา และอุปกรณ์พร้อมวิธีการสำหรับการฆ่าตัวตายให้ผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ลงมือฆ่าตัวตายด้วยตนเอง

    ราคาที่ต้องจ่ายสำหรับ การุณยฆาต

    เนเธอร์แลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ถือเป็นประเทศแรกในโลกที่อนุญาตให้ทำการุณยฆาต และการฆ่าตัวตายภายใต้การช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ อย่างถูกกฎหมาย โดยผู้ที่จะสามารถเข้าร่วมการทำการุณยฆาตได้จะต้องมีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีอาการป่วยระยะสุดท้าย ที่สำคัญขณะตัดสินใจที่ทำนั้นจะต้องมีสติครบถ้วน

    เบลเยียม ประเทศเบลเยียมเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ประกาศให้มีการใช้กฎหมายนี้ ซึ่งเงื่อนไขในการตัดสินใจทำการุณยฆาตก็จะมีความคล้ายกับประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่แตกต่างกันตรงที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการวินิจฉัยและผ่านความเห็นชอบจากแพทย์อย่างน้อย 2 คนขึ้นไป และไม่มีการจำกัดอายุขั้นต่ำของผู้ที่จะทำการุณยฆาต แต่ต้องเป็นผู้ที่ป่วยระยะสุดท้าย หรือเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้

    แน่นอนว่าการทำการุณยฆาตนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับการเตรียมตัว คิดอย่างคร่าวๆ แล้วก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 6,500 ถึง 15,000 ปอนด์ เมื่อคิดเป็นเงินบาทไทยแล้วน่าจะอยู่ที่ประมาณ 273,000 – 630,000 บาท แต่โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 10,000 ปอนด์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 420,000 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายสำหรับการทำการุณยฆาตเท่านั้น นอกเหนือจากนี้อาจจะมีค่าเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน ค่ากินอยู่ระหว่างที่ต้องไปทำการการุณยฆาตเพิ่มเติม

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา