backup og meta

อะมีบากินสมอง เชื้ออันตรายที่กำลังระบาดในเท็กซัส ปะปนอยู่ในน้ำประปา!

อะมีบากินสมอง เชื้ออันตรายที่กำลังระบาดในเท็กซัส ปะปนอยู่ในน้ำประปา!

ถึงแม้โรค อะมีบากินสมอง หรือ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา (Brain-eating amoeba) จะอยู่คู่กับเรามาเป็นเวลายาวนาน แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการเฝ้าระวัง และป้องกันตนเองอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะเรานั้น ไม่สามารถทราบได้เลยว่า เชื้ออะมีบาเหล่านี้ จะสามารถเข้าสู่ร่างกาย หรือแฝงตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมรอบตัวของเราอย่างใดได้บ้าง เช่นเดียวกับเหตุการณ์นี้ล่าสุดที่เกิดขึ้นในเมืองเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเรื่องนี้มาฝากกัน

อะมีบากินสมอง สามารถอยู่ในน้ำประปา ได้ด้วยจริงหรือ

จากรายงานของเว็บไซต์ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) ระบุว่าการเสียชีวิตครั้งแรกจากเชื้ออะมีบานั้นถูกพบในน้ำประปาทางตอนใต้ของรัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปีพ.ศ. 2554 และพ.ศ. 2556 และมีการค้นพบจุลินทรีย์ในปีพ.ศ. 2546 ในระบบน้ำดื่มที่ไม่ผ่านการบำบัดในรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับถูกพบในน้ำดื่มสาธารณะประเทศออสเตรเลียเมื่อปี พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2523 รวมถึงในประเทศปากีสถานเมื่อปี พ.ศ. 2551 จนถึงล่าสุดเมื่อต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

ล่าสุดนายเกร็ก แอบบอตต์ (Mr. Greg Abbott) ผู้ว่าการรัฐเท็กซัสได้ออกมาจัดแถลงข่าว ถึงการเสียชีวิตบุคคลรายหนึ่งที่ได้รับ เชื้ออะมีบาชนิดนีเกลอเรีย (Naegleria fowleri) ที่พบในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ หรือในระบบน้ำประปา แห่งเมืองเลค แจ็กสัน ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และไม่รอช้าที่จะเริ่มทำการให้เจ้าหน้าที่ในเขตดังกล่าวปฏิบัติการเข้าตรวจสอบ พร้อมทำการเริ่มฆ่าเชื้อในน้ำประปาทันที แต่อาจใช้ระยะเวลานานพอสมควรเป็นเวลาหลายเดือนด้วยกันที่จะทำการฆ่าเชื้ออะมีบานี้ให้หมดสิ้นไป

อาการเบื้องต้นของโรค อะมีบากินสมอง 

โดยปกติเชื้ออะมีบาชนิดนีเกลอเรีย (Naegleria fowleri) มีอยู่มากในบริเวณน้ำจืดทั่วโลก และจะการรับเชื้อในมนุษย์จะเกิดขึ้นต่อเมื่อน้ำที่ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ซึ่งคนที่ได้รับเชื้ออาจทำให้พวกเขามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ อีกทั้งคุณไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าอาการเช่นนี้ เป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา หรือได้รับเชื้ออะมีบาเข้าสู่ร่างกายเรียบร้อยแล้ว

ดังนั้นเมื่อเริ่มมีอาการเกิดขึ้นคุณจึงขอเข้ารับการตรวจจากแพทย์อย่างละเอียดในทันทีไม่ควรรีรอแม้แต่นาทีเดียว เพราะอาการต่าง ๆ ที่ตามมาอาจก่อให้เกิดภาวะรุนแรงส่งต่อไปยังสมองจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ภายในหนึ่งสัปดาห์เลยทีเดียว

คำเตือนถึงประชาชน โปรดเฝ้าระวังเชื้ออะมีบา

เนื่องจากบริเวณชุมชนในเมืองเลค แจ็กสัน มีผู้คนอาศัยอยู่มากกว่า 27,000 คน จึงทำให้มีความยากลำบาก และข้อกังวลในการใช้น้ำประปาอยู่มาก เจ้าหน้าที่จึงได้ออกมาแนะให้แก่ประชาชนได้ทราบเพิ่มเติมว่า ทุกคนสามารถเริ่มใช้น้ำปะปา แต่ต้องทำการต้มให้เดือดก่อนดื่ม หรือก่อนนำมาปรุงอาหาร และโปรดระวังน้ำขึ้นจมูกขณะอาบน้ำ หรือล้างหน้าร่วม โดยเฉพาะกับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เด็ก และผู้สูงอายุ อีกทั้งผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมดำน้ำ ว่ายน้ำ ยังอาจจำเป็นต้องงดไปสักระยะจนกว่าจะมีการตรวจสอบว่าเป็นแหล่งน้ำที่ปลอดภัยจริงเสียก่อน เพื่อลดความเสี่ยงของเชื้ออะมีบาเข้าสู่ร่างกายเราผ่านทางจมูกไปยังสมองได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Brain-eating microbe: US city warned over water supply https://www.bbc.com/news/world-us-canada-54313110 Accessed October 01, 2020

Disinfecting the Texas water supply from a brain-eating amoeba could take months, officials say https://edition.cnn.com/2020/09/30/us/brain-eating-amoeba-texas-water-supply-trnd/index.html Accessed October 01, 2020

6-year-old boy’s death led to investigation that found brain-eating amoeba in Texas city’s water supply https://www.cbsnews.com/news/brain-eating-amoeba-texas-water-supply-boy-death-investigation/ Accessed October 01, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/10/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

13 ของใช้ใกล้ตัวที่แฝงไปด้วยแบคทีเรีย อันตรายต่อสุขภาพที่ควรระวัง

ระวัง! เชื้อบรูเซลลา แบคทีเรียตัวใหม่ที่รั่วไหล จากห้องปฏิบัติการในจีน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 07/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา