ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า (Baker’s Cyst) คือ อาการบวมบริเวณหัวเข่า ซึ่งเกิดจากถุงน้ำหรือมีก้อนของเหลวอยู่ภายในบริเวณหลังหัวเข่า ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณข้อเข่า น่อง เคลื่อนไหวลำบาก
คำจำกัดความ
ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า (Baker’s Cyst) คืออะไร
ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า (Baker’s Cyst) คือ อาการบวมบริเวณหัวเข่า ซึ่งเกิดจากถุงน้ำหรือมีก้อนของเหลวอยู่ภายในบริเวณหลังหัวเข่า ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณข้อเข่า น่อง เคลื่อนไหวลำบาก
อย่างไรก็ตามภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา สามารถหายไปเองได้ แต่หากผู้ป่วยมีอาการบวมมาก ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
พบได้บ่อยเพียงใด
ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป
อาการ
อาการของภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า
ผู้ป่วยที่อยู่ใน ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าจะมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้
- อาการปวดเข่า ปวดน่อง
- เข่ามีอาการบวมอย่างเห็นได้ชัด เมื่อยืนเปรียบเทียบกับอีกข้าง
- มีถุงน้ำหรือก้อนนิ่มๆขึ้นชัดเจนบริเวณหัวเข่า
- อาการช้ำที่เข่า และน่อง
- ถุงน้ำบริเวณหัวเข่าแตก
- เคลื่อนไหวลำบาก งอเข่าได้ไม่เต็มที่
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า
ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าเกิดจากปริมาณน้ำไขข้อที่ไหลเวียนผ่านโพรงข้อเข่ามากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ เมื่อหัวเข่าผลิตน้ำมาจนเกิดไปทำให้เข่าเกิดเป็นก้อนบวมนูนขึ้นมา รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ดังนี้
- กระดูกข้อหัวเข่าเกิดความเสียหาย
- โรคข้ออักเสบที่หัวเข่า
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- การบาดเจ็บที่หัวเข่า เช่น กระดูกอ่อนฉีก
- ความผิดปกติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวเข่า
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า
ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและตรวจร่างกายดูอาการ โดยแพทย์อาจเปรียบเทียบกับเข่าอีกข้างเพื่อดูความแตกต่าง นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) หรือการอัลตราซาวด์ (Ultrasound) จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นถุงน้ำดีภายในบริเวณหัวเข่าได้อย่างละเอียดและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
การรักษาภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า
ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบวมอย่างรุนแรงแพทย์อาจต้องใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- การระบายของเหลว แพทย์จะสอดเข็มเข้าไปในข้อต่อหัวเข่า โดยอาจใช้เครื่องอัลตราซาวด์เพื่อช่วยนำทางเข็มไปยังตำแหน่งที่จะทำการระบายได้ถูกต้องและแม่นยำ จากนั้นจะทำการดึงของเหลวออกจากข้อต่อ
- การทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายแบบเบาๆ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าให้แข็งแรง หากมีอาการอาจใช้ไม้ค้ำ หรือประคบด้วยน้ำแข็งจะช่วยแบบเทาอาการปวดได้ดี
- รับประทานยา แพทย์อาจแนะนำยาในกลุ่มสเตียรอยด์ เช่นยาคอติโซน (Cortisone) แพทย์จะฉีดยาเข้าไปในข้อเข่าเพื่อบรรเทาอาการปวด
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า
หากแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยว่าอาการข้อเข่าเสื่อมของคุณเกิดจากถุงน้ำหรือซีสต์ แพทย์อาจแนะนำให้คุณปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
- ปฏิบัติตามกฏ R.IC.E คือ พักผ่อน (Rest) น้ำแข็ง (Ice) พันผ้า (Compression) และ ยก (Elevation) นั่นก็คือการพักการใช้ขา ใช้น้ำแข็งประคบเย็นบริเวณหัวเข่า และใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นพันหรือดาม และยกขาบ่อยเท่าที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน
- ใช้ยาในการลดอาการปวดเข้าร่วม เช่น ยากลุ่มไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน โซเดียม (Naproxen Sodium) อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) และแอสไพริน (Aspirin) โดยการใช้ยาเหล่านี้คุณต้องใช้ในปริมาณที่แพทย์แนะนำ ห้ามใช้ยาเกินขนาดแนะนำ
- ลดการทำกิจกรรมทางกายภาพ แพทย์อาจแนะนำระยะเวลาการลดระดับการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงวิธีการออกกำลังกายในรูปแบบอื่นที่จะช่วยลดการระคายเคืองต่อข้อต่อเข่าของคุณ
ที่สำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนวิธีการออกกำลังกายโดยไม่หักโหม เพราะภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดบวมที่บริเวณหัวเข่า หากจำเป็นต้องออกกำลังกาย อย่าลืมอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายเสมอ รวมไปถึงการเลือกสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมเมื่อออกกำลังกาย
หากคุณพบว่าอาการของภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าไม่ดีขึ้นแต่อย่างใด โปรดเข้าพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
[embed-health-tool-bmi]