ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่หลายคนอาจยังไม่รู้จัก แต่สามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงและการรับมือกับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และเคล็ดลับอื่น ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ดูแลตัวเองเมื่อเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ต้องทำอย่างไรบ้าง

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ถือเป็นโรคนอนไม่หลับที่มีอันตรายร้ายแรง ส่วนใหญ่อาการเริ่มต้นของภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็คือ กรนเสียงดัง และรู้สึกเหนื่อย แม้จะนอนหลับเต็มที่แล้วก็ตาม ดังนั้น การเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองจึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำ ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ  ก่อนจะไปถึงวิธีการดูแลตัวเอง ลองมาดูกันก่อนดีกว่าว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีอะไรบ้าง น้ำหนักเกิน โรคอ้วนนั้นสามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างมาก เนื่องจากไขมันที่สะสมรอบๆ ทางเดินหายใจส่วนบน สามารถขัดขวางการหายใจของคุณได้ รอบคอ ผู้ที่มีรอบคอหนาอาจมีทางเดินหายใจที่แคบลง ทางเดินหายใจแคบ ทางเดินหายใจแคบอาจเกิดจากพันธุกรรม นอกจากนั้นเมื่อต่อมทอนซิล หรือโรคเนื้องอกในจมูก ยังสามารถทำให้ทางเดินหายใจขยายตัว จนไปปิดกันระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กได้ด้วย เพศชาย โดยทั่วไปแล้วเพศชายมักมีแนวโน้มในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้มากกว่าเพศหญิงมากกว่า ประมาณ 2-3 เท่า อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน และอยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือนก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการหยุดหายใจขณะหลับได้มากขึ้นเช่นกัน อายุมากขึ้น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ประวัติครอบครัว การที่คุณมีสมาชิกในครอบครัวมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวคุณได้ สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีแนวโน้มในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า เนื่องจากการสูบบุหรี่สามารถเพิ่มปริมาณการอักเสบ และกักเก็บของเหลวในไว้ในทางเดินหายใจส่วนบนนั่นเอง คัดจมูก หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจในจมูก ไม่ว่าจะเกิดจากโรคหรืออาการแพ้ ก็ทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน วิธีดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยปกติแล้วการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบดั้งเดิม ก็คือการสวมหน้ากาก CPAP ในเวลากลางคืน แต่วิธีนั้นไม่สะดวกสบายเท่าไหร่นัก ดังนั้น ลองมาดูวิธีการดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กันดีกว่า รักษาน้ำหนักให้สมส่วน และรักษาร่างกายให้แข็งแรง โดยปกติแล้วเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์มักจะแนะนำให้ลดน้ำหนัก […]

สำรวจ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอนกรน สาเหตุเกิดจากอะไร และวิธีรับมือกับอาการนอนกรน

อาการ นอนกรน จะเกิดขึ้นขณะหลับ ซึ่งจะเกิดเมื่อกล้ามเนื้อหย่อนตัวลง ทำให้ทางเดินหายใจแคบเกินไป อากาศที่หายใจเข้าไปก็จะเคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง ทำให้เกิดการสั่นของเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น ซึ่งมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้เกิด อาการนอนกรน ส่วนการรักษาก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความรุนแรงและผลกระทบที่เกิดกับร่างกาย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการของเราหนักเกินไปจนต้องไปปรึกษาแพทย์แล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้มาให้อ่านกันแล้วค่ะ ทำความรู้จักอาการนอนกรน หากคนรักของคุณบอกว่าคุณนอนกรนจนรบกวนการนอนหลับของเขา ถือว่างานเข้าแล้วแหละ คุณควรรีบหาวิธี แก้การ นอนกรน อย่างเร่งด่วน แต่ถ้าหากคุณไม่เชื่อว่าตัวเองนอนกรนให้ลองอัดเสียงตัวเองเวลานอน เพื่อตรวจสอบว่าคุณนอนกรนจริงหรือไม่ ส่วนสาเหตุที่ทำให้นอนกรนและวิธีรับมือกับอาการมีดังนี้ นอนกรน หรือการกรนเป็นเสียงที่เกิดจาก ลมผ่านทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบลงและเกิดการสั่น สะเทือนของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น มีความสัมพันธ์อย่างมากกับโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA) โดยถ้าช่องทางเดินหายใจแคบจนส่งผลให้ลมหายใจผ่านได้น้อยกว่าปกติ หรือไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ จนเกิดภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (Hypoxemia) อาจส่งผลให้เกิดอาการคล้ายอดนอน ไม่สดชื่น ทั้งยังส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น สาเหตุของการ นอนกรน สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนมีมากมาย รวมถึงปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการนอนกรน มีดังต่อไปนี้ อายุ การนอนกรนเป็นอาการที่พบบ่อยตอนที่คุณมีอายุมากขึ้น เพศ ผู้ชายมีแนวโน้มว่าจะนอนกรนมากกว่าผู้หญิง น้ำหนัก ความอ้วนหรือน้ำหนักเกินเป็นสาเหตุให้มีเนื้อเยื่อมากบริเวณคอ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการนอนกรน ทางเดินหายใจแคบ คุณอาจมีแนวโน้มที่จะนอนกรนมากกว่าถ้าคุณมีทางเดินหายใจด้านบนแคบ พันธุกรรม คุณอาจมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม