backup og meta

ยาสามัญประจําบ้าน ที่ควรมีติดเอาไว้ในยุค New Normal

ยาสามัญประจําบ้าน ที่ควรมีติดเอาไว้ในยุค New Normal

ยาสามัญประจําบ้าน เป็นยาที่จำเป็นควรมีติดไว้ที่บ้าน เพื่อบรรเทาหรือรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยด้วยตัวเอง ส่วนอุปกรณ์สามัญประจำบ้าน ควรมีไว้ในกรณีบาดเจ็บฉุกเฉิน โดยเตรียมชุดยาสำหรับทำแผลหรือปฐมพยาบาล ยาสามัญประจําบ้าน มีอะไรบ้าง ควรมียาแบบไหนในยุคโควิด

[embed-health-tool-bmi]

ยาสามัญประจําบ้าน มีอะไรบ้าง  

กลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ เช่น 

  • ยาเม็ดหรือยาน้ำบรรเทาปวดพาราเซตามอล 
  • ยากลุ่ม NSAID เช่น แอสไพริน และไอบูโพรเฟน 

กลุ่มยาแก้แพ้ เช่น 

กลุ่มยาแก้ปวดท้อง เช่น 

  • ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง
  • ยาเม็ดและยาน้ำลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซียม 
  • ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามินท์
  • ยาขับลม 
  • ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ 
  • ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต

ยาแก้ท้องเสีย เช่น 

  • ผงนํ้าตาลเกลือแร่ ผงถ่าน

ยาระบาย เช่น 

  • ยาระบายมะขามแขก
  • ยาระบายแมกนีเซียม
  • ยาแก้ไอ ขับเสมหะ เช่น
  • ยาแก้ไอน้ำดำ

ยาดมหรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก เช่น

  • ยาดมแก้วิงเวียน แก้คัดจมูก
  • ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม
  • ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูก ชนิดขี้ผึ้ง

ยาแก้เมารถ-เมาเรือ เช่น

  • ยาแก้เมารถ เมาเรือไดเมนไฮดริเนท

ยาทาผิวหนัง เช่น 

  • ครีมฆ่าเชื้อ คาลาไมน์

นอกจากนี้ ยังควรมี ยาใส่แผล แอลกอฮอลล์ นํ้าเกลือล้างแผล พลาสเตอร์บรรเทาปวด พลาสเตอร์ยา ผ้าก๊อซ และเทปปิดแผล เตรียมเอาไว้ที่บ้านด้วย

รายการยาสามัญประจําบ้าน ป้องกันและบรรเทาอาการช่วงโควิด เช่น

  • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ใช้บรรเทาอาการปวดลดใข้ รับประทานครั้งละ 10 – 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม รับประทานซ้ำได้ทุก 4 ชั่วโมงถ้ายังมีอาการ แม้ว่าจะเป็นยาลดไข้แก้ปวดที่มีความปลอดภัย ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร แต่ไม่ควรใช้ยาเกิน 8 เม็ดต่อวัน การกินยาพาราเซตามอลเกินขนาดทำให้เกิดภาวะตับวายถึงชีวิตได้   
  • ผงเกลือแร่ หากมีอาการท้องเสีย ให้ชงดื่มแทนน้ำเปล่าเมื่อถ่ายเหลว เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากการอาเจียน หรือท้องเสีย 
  • ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน (Domperidone) เมื่อเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้รับประทานก่อนอาหารสูงสุดวันละ 3 เวลา
  • ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ ช่วยเจือจางหรือช่วยให้ร่างกายขับเสมหะได้ดีขึ้น ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์

อุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้าน ป้องกันและรับมือโรคโควิด เช่น

  • ปรอทวัดไข้ เพื่อตรวจสอบอาการเวลารู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว ไม่สบาย หรือเป็นไข้
  • ชุดตรวจโควิด-19 Antigen Test Kit (ATK) ตรวจด้วยตัวเองที่บ้าน เก็บสารคัดหลังโดยอ่านผลทดสอบบน Strip Test ใช้ตรวจคัดกรองในเบื้องต้น อาการป่วยจากการติดเชื้อโควิด
  • น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 70 – 90 ใช้เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ 
  • เจลล้างมือแอลกอฮอล์หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ ความเข้มข้น 75 เปอร์เซ็นต์ ลดการสะสมของแบคทีเรีย ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 
  • หน้ากากอนามัย ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยเป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาอยู่ในพื้นที่แออัด พื้นที่ปิด หรืออยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่น ช่วยไม่ให้แพร่เชื้อไวรัส อีกทั้งยังป้องกันการรับเชื้อทางการหายใจ

ทราบกันแล้วว่า ยาสามัญประจําบ้าน มีอะไรบ้าง หากต้องการซื้อยาสามัญประจำบ้าน สามาถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ร้านขายยาและขอคำปรึกษาจากเภสัชกร ยาทุกชนิดใช้เพื่อบรรเทาอาการ ผู้มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ยาสามัญประจําบ้านควรมีไว้ติดบ้านเพื่อ  https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/brochure_4.pdf. Accessed June 15, 2023

รายการยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/27627/10/mph0943pj_app.pdf . Accessed June 15, 2023

ยาและอุปกรณ์สามัญประจำบ้านยุค “NEWNORMAL” https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3/ . Accessed June 15, 2023

ยาที่ควรมีติดบ้านไว้เมื่อ Covid-19 https://med.nu.ac.th/home/photo_COVID-19_Announcement_University/15187_COVID%20NUH.pdf . Accessed June 15, 2023

แนะใช้ยาสามัญประจำบ้าน https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=975 . Accessed June 15, 2023

การรับประทานยาให้ถูกวิธี https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1264 . Accessed June 15, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/06/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

พาราตรามอล (Paratramol)

โรคที่มากับ น้ำท่วม และวิธีดูแลสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 15/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา