backup og meta

แอพช่วยการนอนหลับ รับประกันว่าเวิร์คแน่นอน

แอพช่วยการนอนหลับ รับประกันว่าเวิร์คแน่นอน

เมื่อคืนเข้านอนเร็วแต่ทำไมรู้สึกง่วงจัง ? ใครที่กำลังประสบปัญหาตื่นมาแล้วไม่สดชื่น ง่วงนอน อ่อนเพลีย หรือรู้สึกว่าเมื่อคืนหลับไม่ค่อยสนิท ลองหา แอพช่วยการนอนหลับ มาใช้กันดูบ้าง แอพที่แนะนำนี้มีทั้งที่ช่วยบันทึกการนอนหลับ และแอพที่ทำให้หลับสบายขึ้น แต่ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับแอพพลิเคชั่น เราต้องมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เกิดขึ้นขณะหลับกันก่อน ตาม Hello คุณหมอ ไปดูกันเลยค่ะ

เกิดอะไรขึ้นขณะเราหลับ

การนอนหลับของทุกคน จะมีรอบการนอนหลับ หรือ Cycles of sleep เกิดขึ้นวนไปทั้งคืนจนตื่นนอน โดยในหนึ่งรอบการนอนหลับจะเกิดภาวะ non-REM sleep ประมาณ 5-15 นาที และต่อด้วย REM sleep อีก 90 นาที ซึ่งทั้ง 2 ภาวะมีสิ่งที่เกิดขึ้นดังนี้

Non-REM sleep

  • ช่วงที่ 1 คือ ช่วงเข้านอน เราจะหลับตาเพื่อเตรียมตัวนอน ซึ่งช่วงนี้จะถูกปลุกได้ง่ายเพราะเรายังไม่หลับ
  • ช่วงที่ 2 คือ ช่วง light sleep เป็นช่วงที่กำลังเคลิ้มหลับ หัวใจจะเต้นช้าลง อุณหภูมิในร่างกายลดลง
  • ช่วงที่ 3 คือ ช่วงหลับลึก

จากนั้นจะเข้าสู่ช่วง REM sleep อีก 90 นาที โดย REM ย่อมาจาก Rapid Eye Movement คือ อาการที่ดวงตาจะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วในทิศทางที่ต่างกัน ซึ่งคนเราจะฝันในช่วงนี้ และพอจบช่วง REM Sleep แล้ว ก็จะเป็นรอบการนอนหลับรอบใหม่ คือ เริ่มต้นด้วยช่วงที่ 1 ของ Non-REM sleep และจบรอบด้วย REM Sleep เกิดขึ้นแบบนี้วนไปทั้งคืน

แอพพลิเคชั่น ที่ทำให้หลับสบายจึงเป็นแอพที่ส่งผลต่อรอบการนอนหลับของเราในตอนกลางคืน และนี่ คือ 4 แอพช่วยการนอนหลับ ที่น่าลอง

4 แอพช่วยการนอนหลับ น่าลอง

1. Sleep Cycle alarm clock

การทำงานของแอพพลิเคชั่น Sleep Cycle alarm clock คือ เพียงแค่เราวางโทรศัพท์ไว้บนพื้น หรือบนโต๊ะที่อยู่ข้างเตียงนอน แล้วนอนหลับไป แอพพลิเคชั่นจะบันทึกรอบการนอนหลับของเราไว้ และจะปลุกให้เราตื่นในช่วง light sleep เพราะการตื่นในช่วงนี้จะทำให้เรารู้สึกเหมือนตื่นนอนด้วยตนเอง ซึ่งไม่เหมือนกับการตื่นนอนด้วยนาฬิกาปลุก

แอพพลิเคชั่นนี้เหมาะกับคนที่อยากตื่นนอนตอนเช้าอย่างสดชื่น หรือคนที่อยากรู้ว่ารอบการนอนหลับของเราเป็นอย่างไร ตอนเช้าที่รู้สึกว่าหลับไม่สนิทนั้น เมื่อคืนเราหลับไม่สนิทจริงๆ หรือไม่ ก็สามารถใช้แอพพลิเคชั่นนี้ช่วยดูการนอนหลับของเราได้

2 Pillow: Smart sleep tracking

แอพพลิเคชั่น Pillow เป็นมากกว่าแอพพลิเคชั่นบันทึกรอบการนอนหลับ เพราะแอพนี้ทำงานร่วมกับ Apple Watch ที่จะวัดอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อดูว่าการนอนหลับของเราเป็นอย่างไร นอกจากนี้แอพ Pillow ยังข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการนอนหลับให้เราได้อ่านภายในแอพพลิเคชั่น และยังมีเมนูนาฬิกาปลุกที่จะช่วยปลุกเราในเวลาที่เหมาะสมอีกด้วย

3 Relax Melodies: Sleep Sounds

แอพพลิเคชั่นนี้มีเสียงเพลงที่ช่วยในทำให้หลับสบายอยู่มากกว่า 100 เพลง ผู้ใช้งานสามารถมิกซ์เพลงขึ้นมาใหม่ในแบบที่ตัวเองชอบได้ ซึ่งเสียงดนตรีที่ได้ยินตอนหลับจะช่วยให้หลับสนิท หลับลึก และช่วยบรรเทาความเครียดได้อีกด้วย หากใครกำลังมีปัญหานอนหลับยาก ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าสู่ช่วงหลับลึก แนะนำให้ลองใช้แอพพลิเคชั่นนี้เลย

4 Tide: Sleep, Focus, Meditation

จากงานวิจัยพบว่า เสียงจากธรรมชาติ เช่น เสียงน้ำตก เสียงใบไม้พลิ้วไหวในป่า หรือเสียงฝนตก ช่วยบรรเทาความเครียดได้ แอพพลิเคชั่น Tide: Sleep, Focus, Meditation เป็นแอพที่มีเสียงธรรมชาติมากมาย เหมาะกับผู้ที่กำลังรู้สึกเครียด ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือมีความกังวล จนส่งผลต่อการนอนหลับ การได้ยินเสียงธรรมชาติ จะช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับสบายขึ้น

ทั้ง 4 แอพพลิเคชั่นเป็นแอพพลิเคชั่นฟรี ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ ใครที่กำลังมีปัญหา คือ ตอนกลางคืนไม่ยอมนอน ตอนเช้าไม่ยอมตื่น แนะนำให้ลองโหลด แอพช่วยการนอนหลับ เหล่านี้มาใช้ตอนนี้เลย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Are REM and Non-REM Sleep?. https://www.webmd.com/sleep-disorders/guide/sleep-101. Accessed June 6, 2018.

How does it work?. https://www.sleepcycle.com/. Accessed June 6, 2018.

Pillow. https://neybox.com/pillow-sleep-tracker-en. Accessed June 6, 2018.

Relax Melodies. https://relaxmelodies.com/marketing/landing/. Accessed June 6, 2018.

Tide: Sleep, Focus, Meditation https://itunes.apple.com/th/app/tide-sleep-focus-meditation/id1077776989?mt=8. Accessed June 6, 2018.

Stress Recovery during Exposure to Nature Sound and Environmental Noise. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2872309/. Accessed June 6, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

การนอนหลับผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร

ตื่นนอนแล้วเพลีย อาจเกิดมาจากปัจจัยที่คุณคาดไม่ถึงพวกนี้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา