backup og meta

เหล้า มีทั้งประโยชน์และโทษ ดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรให้พอดี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 22/03/2024

    เหล้า มีทั้งประโยชน์และโทษ ดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรให้พอดี

    การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มมึนเมาอย่างแอลกอฮอล์ มีทั้งประโยชน์และโทษต่อร่างกาย หากดื่มมากเกินไป การดื่มเหล้าจะกลายเป็นอันตรายต้นเหตุของการเกิดโรคได้หลากหลายชนิด การดื่มแอลกอฮอล์จึงสามารถดื่มได้ หากดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป การดื่มเหล้าจึงมีข้อควรระวังที่ต้องพิจารณาให้ดี

    ประโยชน์ของการดื่มเหล้า

    จากการศึกษา American College of Cardiology’s 70th Annual Scientific Session พบว่า การดื่มในปริมาณที่พอเหมาะอาจดีต่อหัวใจ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และลดระดับความเครียดลงได้ ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจลดลง โดยแนะนำปริมาณแอลกอฮอล์ต่อวัน ให้ผู้หญิงดื่ม 1 แก้ว ส่วนผู้ชายดื่ม 2 แก้ว ก็เพียงพอ และหากต้องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรเลือก ไวน์แดง มากกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ ในไวน์แดงมีสารที่ชื่อว่า Resveratrol อาจช่วยลดไขมันในเลือดได้

    โทษของแอลกอฮอล์

    แม้ว่าการดื่มเหล้าจะมีประโยชน์อยู่บ้าง แต่หากมีปริมาณแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เฉพาะในประเทศไทยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพลำดับที่ 1 เกี่ยวข้องกับโรคและการบาดเจ็บกว่า 60 ประเภท

    ดื่มเหล้าเป็นอันตรายต่อผู้อื่น

    การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป ส่งผลให้ขาดสติ ขาดความยับยั้งชั่งใจ เกิดการทะเลาะวิวาทได้ง่าย อาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวได้เช่นกัน เพราะระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความคิดและการตัดสินใจผิดไปจากเดิม นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อระบบประสาท ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะขณะมึนเมาจึงควบคุมรถได้ยากเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ตนเองและผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตได้

    ดื่มเหล้าเป็นอันตรายต่อตัวเอง

    การดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อสุขภาพและร่างกายของผู้ดื่ม โดยแอลกอฮอล์เป็นพิษต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น 

    • ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด 
    • ส่งผลต่อสมอง เช่น หลอดเลือดสมองตีบ เลือดออกในเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง 
    • ส่งผลต่อตับ เช่น ไขมันสะสมในเนื้อตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง ตับวาย หรือเกิดมะเร็งตับ  
    • เสี่ยงต่อโรคมะเร็งในระบบต่าง ๆ เช่น ช่องปากคอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ ไส้ตรง ตับ ตับอ่อน เต้านม และต่อมลูกหมาก
    • ทำให้โรคประจำตัวเดิมรุนแรงขึ้นได้ เช่น  โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคสมอง โรคไต โรคตับ
    • เพิ่มความเสี่ยงโรคทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า และโรคไบโพล่าร์

    วิธีเลิกเหล้าให้ปลอดภัย

    สำหรับผู้ที่ติดสุราไม่ควรเลิกเหล้าด้วยการหยุดทันที เพราะจะทำให้เกิดอาการขาดเหล้าหรือลงแดงได้ โดยอาการดังกล่าว ได้แก่

    1. ตัวสั่น มือสั่น
    2. คลื่นไส้ อาเจียน
    3. อ่อนเพลีย
    4. ชัก
    5. ประสาทหลอน
    6. สับสน
    7. หงุดหงิด
    8. นอนไม่หลับ

    การเลิกเหล้าที่เหมาะสม สามารถทำได้ ดังนี้

    1. ค่อย ๆ ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อวันลง
    2. จิบเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช้า ๆ โดยดื่มน้อยกว่า 1 แก้วต่อชั่วโมง
    3. ดื่มเหล้าสลับกับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
    4. ขณะที่ดื่มเหล้าควรรับประทานอาหารควบคู่ไปด้วย ไม่ควรดื่มเหล้าในขณะที่ท้องว่าง
    5. ทำเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างต่อเนื่อง 1 สัปดาห์
    6. ลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงเรื่อย ๆ จนหยุดดื่มในที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 22/03/2024

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา