backup og meta

อาหารปิ้งย่าง ต้นเหตุมะเร็งร้าย แต่ใจก็อยากกิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    อาหารปิ้งย่าง ต้นเหตุมะเร็งร้าย แต่ใจก็อยากกิน

    อย่างที่หลายๆ คนคงเคยได้ยิน หรือว่าพอจะทราบข้อมูลมาบ้างแล้วว่า การรับประทานอาหารปิ้ง ย่าง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง แต่หลายคนก็อาจจะยังมีข้อส่งสัยว่าแล้วการรับประทานอาหารปิ้งย่างนั้น ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาหารปิ้งย่าง ต้นเหตุมะเร็งร้าย พร้อมเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่กินอาหารปิ้งย่างอย่างไรให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้

    อาหารปิ้งย่าง ส่งผลต่อโรคมะเร็งอย่างไร

    จากการศึกษาในปี 2010 โดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Vanderbilt พบว่า การรับประทานเนื้อย่างนั้น ส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยการย่างเนื้อแดง หรือการทำให้เนื้อสุกด้วยอุณหภูมิที่สูงด้วยวิธีการ อบ ย่าง ต้ม หรือทอด จะก่อให้เกิดสาร Heterocyclic Animes (HCAs) ซึ่งเป็นสารที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก

    นอกจากนี้การปรุงอาหารด้วยความร้อนสูงยังก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons ; PAHs) ซึ่งสาร PAHs เป็นสารเคมีที่โดยทั่วไปแล้วพบได้ในถ่านหรือน้ำมันซึ่งเกิดจากการเผาไหม้

    เมื่อมีการปิ้งหรือย่างเนื้อ น้ำมันที่เกิดจากการย่างเนื้อ หยดลงบนถ่านหรือเชื้อเพลิง จึงเกิดเป็นควันลอยขึ้นในอากาศ ซึ่งควันเหล่านั้นมีการปนเปื้อนของสาร PAHs เมื่อสาร PAHs มีการรวมตัวกันแล้วก็จะตกลงมาบนอาหารที่เราปรุงอยู่ จึงทำให้เรารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนสาร PAHs ซึ่งเป็นตัวการที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

    จากการทดลอง โดยให้สาร PAHs และ สาร HCAs ในหนูทดลอง พบว่า หนูทดลองเหล่านี้สามารถเป็นโรคมะเร็งได้ โดยหนูทดลองที่ได้รับสาร HCAs ช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกบริเวณอก ลำไส้ใหญ่ ตับ ผิวหนัง ปอด ต่อมลูกหมาก และยังสามารถเกิดขึ้นได้ในอวัยวะอื่นๆ อีกด้วย

    ในส่วนของหนูที่ได้รับสาร PAHs พบว่า หนูทดลองเหล่านั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง โรคลูคีเมีย และเนื้องอกในทางเดินอาหารและปอด แต่อย่างไรก็ตามปริมาณของสารที่หนูทดลองได้รับถือเป็นปริมาณที่มาก จึงอาจทำให้เห็นผลได้เร็ว

    ดังนั้นหากคุณมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารปิ้งย่างเป็นประจำ หรือมีพฤติกรรมการกินที่ไม่ดูแลสุขภาพ สารเหล่านี้อาจจะมีการสะสมในร่างกายและอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้

    วิธีลดสารก่อมะเร็งจากอาหารปิ้งย่าง

    แม้จะรู้แล้วว่าอาหารปิ้งย่างนั้นอันตรายต่อสุขภาพมากขนาดไหน แต่สาวกลัทธิปิ้งย่างก็คงจะตัดใจจากอาหารปิ้งย่างได้ยาก แม้จะยังไม่มีวิธีการที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ ถึงวิธีการที่จะช่วยรับประทานอาหารปิ้งย่างโดยไม่ได้รับสารก่อมะเร็ง แต่ก็มีวิธีการเบื้องต้นที่เราอาจสามารถทำได้ ดังนี้

    หลีกเลี่ยงการปรุงอาหาร หากต้องการรับประทานอาหารปิ้งย่าง อาจจะเปลี่ยนวิธีการย่าง โดยไม่ทำให้เนื้อนั้นโดยไฟโดยตรง หรือไม่ปิ้งหรือย่างในระยะเวลาที่นานจนเกิดไป เท่านี้ก็ช่วยลดปริมาณสารที่ก่อมะเร็งทั้งสองตัวนั้นลงได้

    ใช้ไมโครเวฟในการปรุงอาหาร หากคุณต้องการรับประทานอาหารที่เป็นลักษณะปิ้งย่าง ลองเปลี่ยนมาใช้ไมโครเวฟในการปรุงอาหารแทน เนื่องจากการปรุงอาหารโดยใช้ไมโครเวฟเป็นวิธีการที่ทำให้อาหารออกมาคล้ายลักษณะปิ้งย่าง แถมยังใช้เวลาในการปรุงน้อย ไม่เกิดการเผาไหม้มาก ทำให้ช่วยลดการเกิดสารก่อมะเร็งลงได้

    หมั่นพลิกเนื้อบ่อยๆ อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า การที่เนื้อนั้นโดนความร้อนเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดสารที่ก่อมะเร็งทั้งสองตัวได้ แต่การหมั่นพลิกเนื้อ จะทำให้เนื้อที่ย่างนั้นไม่โดนความร้อนนาน และก็ไม่เกิดการเผาไหม้ จึงช่วยลดการเกิดสารก่อมะเร็งได้

    ตัดส่วนที่ไหม้เกรียมออก เมื่อย่างเนื้อ จะมีเนื้อบางส่วนที่ไหม้เกรียม บางส่วนก็ไหม้จนดำปี๋ ซึ่งส่วนที่มีการเผาไหม้มากๆ เหล่านั้นเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ดังนั้นการตัดเนื้อส่วนที่ไหม้ออก จึงถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการได้รับสารก่อมะเร็ง

    หลีกเลี่ยงการใช้น้ำเกรวี หรือน้ำที่ได้จากการอบ หรือน้ำที่ไหลออกมาในขั้นตอนการทำสเต๊ก เพราะน้ำเกรวีถือเป็นน้ำที่มีการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งทั้ง 2 สารเป็นจำนวนมาก หากได้รับมากๆ ก็อาจจะเป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็งได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา