ความผิดปกติด้านการนอน

เราไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหากพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนหลับทำให้ร่างกายของเราซ่อมแซมตัวเอง ทั้งยังส่งผลต่อระดับฮอร์โมน หรือแม้แต่น้ำหนักตัว ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความผิดปกติด้านการนอน ที่พบบ่อย เช่น การนอนไม่หลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และการกรน

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความผิดปกติด้านการนอน

การวินิจฉัยพฤติกรรมการนอนหลับ การทดสอบสำหรับผู้มีปัญหาการนอนหลับ

เมื่อการนอนหลับของคุณเข้าสู่ภาวะผิดปกติ แต่คุณไม่ทราบว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด วันนี้ Hello คุณหมอ ขอนำเทคนิค การวินิจฉัยพฤติกรรมการนอนหลับ ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อาจช่วยวิเคราะห์ปัญหาการนอนหลับเบื้องต้น และช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาการนอนหลับของคุณได้อย่างตรงจุด การวินิจฉัยพฤติกรรมการนอนหลับ คืออะไร การวินิจฉัยพฤติกรรมการนอนหลับ (Polysomnography) หรือการ ตรวจการนอนหลับ (Sleep test) คือการทดสอบ และจดบันทึกข้อมูลการนอนหลับของคุณ โดยปกติการวินิจฉัยจะทำในห้องปฏิบัติการเฉพาะที่แพทย์เตรียมไว้ โดยต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์บริเวณศีรษะ ตา หน้าอก ขมับ ขา นิ้วมือ รวมไปถึงตั้งไมโครโฟนเพื่อช่วยบันทึกเสียงกรนผู้ป่วย และตรวจระบบการทำงานสมอง ระบบหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด และตลอดทุกการเคลื่อนไหวต่าง ๆ แม้ว่าการ ตรวจการนอนหลับ อาจจะฟังดูวุ่นวาย แต่คุณไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะในช่วงขณะคุณหลับพักผ่อนในห้องนั้น จะมีทีมแพทย์ หรือผู้ดูแลคอยสังเกตคุณอยู่ตลอดทั้งคืน ผ่านทางอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้บนร่างกายคุณและส่งสัญญาณมายังจอแสดงผลด้านนอก เพื่อเริ่มทำการศึกษาถึงความผิดปกติของการนอนหลับจนกระทั่งคุณตื่น การวินิจฉัยพฤติกรรมการนอนหลับ มีกี่ประเภท ก่อนเริ่มต้นการ ตรวจการนอนหลับ แพทย์อาจมีการสอบถามถึงปัญหาการนอนหลับคุณเบื้องต้นเสียก่อนว่ามีอาการใดบ้าง จากนั้นจึงดำเนินการเลือกประเภทการทดสอบที่เหมาะสมแก่สุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งมักมี 4 ประเภท หลัก ๆ ด้วยกัน ดังนี้ 1. Diagnostic overnight PSG เป็นการ ตรวจการนอนหลับ […]

สำรวจ ความผิดปกติด้านการนอน

ความผิดปกติด้านการนอน

การนอนหลับผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร

การนอนหลับผิดปกติ นั้นมีความเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองอย่างมาก เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการนอนหลับได้ และในทางกลับกันการนอนหลับที่ผิดปกติ ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองด้วย   การนอนหลับผิดปกตินั้นเป็นอย่างไร การนอนหลับผิดปกติ เป็นสภาวะที่มีผลต่อความสามารถในการนอนหลับ การนอนหลับที่ผิดปกตินั้นมีตั้งแต่ระดับผิดปกติเล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง อาการโดยทั่วไปจะมีอาการง่วงในนอนตอนกลางวัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของอาการนอนหลับผิดปกติด้วย ตัวอย่างเช่น การกรนเสียงดังซึ่งเป็นอาการของโรคหยุดหายใจขณะหลับ การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรุนแรงตอนกลางคืน ซึ่งเป็นอาการของโรคลมชักขณะหลับ และการเคลื่อนไหวของขาที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการเครียดของโรคที่เกิดกับขา   การหลับผิดปกติจะนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้หรือไม่ การนอนไม่หลับอาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีสภาวะของโรคหยุดหายใจขณะหลับ จากสภาวะที่ลิ้นหรือกล้ามเนื้ออื่นๆ ทำการขวางกั้นไม่ให้มีออกซิเจนเข้าสู่ปอด คนไข้อาจจะหยุดหายใจไปหลายวินาที และในหลายกรณีอาจจะหยุดไปนานหลายนาที ทำให้สมองขาดออกซิเจน และมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในร่างกายมาก สมองจะมีปัญหาถ้าขาดออกซิเจน ร่างกายจึงต้องพยายามกระตุ้นการส่งออกซิเจนเข้าไปในเลือด โดยเพิ่มจังหวะการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต และส่งสัญญาณไปที่ศูนย์การหายใจที่อยู่ในแกนกลางสมอง ทำให้คนไข้ต้องพยายามหายใจระหว่างนอนหลับ คนไข้ที่เป็นโรคหยุดหายใจในขณะหลับจาก จะตื่นขึ้นเนื่องจากรู้สึกไม่สบายเมื่อพยายามหายใจแล้วคอหอยยังปิดอยู่ พอตื่นขึ้นมาก็จะหายใจได้มากขึ้นก่อนที่จะผลอยหลับไปอีกครั้ง สิ่งนี้จะเกิดขึ้นนับสิบๆ ครั้งในแต่ละวัน ซึ่งส่งผลให้มีระดับความดันโลหิตสูงในตอนกลางคืน และหัวใจเต้นเร็วขึ้น จนทำให้เกิดความเครียดเรื้อรังในระบบหัวใจ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเส้นเลือดสมองตีบได้   จะวินิจฉัยอาการนอนหลับผิดปกติได้อย่างไร หากคุณมีปัญหาเรื่องการนอนหลับมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยหยุดยั้งอาการปวดศีรษะ อาการเหนื่อยระหว่างวัน และบางครั้งอาจคุกคามถึงชีวิตได้ บางครั้งก็จำเป็นบันทึกการทำงานของร่างกายในขณะที่คุณนอนหลับด้วย เพื่อตรวจการเคลื่อนไหวของสายตา (การตรวจคลื่นไฟฟ้าของตา) คลื่นสมอง (การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง) จังหวะการเต้นของหัวใจ (คลื่นไฟฟ้าของหัวใจ) การทำงานของกล้ามเนื้อ (การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ) การไหลเวียนของอากาศผ่านจมูกและปาก การหายใจ และระดับออกซิเจนในเลือด ซึ่งผลการตรวจเหล่านั้นจะบอกแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาได้ว่า สมองในช่วงใดของการนอนหลับมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยอิสระหรือไม่ และรบกวนการนอนหลับหรือเปล่า ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวของขาในโรคที่เกี่ยวกับขา และรูปแบบการหายใจเป็นปกติหรือไม่ในระหว่างนอนหลับ นอกจากนี้อาจทำการศึกษาด้วยการบันทึกภาพวิดีโอ และบันทึกเสียงเอาไว้ในขณะนอนหลับ  […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม