คอเลสเตซิส (Cholestasis) เกิดจากความผิดปกติของตับ เนื่องจากท่อถุงน้ำดีของตับเกิดการอุดตัน โดยปกติทั่วไปตับจะทำหน้าที่ผลิตน้ำดี ซึ่งช่วยในการย่อยอาการโดยเฉพาะไขมัน แต่เมื่อท่อน้ำดีเกิดการอุดตัน จะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
คำจำกัดความ
คอเลสเตซิส (Cholestasis) คืออะไร
คอเลสเตซิส (Cholestasis) เกิดจากความผิดปกติของตับ เนื่องจากท่อถุงน้ำดีของตับเกิดการอุดตัน โดยปกติทั่วไปตับจะทำหน้าที่ผลิตน้ำดี ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารโดยเฉพาะไขมัน แต่เมื่อท่อน้ำดีเกิดการอุดตัน จะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคคอเลสเตซิสมักมีอาการตัวเหลือง ผิวเหลือง รู้สึกคันอย่างรุนแรง ปวดท้อง เป็นต้น
พบได้บ่อยเพียงใด
คอเลสเตซิสสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับสตรีมีครรภ์
อาการของคอเลสเตซิส
อาการของคอเลสเตซิส
อาการคัน แต่ไม่มีผื่น เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้ป่วยคอเลสเตซิส จะรู้สึกคันบริเวณฝ่ามือหรือฝ่าเท้า ในบางกรณีอาจรู้สึกคันทุกส่วนในร่างกาย และยิ่งรู้สึกคันมากพิเศษในช่วงเวลากลางคืน รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนี้
- ผิวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน)
- ปัสสาวะสีเข้ม
- รู้สึกเมื่อยล้า อ่อนแรง
- อุจจาระสีซีด
- เบื่ออาหาร
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของคอเลสเตซิส
การอุดตันของน้ำดีสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้
- การรับประทานยา ยาที่อาจทำให้ตับเกิดความผิดปกติ อย่างยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น อะม็อกซี่ซิลลิน (Amoxicillin) มิโนซัยคลิน (Minocycline) และยากลุ่มอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic Steroid) รวมถึง ยาคุมกำเนิด ยาต้านจุลชีพ ยากันชัก เป็นต้น
- โรค โรคบางชนิดอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นหรือการอักเสบไปยังท่อน้ำดี ที่อาจนำไปสู่คอเลสเตซิส เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ความผิดปกติทางพันธุกรรม มะเร็งบางชนิด อย่างมะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ปัจจัยเสี่ยงของคอเลสเตซิส
เพศหญิงที่กำลังตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นคอเลสเตซิส รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดคอเลสเตซิส ดังต่อไปนี้
- สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติในการเป็นอหิวาตกโรคระหว่างการตั้งครรภ์
- ตั้งครรภ์ฝาแฝด
- เคยมีประวัติต่อการเป็นโรคตับ
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้หญิง 60-75% หากเคยเป็นคอเลสเตซิสในช่วงการตั้งครรภ์ อาจมีโอกาสในการเป็นได้อีกครั้ง
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยคอเลสเตซิส
ในเบื้องต้นแพทย์อาจสอบถามประวัติและอาการทำการตรวจร่างกาย นำเลือดมาตรวจค่าการทำงานของตับเพื่อหาความผิดปกติ หากผลการตรวจออกมาว่าผิดปกติอาจตรวจด้วยการอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) เพื่อหาความผิดปกติได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น
การรักษาคอเลสเตซิส
เมื่อแพทย์พิจารณาพบว่าสาเหตุที่ผู้ป่วยเป็นคอเลสเตซิสเกิดจากการใช้ยา แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาตัวอื่นแทน หากสาเหตุเกิดจากโรค เช่น นิ่ว เนื้องอก ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดคอเลสเตซิส แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาคอเลสเตซิส
เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดคอเลสเตซิส ได้ด้วยวิธีการป้องกัน ดังต่อไปนี้
- ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคตับอักเสบ
- ห้ามใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาทางหลอดเลือดดำ
[embed-health-tool-bmi]