backup og meta

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา คืออะไร และคุณจะรับมือด้วยวิธีอะไรได้บ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

    อาการปวดสะโพกร้าวลงขา คืออะไร และคุณจะรับมือด้วยวิธีอะไรได้บ้าง

    หากคุณรู้สึกปวดหลังส่วนล่างเมื่อลุกขึ้นจากเก้าอี้ คุณอาจมี อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sacroiliac Joint Dysfunction) อาการนี้พบได้ทั่วไปมากกว่าที่พวกเราคิด บทความนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการและวิธีรับมือกับโรคนี้

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

    อาการปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นโรคที่เกิดกับข้อต่อเชิงกราน ที่อยู่บริเวณสะโพก (Sacroiliac joint) อวัยวะส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการรองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบน ที่ส่งไปยังขาของคุณในขณะที่ยืนหรือเดิน จากการศึกษาพบว่า ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับอาการนี้มีถึงร้อยละ 15 ถึง 30 มีอาการ อาจรู้สึกปวดบริเวณสะโพก ที่อาจปวดร้าวลงไปยังต้นขา ก้น ง่ามขา หรือหลังส่วนบน

    โดยปกติ อาการหลักคืออาการปวดที่หลังส่วนล่าง ในขณะที่ยืนหรือลุกขึ้นในตอนเช้า ซึ่งมีสาเหตุมากมายที่อาจทำให้เกิดอาการนี้ เช่น การเล่นกีฬา การล้ม การวิ่ง ข้ออักเสบ อายุที่มากขึ้น หรือการตั้งครรภ์

    วิธีรับมือกับอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

    การรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ปกติแล้วสามารถทำได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูการเคลื่อนไหวปกติของข้อต่อ ซึ่งวิธีการดังต่อไปอาจจะช่วยได้

    การประคบเย็นหรือร้อนและการพัก

  • แพทย์จะแนะนำการรักษาเหล่านี้ คือ การใช้น้ำแข็งหรือแผ่นประคบเย็น ประคบบริเวณที่เจ็บเป็นเวลา 15 ถึง 20 นาที เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ และสามารถทำซ้ำได้เป็นเวลา 2 วันจนถึง 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอาการปวด นอกจากนี้ การใช้ความร้อนประคบหรืออาบน้ำอุ่น ก็สามารถบรรเทาอาการได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงหากอาการเฉียบพลันและรุนแรง
  • การใช้ยา

    • อาจใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ (NSAID) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือตามใบสั่งแพทย์

    การรักษาแบบไคโรแพรคติก (Chiropractic Treatment)

    • ผู้ทำการบำบัดจะใช้เทคนิค เช่น การจัดกระดูกด้านข้างลำตัว (Side-posture Manipulation) การใช้เตียงแบบพิเศษในการบำบัด (Block/ Drop Technique) รวมถึงวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการบรรเทาอาการอักเสบ การบำบัดประเภทนี้ใช้ได้ผล หากเกิดอาการข้อต่อติด แต่หากข้อต่อหลวม การบำบัดนี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง แพทย์จะใช้การรักษาที่เหมาะกับอาการของคุณ

    การใช้เครื่องมือหรือเหล็กดามประคอง (Braces)

    • อาจใช้เข็มขัดรัดรอบเอวและดึงให้ตึง เพื่อประคองส่วนที่เกิดอาการ การรักษาประเภทนี้สามารถช่วยเสริมสร้างการทำหน้าที่ของอวัยวะเมื่อข้อต่อหลวมได้

    การทำกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย

    • สามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของข้อต่อ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดได้ การบำบัด ประกอบด้วย การใช้อัลตร้าซาวนด์ การรักษาด้วยความเย็น ความร้อน การยืดและการนวด

    การฉีดยา

    • แพทย์อาจใช้การฉีดยาคอร์ติโซน (Cortisone) เพื่อลดอาการอักเสบ หรือในบางกรณี อาจใช้ส่วนผสมที่เป็นกลางรวมถึงน้ำเกลือ ในการฉีด การรักษาประเภทนี้ช่วยกระชับเอ็นส่วนที่หลวม

    โดยทั่วไป การรักษาเหล่านี้ใช้สำหรับการบรรเทาอาการอักเสบ หรือปวดบริเวณข้อต่อ อย่างไรก็ตามถ้ามันไม่ได้ผล และคุณยังรู้สึกปวดอยู่ หมออาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด ซึ่งจะมีการใช้หมุดและการปลูกถ่ายเพื่อเชื่อมกระดูกบริเวณใกล้เคียง การผ่าตัดนี้เรียกว่า การผ่าตัดเชื่อมกระดูกข้อต่อ (SI joint fusion)

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา