backup og meta

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบริโภคคาเฟอีน ได้หรือไม่?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบริโภคคาเฟอีน ได้หรือไม่?

    ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบริโภคคาเฟอีน ได้บ้างในปริมาณเล็กน้อย เนื่องจากมีงานวิจัยที่เผยแพร่ใน Nephrology Dialysis Transplantation ให้ข้อมูลว่า การบริโภคคาเฟอีนมากสามารถลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไตได้ สำหรับ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบริโภคคาเฟอีนจะส่งผลต่อผู้ที่เป็นโรคไตอย่างไรบ้าง และ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบริโภคคาเฟอีน ได้หรือไม่ ไปอ่านพร้อม Hello คุณหมอ กันเลยค่ะ

    โรคไตเรื้อรัง

    โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease: CKD) เป็นภาวะที่ไตค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการกรองน้ำและของเสียออกจากเลือด และเมื่อเวลาผ่านไป โรคไตเรื้อรังจะนำไปสู่ภาวะไตวาย หรือโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end-stage renal disease) ทำให้การปลูกถ่ายไต หรือการฟอกไตเป็นทางเลือกเดียวในการรักษา

    กาแฟ ส่งผลต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอย่างไร

    งานวิจัยจากศูนย์โรงพยาบาลนอร์ท ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ที่เผยแพร่ใน Nephrology Dialysis Transplantation ให้ข้อมูลว่า จากการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังเกือบ 5,000 ราย ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับต่อวันมีแนวโน้มว่าจะสามารถ ลดอัตราการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร

    ทีมวิจัยได้ติดตามข้อมูลของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังชาวอเมริกันจำนวน 4,863 ราย ตั้งแต่ปี 1999 ถึงปี 2010 แม้ว่าจะพิจารณาปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ เช่น อายุ เพศ ชาติพันธุ์ การสูบบุหรี่ อาหาร และโรคอื่นๆ ยังคงพบว่าการบริโภคคาเฟอีนสามารถลดการเสียชีวิต แม้ว่างานวิจัยจะไม่สามารถพิสูจน์เหตุและผลได้ แต่พบว่าปริมาณคาเฟอีนที่เพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับอายุคาดเฉลี่ย (life expectancy ) ที่เพิ่มขึ้นในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง บางทีอาจเป็นเพราะกาแฟอาจช่วยให้หลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้นผ่านไนตริกออกไซด์ (nitric oxide)

    การบริโภคคาเฟอีนทุกวันของผู้เข้าร่วมการวิจัย ได้รับการประเมินที่พื้นฐานการศึกษา และกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามข้อมูลเหล่านี้

    • ควอร์ไทล์ที่ 1 คือผู้ที่บริโภคคาเฟอีน 29.5 มิลลิกรัมต่อวัน
    • ควอร์ไทล์ที่ 2 คือผู้ที่บริโภคคาเฟอีน 30.5-101 มิลลิกรัมต่อวัน
    • ควอร์ไทล์ที่ 3 คือผู้ที่บริโภคคาเฟอีน 101.5-206 มิลลิกรัมต่อวัน
    • ควอร์ไทล์ที่ 4 คือผู้ที่บริโภคคาเฟอีน 206.5-1,378.5 มิลลิกรัมต่อวัน

    นักวิจัยได้ศึกษาอัตราการเสียชีวิตของผู้เข้าร่วมการวิจัยแต่ละราย และความสัมพันธ์กับการบริโภคคาเฟอีน ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างในควอร์ไทล์ที่ 1 พบว่ากลุ่มตัวอย่างในควอร์ไทล์ที่ 4 มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 24 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างในควอร์ไทล์ที่ 2 และ 3 มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 12 และร้อยละ 22 ตามลำดับ ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า การเพิ่มปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับต่อวัน มีแนวโน้มว่าจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

    ข้อควรระวัง

    • ระดับโพแทสเซียมควรอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคไตเรื้อรังในระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรง หรือได้รับบาดเจ็บที่ไตเฉียบพลัน ควรกินโพแทสเซียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน และถ้าคุณดื่มกาแฟมากกว่า 1 แก้วต่อวัน แต่ละแก้วจะมีโพแทสเซียม 116 มิลลิกรัม
    • ควรดื่มกาแฟดำ กาแฟดำมีปริมาณโซเดียม โปรตีน ฟอสฟอรัส แคลอรี่ และคาร์โบไฮเดรตต่ำ ดังนั้นคุณอาจไม่ต้องกังวลเวลาดื่มกาแฟดำ
    • ระวังคาเฟอีน คาเฟอีนอาจทำให้ความดันโลหิตสูงฉับพลันซึ่งไม่ดีต่อบางคน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
    • นม ครีมเทียม และน้ำเชื่อมในกาแฟ มีผลต่อผู้ที่เป็นโรคไตหรือไม่ คำตอบคือสิ่งเหล่านี้มักจะสร้างปัญหาให้กับผู้ที่เป็นโรคไต มากกว่าการดื่มกาแฟดำเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การเติมนม ครีม และน้ำเชื่อม อาจเพิ่มระดับฟอสฟอรัสและระดับโพแทสเซียม  เนื่องจากครีมมีสารเคมีฟอสเฟตที่สามารถดูดซึมได้ง่าย ดังนั้นถ้าคุณเป็นโรคไต ควรระวังการบริโภคกาแฟใส่นมและส่วนผสมอื่นๆ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา