backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

การบริโภค อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้จริงหรือไม่

การบริโภค อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้จริงหรือไม่

อาหารออร์แกนิกเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีมานี้ และยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ลดลง หลายๆ คนมีความเชื่อว่าการรับประทาน อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง และมีส่วนในการช่วยให้สุขภาพดีขึ้น มีความปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่า แถมยังมีรสชาติที่ดีกว่า วันนี้ Hello คุณหมอ อยากจะชวนทุกคนมาหาคำตอบเรื่อง อาหารออร์แกนิก ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งกันได้จริงหรือไม่

ทำความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิก

คำว่า ออร์แกนิก (Organic) เป็นคำที่ใช้เรียกกระบวนการการผลิตอาหารรูปแบบหนึ่ง ที่มีการปลูกหรือเพาะเลี้ยงโดยไม่ใช้สารเคมี ฮอร์โมนหรือสารกำจัดวัชพืชศัตรูพืชต่างๆ และไม่ใช้พืชที่มี การตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) ในการเพาะปลูก นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากออร์แกนิก ยังไม่มีส่วนผสมของสารกันบูด สีผสมอาหารและผงชูรสอีกด้วย

การปลูกพืชออร์แกนิกมักจะใช้ปุ๋ยที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยที่หมักจากซากพืช มูลสัตว์ ซึ่งปุ๋ยคอกที่ใช้ก็จะต้องได้มาจากมูลสัตว์ที่มีการเลี้ยงแบบออร์แกนิกด้วย ไม่ฉีดฮอร์โมนหรือให้ยาปฏิชีวนะใดๆ นอกจากประโยชน์ต่อสุขภาพที่จะได้รับจากการรับประทานอาหารออร์แกนิกแล้ว การทำเกษตรแบบออร์แกนิกยังมีส่วนช่วยให้คุณภาพดินและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอีกด้วย อาหารออร์แกนิกก็มีมากมายหลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งแบบที่แปรรูปและะผัก ผลไม้แบบสด ไม่ว่าจะเป็น ผลไม้ ข้าว นมหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้ว

ความเกี่ยวข้องระหว่างสารกำจัดศัตรูพืชกับโรคมะเร็ง

สารกำจัดศัตรูพืชเป็นสารที่ถูกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้พืชเกิดเชื้อรา รวมไปถึงป้องกันแมลงและศัตรูพืชอื่นๆ ไม่ให้เข้าทำลาย กัดกินพืชที่เราปลูก หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า สารกำจัดศัตรูเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้สุขภาพแย่ลง

สารเคมีบางชนิดที่ใช้ในเชิงเกษตร มีส่วนเกี่ยวข้องทีทำให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่รับรองหรือมีหลักฐานยืนยันมากเพียงพอ ว่าสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืช มีส่วนทำให้เกิดโรคมะเร็งได้จริงๆ เพราะในสารกำจัดศัตรูพืชมีสารเคมีหลาหลายชนิดเป็นส่วนประกอบและปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งก็มาจากหลายปัจจัยเช่นกัน ทำให้เป็นการยากที่จะระบุว่าสารกำจัดศัตรูพืชมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม สารเคมีที่ตกค้างในผักและผลไม้ ก็มีผลเสียต่อสุขภาพอยู่ไม่น้อย

อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้จริงหรือไม่

นักวิจัยสรุปไว้ว่า การบริโภคอาหารออร์แกนิกอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ ถึงแม้ว่าจะยังมีงานวิจัยไม่มากเพียงพอ ที่จะรับรองว่าอาการออร์แกนิกมีส่วนช่วยในการลดการเกิดโรคมะเร็ง แต่ว่าการเลือกรับประทานอาหารออร์แกนิก ถือเป็นวิธีการป้องกันโรคมะเร็งที่ดีอีกรูปแบบแบบหนึ่ง

แต่ไม่ใช่ว่าการบริโภค อาหารออร์แกนิกลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้เลยทีเดียว ยังมีผู้ที่บริโภคอาการออร์แกนิก ป่วยเป็นโรคมะเร็งเช่นกัน อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า มีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ดังนั้นพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันไปในแต่คน อาจส่งผลให้เกิดความสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้

ดังนั้นจริงๆ แล้วการรับประทานอาหารออร์แกนิก ไม่ใช่เรื่องเดียวที่จะทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้เพราะยังมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้อีก ดังนั้นเหตุผลที่จะเลือกรับประทาน อาการออร์แกนิกเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็ง อาจจะไม่เหมาะนัก แต่ควรเลือกเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Eating Organic Foods May Help Lower Your Cancer Risk

https://www.healthline.com/health-news/eating-organic-foods-can-reduce-your-cancer-risk

Does Eating Organic Foods Decrease Cancer Risk?

https://www.cancernetwork.com/patient-care/does-eating-organic-foods-decrease-cancer-risk

Eating organic food linked with lower cancer risk

https://www.nhs.uk/news/cancer/eating-organic-food-linked-lower-cancer-risk/

Eating More Organic Food May Help Prevent Cancer, Study Says

https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/diet/organic-food-tied-lower-cancer-risk-study-finds/

Position statement – Pesticide and cancer

https://wiki.cancer.org.au/policy/Position_statement_-_Pesticides_and_cancer

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา