backup og meta

แผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions)

แผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions)

แผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions) เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยมาก คือ รอยถลอกที่เกิดจากการที่ผิวหนังถูกับพื้นบนผิวหยาบ เช่น พื้นถนน โดยส่วนใหญ่รอยถลอกมักเกิดขึ้นกับ ข้อศอก หัวเข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า แขน เป็นต้น

คำจำกัดความ

แผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions) คืออะไร

แผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions) เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยมาก คือ รอยถลอกที่เกิดจากการที่ผิวหนังถูกับพื้นบนผิวหยาบ เช่น พื้นถนน โดยส่วนใหญ่รอยถลอกมักเกิดขึ้นกับ ข้อศอก หัวเข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า แขน เป็นต้น 

 พบได้บ่อยเพียงใด 

แผลถลอกบนผิวหนังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

อาการ

อาการของแผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions)

โดยทั่วไปอาการของแผลถลอกบนผิวหนัง มักจะเกิดขึ้นบริเวณแขนและขา เมื่อผิวหนังถูกับพื้นผิวที่แข็งหรือหยาบ บริเวณต่าง ๆ ของร่างกายเช่น หัวเข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า และข้อศอก มีความเสี่ยงต่อการถลอกได้เช่นกัน  โดยลักษณะของแผลถลอกบนผิวหนังนั้นจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

  • อาการของแผลถลอกบนผิวหนังระดับแรก  แผลถลอกบนผิวหนังชั้นนอกเป็นชั้นผิวหนังที่ตื้นที่สุด ถือว่าไม่มีอาการรุนแรง และไม่มีเลือดออก
  • อาการของแผลถลอกบนผิวหนังระดับสอง ผิวหนังชั้นนอกและผิวหนังแท้เกิดการถลอก อาจมีเลือดออกเล็กน้อย
  • อาการของแผลถลอกบนผิวหนังระดับสาม การอาการถลอกบนผิวหนังชนิดรุนแรง ผิวหนังอาจเกิดการฉีกขาด อาจมีเลือดออกมากและต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของอาการแผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions)

สาเหตุของอาการแผลถลอกบนผิวหนังมักเกิดจากอุบัติเหตุ เมื่อผิวหนังไปเสียดสีกับพื้นผิวหยาบ เช่น พื้นถนน 

ปัจจัยที่มีผลต่ออาการแผลถลอกบนผิวหนัง

ปัจจัยดังต่อไปนี้ มีผลต่อการฟื้นฟูแผลถลอกบนผิวหนัง ดังต่อไปนี้ 

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการแผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions)

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและตรวจดูความผิดปกติของผู้ป่วย หากผิวหนังชั้นกำพร้าฉีกขาด มีเลือดซึมออกเล็กน้อย สันนิษฐานได้เลยว่าอาจเกิดจากอาการแผลถลอกบนผิวหนัง

 แต่ถ้าหากแผลมีขนาดใหญ่มีเลือดออกมาก อาจเกิดจากแผลชนิดอื่น แพทย์อาจต้องทำการตรวจดูอาการผิดปกติเพิ่มเติมและทำการรักษาตามลำดับต่อไป

การรักษาอาการแผลถลอกบนผิวหนัง

อาการแผลถลอกบนผิวหนังสามารถรักษาให้หายเองได้โดยไม่ต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

  • ควรทำความสะอาดแผลอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยเริ่มจากล้างทำความสะอาดแผลให้สะอาดด้วยน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น ด้วยสบู่อ่อน ๆ หรือน้ำยาทำความสะอาดป้องกันแบคทีเรีย 
  • เพื่อป้องกันการติดเชื้ออาจทาครีมปฏิชีวนะบาง ๆ เช่น ยาแบคซิทราซิน (Bacitracin) โพลีมัยซินบี (Polymyxin B)
  • ปิดแผลด้วยผ้าพันแผล เพื่อป้องกันแบคทีเรียจากการติดเชื้อในบริเวณนั้น 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงอาการแผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงต่ออาการแผลถลอกบนผิวหนัง มีดังต่อไปนี้

  • สวมถุงมือแขนยาว กางเกงขายาวเพื่อเป็นการปกป้องผิวหนัง
  • สวมหมวกกันน็อคและแผ่นป้องกันเข่า ข้อมือ ศอก และมือระหว่างเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมทางกายอื่น ๆ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Skin cuts and abrasions. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/skin-cuts-and-abrasions. Accessed February 18, 2020.

Abrasions. https://www.memd.net/conditions/abrasions. Accessed February 1, 2020.

Abrasions. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK554465/. Accessed February 1, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/02/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ชอบเกาหัว แกะผิวหนัง แกะแผล ยิ่งแกะยิ่งมัน! คุณอาจเป็น โรคแกะผิวหนัง ก็ได้นะ

แผลเป็น และวิธีลดรอยแผลเป็น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 15/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา