backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

รู้หรือไม่ ท่านอนตะแคง มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

รู้หรือไม่ ท่านอนตะแคง มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

ไม่ว่าใครต่างก็คงจะมีท่านอนประจำของตัวเอง ที่นอนเมื่อไหร่ เป็นต้องหลับไปทุกทีแน่ ๆ หลายคนชอบบอกว่า ท่านอนหงาย คือ ท่านอนที่ดีที่สุด เพราะถือว่าเป็นท่านอนพื้นฐานตามธรรมชาติ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ท่านอนตะแคง อาจจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย มากกว่าที่หลาย ๆ คนคิด

ถึงจะพูดว่า ท่านอนตะแคง แต่จริง ๆ แล้ว ท่านอนตะแคงเองก็มีท่าพื้นฐานอยู่อีก 3 ท่า ดังนี้

  • นอนขดตัวเหมือนทารก คือการนอนขดตัว เอาเข่าขึ้นมาชิดกับหน้าอก แล้วกอดเข่าตัวเองไว้ คล้ายกับท่านอนของทารกในครรภ์
  • นอนตะแคงเปิดข้าง คือการนอนตะแคงโดยยืดขาตรง และยืดแขนออกไปทางด้านหน้า คล้ายกับว่ากำลังจะเอื้อมหาคนอื่น
  • นอนตะแคงแบบขอนไม้ คือการนอนตะแคงโดยที่ยืดขาตรง และปล่อยแขนแนบลำตัวตรงทั้งสองข้าง

อย่างไรก็ตาม ท่าเหล่านี้เป็นเพียงท่านอนพื้นฐานที่ไม่ตายตัวเท่านั้น บางคนอาจจะนอนหลาย ๆ ท่าสลับกันไป หรือบางคนอาจจะมีท่าอื่นมากกว่านี้ แต่ไม่ว่า คุณจะนอนตะแคงด้วยท่าแบบไหนก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วยกันทั้งสิ้น

ประโยชน์สุขภาพดี ๆ ที่ได้จาก ท่านอนตะแคง

ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง

ท่านอนตะแคง เป็นท่าที่มีประโยชน์ต่อแผ่นหลังของเรามากที่สุด ผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง อาจจะรู้สึกว่ามีอาการดีขึ้นเมื่อได้นอนตะแคงข้าง โดยเฉพาะข้างซ้าย เนื่องจากการนอนตะแคงนั้นจะช่วยทำให้เราได้ลดแรงกดทับบนกระดูกสันหลังของเรา ทำให้รู้สึกสบายมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการนอนหลับสนิทได้อีกด้วย

ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย

การนอนตะแคงซ้ายจะทำให้เราสามารถอาศัยแรงโน้มถ่วง ในการช่วยให้ลำไส้ใหญ่ลำเลียงกากอาหารและของเสียผ่านลำไส้ไปยังไส้ตรงได้ง่ายขึ้น ทำให้คุณสามารถขับถ่ายได้อย่างง่ายดายมากขึ้นเมื่อตื่นนอน นอกจากนี้ การนอนตะแคงซ้ายจะทำให้กระเพาะอาหารและตับอ่อนห้อยอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่โดนแรงกดทับจากอวัยวะอื่นๆ ทำให้สามารถผลิตน้ำย่อยออกมาและย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่

ลดอาการแสบร้อนกลางอก

มีงานวิจัยวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน The Journal of Clinical Gastroenterology พบว่า การนอนตะแคงข้างซ้าย สามารถช่วยลดอาการของโรคกรดไหลย้อนได้ เนื่องจากการนอนตะแคงทางด้านซ้าย จะทำให้กระเพาะอาหารและน้ำกรดอยู่ต่ำกว่าหลอดอาหารขณะที่นอนหลับ ทำให้กรดไม่ไหลย้อนกลับไป แต่ในขณะเดียวกัน การนอนตะแคงข้างขวาก็อาจทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนรุนแรงขึ้นได้เช่นกัน

ลดการกรนหรืออาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การนอนจะแคงจะป้องกันไม่ให้ลิ้นลงไปในคอและปิดทางเดินหายใจส่วนหนึ่ง ทำให้สามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการนอนกรน และช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) ได้

ดีต่อหัวใจ

แพทย์ได้แนะนำให้นอนตะแคงข้างซ้ายเนื่องจากจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ และช่วยลดความดันเลือดที่สูบฉีดไปยังหัวใจได้ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงจะเป็นตัวช่วยส่วนหนึ่งในการลำเลียงเลือดไปยังหัวใจ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่านอนตะแคงข้างขวาหรือข้างซ้ายแบบไหนจะดีกว่ากัน

เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์

การนอนตะแคง ไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิตแล้ว ยังเป็นท่านอนที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะที่ผู้ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวใหญ่ การนอนตะแคงข้าง จะช่วยไม่ให้น้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ลงมากดทับคุณแม่ ช่วยบรรเทาแรงกดทับที่หลัง กระเพาะปัสสาวะ และตับ และยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังมดลูก ไต และทารกในครรภ์อีกด้วย

ข้อเสียของการนอนตะแคง

แม้ว่าการนอนตกแคงนั้นจะมีประโยชน์อยู่มากมาย แต่ก็ไม่ได้เหมาะสมสำหรับทุกคนเสมอไป การนอนตะแคงอาจให้ข้อเสียดังต่อไปนี้

  • ปวดไหล่ การนอนตะแคงจะเป็นการลงน้ำหนักตัวลงไปทางด้านข้างลำตัว โดยเฉพาะไหล่ ทำให้มีอาการปวดเมื่อยได้ หากนอนค้างด้านเดิมนานๆ
  • ปวดกราม หากคุณมีกรามแน่น การนอนตะแคงอาจเพิ่มแรงกดทับที่กรามขณะนอนหลับ ทำให้มีอาการปวดกรามในตอนตื่นนอนได้
  • เพิ่มแรงดันต่อหัวใจ การนอนตะแคงอาจทำให้น้ำหนักของปอดลงไปกดทับหัวใจ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการหัวใจล้มเหลวได้

เทคนิคในการนอนตะแคงให้สบายตัว

การนอนตะแคงข้างนานๆ อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้ แต่การเตรียมที่นอนอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เราสามารถนอนตะแคงข้างอย่างสบายๆ ไร้อาการเมื่อยได้

  • เตรียมหมอน เลือกหมอนที่พอดีกับโครงสร้างของกระดูกไหปลาร้าของคุณ
  • วางหมอนไว้ระหว่างเข่า หาหมอนมากั้นระหว่างเข่าทั้งสองข้าง เพื่อช่วยซัพพอร์ตหลังส่วนล่าง
  • เลือกใช้หมอนแข็ง ๆ หรือหมอนที่ไม่นิ่มยวบจนเกินไป เพื่อไม่ให้หมอนยุบและคอตกหมอน
  • กอดหมอนข้างทำให้เราสามารถพักแขนไว้บนหมอนได้ ทำให้เราไม่รู้สึกเมื่อย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How These 3 Sleep Positions Affect Your Gut Health https://www.healthline.com/health/healthy-sleep/sleep-effects-digestion . Accessed 26 March 2020

Right vs. Left Side Sleeping: What’s the Best for Your Health? https://www.sleepjunkie.org/sleeping-on-left-side-vs-right-side/ . Accessed 26 March 2020

This Is Why You Should Sleep on Your Left Side (Backed by Science) https://www.lifehack.org/356391/this-why-you-should-sleep-your-left-side-backed-science . Accessed 26 March 2020

The Best and Worst Sleep Positions for Health Conditions https://www.verywellhealth.com/best-and-worst-sleep-positions-for-health-conditions-4158271. Accessed 26 March 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา