backup og meta

คนข้ามเพศ กับ โรคกระดูกพรุน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คนข้ามเพศ กับ โรคกระดูกพรุน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจสงสัยว่า การแปลงเพศเกี่ยวข้องอย่างไรกับ โรคกระดูกพรุน จริงๆ แล้วโรคกระดูกพรุน มีสาเหตุมาจากหลายอย่าง ฮอร์โมนเองก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ เมื่อมีการแปลงเพศ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน และคุณอาจมีคำถามว่าจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอมีคำแนะนำดีๆ มาฝาก

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คืออะไร

ในแต่ละช่วงของชีวิตคนเรา กระดูกจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อยๆ ในขณะที่กระดูกเก่าๆ ก็จะถูกทำลายลงเรื่อยๆ เช่นกัน กระบวนการเหล่านี้ ช่วยทำให้กระดูกซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และทำให้ร่างกายของเราโตขึ้น โดยปกติแล้วกระบวนการทำลายกระดูกจะเร็วกว่าการสร้างกระดูก แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนกระบวนการทำลายกระดูกจะเร็วกว่าปกติจนสร้างขึ้นมาใหม่ไม่ทัน ทำให้กระดูกเปราะบางและง่ายต่อการหัก จริงๆ แล้วโรคกระดูกพรุนสามารถเกิดได้กับทุกวัย แต่โดยทั่วไปแล้ว โรคกระดูกพรุนจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงวัยมากกว่า และที่สำคัญโรคนี้จะไม่มีสัญญาณเตือน เราจะไม่รู้ว่าเป็นโรคนี้ จนกว่ากระดูกเราจะหัก โดยทั่วไปแล้วโรคกระดูกพรุน กระดูกจะหักที่ข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลัง ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคนี้ก็มีสาเหตุมาจากหลายๆ อย่างแต่ก็ยังไม่สามารถหาเหตุผลที่แน่ชัดได้ว่าจริงๆ แล้วเกิดจากอะไร บางครั้งก็อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ

คนข้ามเพศกับโรคกระดูกพรุน เกี่ยวข้องกันอย่างไร 

ความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ  มวลความหนาแน่นของกระดูก ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายได้รับ ชาติพันธุ์ การออกกำลังกาย การบริโภคคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีส่วนทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ทั้งนั้น และอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนก็คือ ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนเพศมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกระดูก ไม่ว่าจะเป็น  ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองมีส่วนต่อการเจริญเติบโตของกระดูกในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น เมื่อเราโตขึ้นเรื่อยๆ ฮอร์โมนทั้งสองก็จะลดลงเรื่อยๆ ทำให้กระดูกเสื่อมลง ซึ่งกลุ่มคนข้ามเพศเมื่อจะทำการผ่าตัด จะได้รับยา ซึ่งยาบางตัวจะส่งผลให้ฮอร์โมนเหล่านี้ลดลง จนส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง

การป้องกัน โรคกระดูกพรุน

ปัญหาเรื่องโรคกระดูกพรุนในกลุ่มคนข้ามเพศ ส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจากเรื่องของฮอร์โมน ดังนั้นการป้องกันสามารถทำได้โดยการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนและเทสโทโรสเพื่อให้ระดับของฮอร์โมนอยู่ในระดับที่ปกติ แต่การรับฮอร์โมนต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น หรืออีกตัวช่วยง่ายๆ คือการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่ได้รับบุหรี่มือสอง หรือลด เลิกการสูบบุหรี่ ที่สำคัญเลือกออกกำลังกายที่เท้าทั้งสองอยู่ติดกับพื้น เช่น การยกน้ำหนัก เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความสมดุลของกระดูก และที่สำคัญต้องดูแล หมั่นเช็คร่างกายอยู่เป็นประจำ

การรักษา

การรักษาโรคกระดูกพรุนง่ายๆ คือต้องเริ่มจากการรักษาสุขภาพของตัวเอง โดยเริ่มจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการ และออกกำลังกายอย่างพอเหมาะพอดี เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและป้องกันกระดูกหัก นอกจากนี้หากต้องการอาหารเสริมที่บำรุงกระดูกอย่างแคลเซียมและวิตตามินดี ควรต้องขอคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำอย่างถูกต้องก่อนรับประทาน และที่สำคัญเมื่อเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วต้องตรวจเช็กกระดูกทุกๆ 1-2 ปีเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงที่ทำการรักษาไปว่าได้ผลหรือสำเร็จมากน้อยขนาดไหน หากการรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควรก็ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาต่อไป

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Trans people and osteoporosis
https://www.rainbowhealthontario.ca/wp-content/uploads/woocommerce_uploads/2014/08/Osteoporosis.pdf

Transgender (Trans) people and osteoporosis
https://theros.org.uk/media/99866/transgender-people-and-osteoporosis.pdf

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

ท่าออกกำลังกาย ที่สามารถช่วยโรคข้อเข่าเสื่อมของคุณได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา