backup og meta

ผู้ชายกับผู้หญิง...รู้มั้ย ใครแก่เร็วกว่า กัน?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ผู้ชายกับผู้หญิง...รู้มั้ย ใครแก่เร็วกว่า กัน?

    ผู้ชายกับผู้หญิง นอกจากจะมีความแตกต่างกันทางด้านสรีระและอะไรอีกหลายๆ อย่างแล้ว ความแก่ก็ยังเกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วผู้ชายกับผู้หญิง ใครแก่เร็วกว่า กัน ลองอ่านรายละเอียดนี้ดูแล้วจะรู้

    ใครแก่เร็วกว่า ระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย

    ฮอร์โมน

    ทั้งผู้หญิงและผู้ชายเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเพศ โดยผู้หญิงมักจะเกิดอาการของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะเกิดในช่วงที่มีอายุประมาณ 50 ปี ซึ่งผู้หญิงจะหยุดมีรอบเดือน และรังไข่ก็หยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยๆ ก็คือร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย ภาวะช่องคลอดแห้ง และมีความต้องการทางเพศต่ำ

    ส่วนผู้ชายความแก่ชราไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบปุบปับเหมือนผู้หญิง โดยจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ซึ่งระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดลงอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า ผู้ชายวัยทองโดยระดับเทสโทสเตอโรนจะลดลงโดยเฉลี่ยปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว โดยระดับฮอร์โมนที่ลดลงนี้จะทำให้เกิดอาการต่างๆ อย่างเช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง และรูปแบบการนอนเปลี่ยนไป ซึ่งไม่เหมือนอาการวัยทองของผู้หญิง ที่สิ้นสุดการเจริญพันธุ์ไปเลย แต่ผู้ชายยังสามารถมีลูก และผลิตเชื้ออสุจิได้อยู่

    ความหนาของผิวหนัง

    ความที่ผู้ชายมีผิวที่หนากว่า ก็เลยทำให้เกิดริ้วรอยได้ยากกว่าผู้หญิง ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของผู้ชาย จะทำให้ผู้ชายมีผิวหนากว่าของผู้หญิงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้ชายยังมีคอลลาเจนหนาแน่นกว่าด้วย รวมทั้งมีผิวที่หยาบกว่าและมีความชุ่มชื้นตามธรรมชาติมากกว่า เนื่องจากผู้ชายจะมีเหงื่อออกมากกว่า และมีกรดแลคติคในเหงื่อมากกว่า

    ปัจจัยทางด้านน้ำหนัก

    ถึงแม้คนเราจะค่อยๆ สูญเสียมวลกล้ามเนื้อหลังวัย 30 ปี แต่ผู้หญิงกับผู้ชายจะมีน้ำหนักขึ้นต่างกัน ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริการายงานว่า ผู้ชายจะมีน้ำหนักขึ้นจนถึงช่วงอายุ 50 กว่าๆ แล้วน้ำหนักจะเริ่มลดลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นเพราะฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนลดลง ซึ่งจะช่วยประคับประคองกล้ามเนื้อเอาไว้ได้ ในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงมักจะมีน้ำหนักขึ้นไปจนถึงอายุ 65 แล้วจะเริ่มน้ำหนักตัวลด เนื่องจากสูญเสียมวลกล้ามเนื้อนั่นเอง

    อาการผมร่วง

    ทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะมีอาการผมร่วงเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนและพันธุกรรมด้วย แต่อาการหัวล้านจะเกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งผู้ชายประมาณครึ่งหนึ่งจะมีอาการผมร่วงเกิดขึ้นก่อนจะถึงวัย 50 ปี อาการผมร่วงทางกรรมพันธุ์มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีอายุ 40 ปี ซึ่งผู้หญิงอาจมีอาการหัวล้านได้เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปมักจะเกิดอาการผมบางมากกว่า

    อายุขัยโดยเฉลี่ย

    ตามสถิติแล้วผู้หญิงมักจะมีอายุยืนกว่าผู้ชาย ซึ่งเหตุผลน่ามาจากการที่ผู้ชายมักจะชอบทำกิจกรรมเสี่ยงๆ มากกว่า และมักจะมีอาชีพการงานที่เสี่ยงต่ออันตรายมากกว่าด้วย อย่างเช่น การรับราชการทหาร นั่นจึงอาจเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงและผู้ชายมีอายุขัยโดยเฉลี่ยต่างกัน นอกจากนี้ผู้หญิงก็มักไปตรวจสุขภาพหรือหาคุณหมอเป็นประจำ จึงทำให้พบปัญหาสุขภาพได้เร็วกว่า ซึ่งอายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ชายอยู่ที่ 76.1 ปี ของผู้หญิงอยู่ที่ 81.1 ปี

    อาการเสื่อมถอยของสมอง

    อาการเสื่อมถอยทางสมองของผู้ชายและผู้หญิงก็มีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งผู้ชายที่มีน้ำหนักตัวเกิน ได้รับการวินิจฉัยว่าอาจจะเป็นโรคเบาหวาน หรือมีอาการเส้นเลือดในสมองแตก และมีแนวโน้มจะต้องทนทุกข์กับภาวะสมองเสื่อม ส่วนผู้หญิงมีแนวโน้มอาจจะต้องเจอกับภาวะสมองเสื่อมมากกว่า

    ผู้ที่มีอายุ 100 ปีกับความแก่ชรา

    สำหรับการมีอายุยืนเกิน 100 ปีนั้น จะเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่การมีอายุเกิน 100 ปีของผู้หญิงและผู้ชายจะมีความแตกต่างกัน นั่นก็คือ…

    • 24 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายที่มีอายุเกิน 100 ปี และ 43 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่มีอายุเกิน 100 ปี เป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับอายุในช่วงที่ก่อนจะถึงวัย 80 ปี
    • 32 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชาย และ 15 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิง ที่มีอายุเกิน 100 ปี เป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพที่หนักหนาอะไร
    • 44 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชาย และ 42 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิง ที่มีอายุเกิน 100 ปี เป็นผู้ที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงอะไร จนกระทั่งถึงวัย 80 ปี

    กล่าวโดยสรุปก็คือผู้ชายที่มีอายุเกิน 100 ปีมักจะมี “ความโชคดี’ กว่าผู้หญิง ที่มักจะเป็นผู้ที่สามารถทนทุกข์กับอาการเจ็บป่วยเป็นเวลานานๆ ได้ดีกว่า

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา