backup og meta

อาการนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้ด้วยเครื่องดื่มเหล่านี้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    อาการนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้ด้วยเครื่องดื่มเหล่านี้

    การนอนหลับถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่อสุขภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำเอาไว้ว่า การนอนที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดก็คือ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งการนอนหลับน้อยเกินไปหรือมากเกินไป อาจเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่การนอนหลับอย่างนอน 7 ชั่วโมงเต็มในแต่ละคืนก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆ เลย ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้มีเครื่องดื่มที่ช่วยแก้ อาการนอนไม่หลับ มาฝากกัน

    เครื่องดื่มที่ช่วยแก้ อาการนอนไม่หลับ มีดังนี้

  • น้ำเชอร์รี่

  • เชอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหลากหลาย มักนิยมนำมาใช้ทำไส้พาย แต่ความจริงแล้วเชอร์รี่ยังมีประโยชน์ในเรื่องของการนอนหลับที่ดีขึ้น ในเชอร์รี่มี ทริพโตเฟน (Tryptophan) เป็นกรดอะมิโน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเมลาโทนิน ช่วยควบคุมเรื่องการนอนหลับและตื่น จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่บริโภคเชอร์รี่วันละ 2 ครั้ง จะไม่ค่อยตื่นกลางดึกและส่งผลให้ระดับเมลาโทนินในปัสสาวะสูงขึ้นในตอนเช้า

    นอกจากนั้นแล้วอีกหนึ่งการวิจัยยังระบุว่า ผู้ที่ดื่มน้ำเชอร์รี่ 2 ถ้วย ในแต่ละวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จะเพิ่มเวลานอนหลับขึ้นเป็น 84 นาที และช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป

    1. ชาดอกคาโมมายล์

    ชาจากดอกคาโมมายล์ (Chamomile) นั้นถูกบริโภคมานานแล้ว มันมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ช่วยบรรเทาอาการหวัด ลดการอักเสบ ลดความวิตกกังวล และปรับปรุงสุขภาพผิว จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า ดอกคาโมมายล์อาจช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับให้ดีขึ้น โดยการศึกษาหนึ่งในผู้สูงอายุ 60 คนพบว่า การใช้สารสกัดคาโมมายล์ 400 มก. เป็นเวลา 28 วันติดต่อกัน ช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้นอย่างปลอดภัย

    1. ชาเปปเปอร์มินต์

    เปปเปอร์มินต์ (Peppermint) หรือ สะระแหน่ ถูกใช้ในยาแผนโบราณมานานหลายปี มีคุณสมบัติต้านไวรัส ต้านจุลชีพ ต่อต้านการแพ้ ทั้งยังช่วยในเรื่องของระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ลำไส้แปรปรวน และยังช่วยในเรื่องของการนอนหลับได้อีกด้วย แต่สำหรับผู้ที่มีอาการความดันโลหิต อาหารไม่ย่อย และใช้ยารักษาโรคเบาหวาน ควรจะต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะดื่มชาเปปเปอร์มิ้นต์

    1. ชาเขียวไม่มีคาเฟอีน

    ชาเขียวช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนัก และถ้าหาไม่มีคาเฟอีนผสมอยู่จะช่วยในเรื่องของการนอนหลับได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในชาเขียนมีกรดอะมิโนที่รู้จักกันในชื่อ ธีอะนีน (Theanine) ซึ่งช่วยในเรื่องของการลดความเครียด และส่งเสริมรูปแบบการนอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น

    1. ชาสมุนไพรผสมเลมอน บาล์ม

    ชาสมุนไพรที่ไร้คาเฟอีนเมื่อผสมกับเลมอน บาล์ม จะช่วยทำให้การนอนหลับสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้วเลมอน บาล์ม ยังช่วยลดความตึงเครียด และต่อสู้กับโรคนอนไม่หลับได้อีกด้วย

    นมอุ่น

    ทริพโตเฟน (Tryptophan) และเมลาโทนินในนม จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น และเป็นไปตามธรรมชาติ เนื่องจากทริพโตเฟน อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ซึ่งนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมหลายคนจึงรู้สึกง่วงหลังจากทานมื้ออาหารใหญ่ๆ นอกจากนั้น นมอุ่นๆ ยังช่วยในเรื่องของจิตใจได้อีกด้วย

    1. นมอัลมอนด์

    นมอัลมอนด์ ถือเป็นอีหนึ่งทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับการนอนหลับ จากการศึกษาพบว่า เซโรโทนินในสมองสามารถช่วยในการนอนหลับได้ ระดับเซโรโทนินที่ดีในระบบประสาทส่วนกลางของเรา มักขึ้นอยู่กับการมีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ซึ่งโพรไบโอติกส์นั้นมักพบได้ในนมวัวและนมอัลมอนด์ นอกจากนั้นนมอัลมอนด์ยังมีแมกนีเซียมสูงเป็นพิเศษ จึงถือเป็นอีกสารอาหารสำคัญที่สามารถปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับให้ดีขึ้นได้

    กล้วยปั่นใส่อัลมอนด์

    กล้วยปั่นใส่อัลมอนด์ เป็นเครื่องดื่มที่ทำได้ง่าย และเมื่อทานก่อนนอนยังทำให้อิ่มท้อง ไม่รู้สึกหิวในช่วยกลางดึกอีกด้วย ทั้งยังมีแมกนีเซียมและโพแทสเซียมจำนวนมาก ที่ช่วยส่งเสริมการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และทำให้หลับสบาย

    1. น้ำมะพร้าว

    โดยปกติแล้ว น้ำมะพร้าว มักเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงาน แต่ในความจริงแล้วในน้ำมะพร้าวมีแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ มีวิตามินบีที่ช่วยลดระดับความเครียด ดังนั้น น้ำมะพร้าวจึงถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มที่ช่วยให้นอนหลับได้ดีเช่นกัน

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา