การกินนม ควรเลือกนมที่ผลิตจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และยังไม่หมดอายุ แต่หาก กินนมหมดอายุ ทั้งด้วยความจำเป็น หรืออุบัติเหตุ ก็อาจทำให้หลายคนเป็นกังวลว่า ดื่มแล้วจะเป็นอันตรายหรือไม่ ทั้งนี้ การดื่มนมที่หมดอายุแล้ว อาจไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากนมนั้นเพิ่งหมดอายุได้ไม่นาน และเก็บรักษาอย่างดี อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบแหล่งผลิตและวันหมดอายุบนบรรจุภัณฑ์นมให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อหรือบริโภค เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ และหากกินนมหมดอายุแล้วเกิดความผิดปกติบางประการ เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม
[embed-health-tool-bmi]
ตัวเลขต่างๆ บนผลิตภัณฑ์บอกอะไรบ้าง
ตัวเลข ที่พิมพ์ลงผลิตภัณต่างๆ นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวันผลิต วันหมดอายุ หรือว่าตัวเลขกำกับอื่นๆ ซึ่งตัวเลขมากมายเหล่านี้อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนเกี่ยวกับตัวเลขเหล่านั้น ว่าเป็นตัวเลขอะไรกันแน่ แถมบางผลิตภัณฑ์อาจจะมีตัวเลขติดอยู่ แต่ไม่ได้บอกว่าตัวเลขนั้นเป็นตัวเลขอะไร ก็จะยิ่งสร้างความสับสนให้ผู้บริโภคมากขึ้นไปอีก แต่โดยปกติแล้วผลิตภัณฑ์นั้นจะมีตัวเลขอยู่ 3 แบบ คือ
- ผลิตภัณฑ์นี่จะมีคุณภาพดีที่สุดในช่วงวันที่เท่าไรถึงวันที่เท่าไรบ้าง
- ขายโดย เป็นวันที่จะช่วยให้ร้านค้าสามารถจัดสินค้าได้อย่างถูกต้องว่าควรนำสินค้าชิ้นนี้มาวางขายเมื่อไรที่คุณภาพของสินค้ายังคงดีอยู่
- ใช้โดย เป็นตัวเลขที่ระบุวันสุดท้ายที่ผลิตภัณฑ์นั้นจะยังคงมีคุณภาพสูงสุด
ดังนั้น วันที่พิมพ์เป็นตัวเลขที่ช่วยให้ทราบว่า เมื่อใดคุณภาพของสินค้าจะเริ่มลดลง อย่างไรก็ตามวันที่นั้น มันไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจะหมดอายุและไม่ปลอดภัย ที่จะดื่มทันทีหลังจากวันที่ดังกล่าว
กินนมหมดอายุ ภายในกี่วันถึงจะยังปลอดภัย
หลายๆ คนเมื่อเห็นว่านมหมดอายุก็ต้องเก็บทิ้งอย่างแน่นอน ใครกันจะเสี่ยงดื่มนมที่ระบุว่าหมดอายุแล้ว เพราะดีไม่ดี อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ ส่วนใหญ่นมที่ขายในห้างสรรพสินค้าหรือว่าร้านสะดวกซื้อทั่วๆ ไป มักจะเป็นนมที่ถูกพาสเจอร์ไรส์มาอย่างดี ซึ่งเป็นวิธีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการให้ความร้อนกับนม เพื่อทำลายแบคทีเรียที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น เชื้ออีโคไล (Escherichia coli (E.coli)) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สร้างสารพิษ ซึ่งทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของคนได้ เชื้อลิสทีเรีย (Listeria) และซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งกระบวนการฆ่าเชื้อเหล่านี้จะช่วยยืดอายุให้นมสามารถอยู่ได้นานขึ้น 2-3 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดได้ ยังคงมีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่ยังคงอยู่และเติบโตต่อไป จนทำให้นมเสียได้
จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า อุณหภูมิในตู้เย็น มีผลอย่างมากต่อระยะเวลาที่นมจะยังสามารถคงอยู่ได้ จนถึงวันที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ เพียงแค่การลดอุณหภูมิของตู้เย็น จาก 6 ° C เป็น 4 ° C ก็จะช่วยให้การเก็บรักษานมนั้นยาวนานขึ้นได้ถึง 9 วัน แม้จะยังไม่มีคำแนะนำใดๆ แต่งานวิจัยส่วนใหญ่กล่าวว่า ตราบใดที่เรายังไม่ได้เปิดขวดนมนั้นเลย นมขวดนั้นก็จะสามารถอยู่ในสภาพที่ดีได้เพิ่มขึ้น 5-7 วัน จากวันที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญเลย เราไม่ควรทิ้งนมไว้ที่อุณภูมิห้องเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง
ในทางตรงกันข้ามนมดิบที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ จะมีอายุในการเก็บน้อยกว่า ดังนั้นการดื่มนมประเภทนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบอาหารได้ แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะรับประทานนมควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนดื่มเสมอ ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ว่าบวมหรือไม่ รสชาติของนมเปลี่ยนไป มีรสเปรี้ยวของการเน่าเสีย หรือเนื้อสัมผัสมีการเปลี่ยนไปหรือเปล่า
วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้นมอยู่ได้นานขึ้น
จริงๆ แล้วผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม หากบริโภคตามวันและเวลาที่ระบุจะได้คุณภาพและสารอาหารที่มีคุณภาพสูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหากมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธี เราก็สามารถยืดอายุการใช้งานของมันได้นานขึ้น เคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้นมเสียได้เร็ว
- รักษาอุณหภูมิของตู้เย็นให้อยู่ระหว่าง 3 ° C และ 4 ° C
- เก็บนมเข้าตู้เย็นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แทนที่จะวางไว้นอกตู้เย็นก่อน
- หลังจากเทนมใส่แล้วแล้ว ปิดฝาอย่างแน่นหนาและนำกล่องนมกลับไปเก็บยังตู้เย็นในทันที
ในขณะที่นมสามารถแช่แข็งได้นานถึง 3 เดือนการแช่แข็งและการละลายต่อไปอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสัมผัสและสีที่ไม่พึงประสงค์ ที่กล่าวว่าจะปลอดภัยที่จะดื่ม
จะบอกได้อย่างไร ว่านมนั้นปลอดภัย
จริง ๆ แล้ววันที่ที่ระบุบนผลิตภัณฑ์นมก็ไม่ได้บ่งบอกถึงความปลอดภัยเสมอไป ดังนั้นก่อนที่จะบริโภคนม หรือ อาหารใดๆ คุณต้องตรวจสอบผลิภัณฑ์นั้นอย่างรอบคอบว่าบรรจุภัณฑ์ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีรอยขาด บุบหรือไม่ เมือเปิดออกมาแล้ว อาหารในบรรจุภัณฑ์อยู่ในสภาพดี พอที่จะสามารถบริโภคได้หรือไม่ โดยตรวจสอบจากกลิ่น เนื้อสัมผัส และรสชาติ เมื่อนมบูดมักจะมีกลิ่นเปรี้ยวที่แตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากกรดแลคติคที่ผลิตโดยแบคทีเรีย สัญญาณของการเน่าเสียอื่น ๆ รวมถึงมีสีเหลืองเล็กน้อยและเนื้อจับตัวกันเป็นก้อน