backup og meta

ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction)

ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction)

ท่อยูสเตเชียน เป็นท่อที่อยู่ภายในช่องหูที่เชื่อมต่อระหว่างโพรงจมูกหลังหูและหูชั้นกลาง มีหน้าที่หลักในการช่วยควบคุมระดับความดันในหู และระบายของเหลวที่อยู่ด้านในออก แต่ถ้าหากเกิดกรณีที่ ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ จนผลกระทบต่อการได้ยิน คุณอาจสามารถค้นหาสาเหตุเบื้องต้นได้ จากบทความของ Hello คุณหมอ นี้ที่นำมาฝากกันทุกคนได้เลยค่ะ

คำจำกัดความ

ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ คืออะไร

ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction ; ETD) คือ การที่ภายในหูชั้นกลางเกิดการอุดกั้นเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้ความดันอากาศที่ผ่านเข้าภายในหูเวลาบดเคี้ยวอาหาร กลืนอาหาร หรือหาว เพิ่มระดับขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการได้ยินเสียง และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น เช่น หูอื้อ ปวดหู

ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ พบได้บ่อยแค่ไหน

ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีอาการป่วยเป็นประจำ รวมไปถึงผู้ที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดินป่า นั่งเครื่องบิน

อาการ

อาการของ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ

อาการของ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ มีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงรุนแรง และอาการอาจแตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

โดยปกติ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ อาจหายไปได้เอง โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน แต่หากเป็นกรณีที่มีการติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการปวดหูนานเกิน 2 สัปดาห์ ก็ควรติดต่อแพทย์เพื่อทำการตรวจและการรักษาในทันที

สาเหตุ

สาเหตุของ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิด ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ มีดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อที่ไซนัส
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคหวัด
  • ความเปลี่ยนแปลงของความดันภายในหูจากการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ปีนเบา นั่งเครื่องบิน ขึ้นลิฟต์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ มีดังต่อไปนี้

นอกเหนือจากกิจกรรมที่กล่าวข้างต้น ผู้ที่มีประวัติทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วน โรคภูมิแพ้ ก็สามารถทำให้ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากมีอาจมีความเสี่ยงที่หูชั้นจากจะเกิดการอุดตันของไขมันและน้ำมูก

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ

แพทย์อาจเริ่มต้นด้วยการซักประวัติ พร้อมทำการทดสอบความสามารถในด้านการได้ยิน และตรวจภายในช่องหูด้วยชุดตรวจหูแบบหัตถการ (Operation Otoscope) เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชียน

การรักษา ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ

หากอาการไม่รุนแรงมากนัก การอุดตันของท่อจะค่อย ๆ ลดลง และหายไปได้เองภายในเวลาไม่นาน แต่ถ้ามีอาการระดับรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น เช่น ยาลดน้ำมูกแบบพ่นจมูก ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้

นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มี ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ อยู่บ่อยครั้ง จนสร้างความเจ็บปวดอย่างหนัก แพทย์ก็อาจแนะนำให้ผ่าตัดแก้วหู เพื่อระบายความดันอากาศ และของเหลวภายในหูออกไป

ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่อาจช่วยรับมืออาการของ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงหรือลดเวลาทำกิจกรรมที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ ทั้งการปีนเขา นั่งเครื่องบิน ดำน้ำ และอื่นๆ
  • หมั่นทำความสะอาดช่องหูด้วยสเปรย์น้ำเกลือ เพื่อช่วกำจัดสิ่งที่อาจสะสมและทำให้เกิดการอุดตันภายในช่องหู

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What You Should Know About Eustachian Tube Dysfunction. https://www.healthline.com/health/eustachian-tube-dysfunction. Accessed April 02, 2021

Blocked Eustachian Tubes. https://www.uofmhealth.org/health-library/uf9680 . Accessed April 02, 2021

What’s to know about eustachian tube dysfunction? https://www.medicalnewstoday.com/articles/319602 . Accessed April 02, 2021

The Anatomy of the Eustachian Tube. https://www.verywellhealth.com/what-is-the-eustachian-tube-1192115. Accessed April 02, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/04/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หูอื้อ ทําไง สาเหตุของหูอื้อ และวิธีบรรเทาอาการ

ขี้หูอุดตันปัญหาที่ไม่ควรละเลย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา