backup og meta

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis)

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis)

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติบริเวณหูชั้นกลางที่เกิดจากการก่อตัวของหินปูน เสียงจึงไม่สามารถเดินทางจากหูชั้นกลางไปยังหูชั้นในได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยิน มีอาการเวียนศีรษะ

คำจำกัดความ

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) คืออะไร

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติบริเวณหูชั้นกลางที่เกิดจากการก่อตัวของหินปูน เสียงจึงไม่สามารถเดินทางจากหูชั้นกลางไปยังหูชั้นในได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยิน มีอาการวิงเวียนศีรษะ

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงแพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้เครื่องช่วยฟัง ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจต้องได้รับการผ่าตัด

พบได้บ่อยเพียงใด

ผู้ป่วยโรคหินปูนเกาะกระดูกหูมักจะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเพศหญิง ที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี

อาการ

อาการของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู

อาการหลักของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู คือการสูญเสียการได้ยิน ในระยะแรกคุณอาจสังเกตได้ว่าคุณได้ยินเสียงเบาลง และได้ยินเสียงเบาลงเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเริ่มจากการได้ยินเพียงข้างเดียว และในระยะเวลาต่อมาอาจสูญเสียการได้ยินเสียงทั้งสองข้าง รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนี้

  • วิงเวียนศีรษะ
  • สูญเสียการทรงตัว
  • หูอื้อ ได้ยินเสียงแว่วดังในหู

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis)

ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานในการระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรค โดยโรคดังกล่าวเกิดจากสะสมของหินปูนบริเวณหูชั้นกลาง ทำให้เสียงไม่สามารถผ่านบริเวณหูชั้นกลาง ไปสู่บริเวณหูชั้นในได้  และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหินปูนเกาะกระดูกหู มีดังนี้

  • กรรมพันธุ์  หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคหินปูนเกาะกระดูกหู นั้นแสดงว่าคุณอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว
  • การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหินปูนเกาะกระดูกหู ไปจนถึงการสูญเสียการได้ยินได้มากกว่าคนปกติ
  • เพศและอายุ  เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหินปูนเกาะกระดูกหูมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-30 ปี

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคหินปูนเกาะกระดูกหู

หากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติเกี่ยวกับปัญหาการได้ยินควรรีบไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทดสอบการได้ยินเสียงและซักถามประวัติผู้ป่วยรวมถึงสมาชิกในครอบครัวของคุณ  ในบางกรณีแพทย์อาจทำซีที สแกน  (Computerized Tomography Scan : CT Scan)  หรือการตรวจทางรังสีเพื่อดูความผิดปกติได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น

การรักษาโรคหินปูนเกาะกระดูกหู

หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงมาก แพทย์จะทำการทดสอบการได้ยินของคุณเป็นประจำ และแนะนำเครื่องช่วยฟัง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์จะทำการผ่าตัด โดยการใส่อุปกรณ์เทียมไว้ที่หูชั้นกลางเพื่อทำให้คลื่นเสียงเคลื่อนที่ไปที่หูชั้นใน จะทำให้ได้ยินชัดเจนขึ้น

หากคุณมีหินปูนเกาะกระดูกหูทั้งสองข้าง แพทย์จะทำการผ่าตัดข้างใดข้างหนึ่งก่อน หลังจากนั้นอีก 6 เดือนจึงจะทำการผ่าตัดอีกข้าง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาโรคหินปูนเกาะกระดูกหู  

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับโรคหินปูนเกาะกระดูกหู ทำได้โดยวิธี ดังต่อนี้

ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่รักษาเกี่ยวกับหูหรือนักโสตสัมผัสวิทยาอยู่บ่อย ๆ เพื่อรับการรักษาอย่างใกล้ชิด รวมถึงการใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อทำให้คุณได้ยินเสียงชัดเจนมากยิ่งขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Otosclerosis?. https://www.webmd.com/cold-and-flu/ear-infection/otosclerosis-facts#1. Accessed 02 July

What is otosclerosis?. https://www.healthyhearing.com/report/53072-Otosclerosis. Accessed 02 July

Otosclerosis. https://health.ucsd.edu/specialties/surgery/otolaryngology/areas-expertise/ear-center/Pages/otosclerosis.aspx. Accessed 02 July

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/07/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

คันหู คันจริง ไม่รู้เพราะอะไร รับมือยังไงถึงจะหาย

เอ๊ะ! ปวดหู แบบนี้รู้ไหมว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา