โรคเหงาหลับ (Sleeping sickness) โรคเขตร้อนอันตราย ที่แฝงมาพร้อมกับแมลงวัน
เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะรู้กันว่า แมลงวันนั้นนอกจากจะคอยสร้างความรำคาญ มาตอมอาหารที่เรารับประทานแล้ว ยังเป็นหนึ่งในพาหะนำโรคอันตรายหลายๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็น อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ หรือโรคที่เกิดจากพยาธิและเชื้อไวรัสต่างๆ แต่มีอีกหนึ่งโรคที่แฝงมาพร้อมกับแมลงวันที่หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคย อย่าง โรคเหงาหลับ หนึ่งในโรคเขตร้อนที่มีพาหะเป็นแมลงวันที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต [embed-health-tool-heart-rate] โรคเหงาหลับ คืออะไร โรคเหงาหลับ (Sleeping sickness) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า โรคแอฟริกันทริพาโนโซม (African trypanosomiasis) เป็นหนึ่งในโรคเวชศาสตร์เขตร้อน ที่เกิดขึ้นจากเชื้อปรสิตที่มีชื่อว่า Trypanosoma brucei rhodesiense ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โรคเหงาหลับนั้นสามารถแพร่กระจายสู่กันได้ ผ่านทางพาหะนำโรคอย่าง แมลงวันเซทซี (Tsetse fly) แมลงวันชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้เฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น ในทุกๆ ปี จะมีรายงานพบผู้ป่วยโรคเหงาหลับมากกว่าหลายร้อยราย และโรคนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา หรือกับผู้ที่เดินทางไปยังทวีปแอฟริกาก็ได้ อาการของโรคเหงาหลับ อาการของโรคเหงาหลับนั้นมักจะปรากฏให้เห็นภายใน 1-3 สัปดาห์หลังจากที่โดนแมลงวันเซทซีกัด โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ เป็นไข้ ปวดหัวอย่างรุนแรง อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ต่อมน้ำเหลืองบวม รู้สึกเหนื่อยล้า หรืออ่อนแรงอย่างมาก ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ นอนไม่หลับ ง่วงนอนในเวลากลางวัน ผื่นผิวหนัง มีตุ่มเหมือนถูกแมลงกัด หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาการติดเชื้อเหล่านี้อาจจะรุนแรงขึ้น และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน กลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคเหงาหลับ แมลงวันเซทซีที่เป็นพาหะนำโรคเหงาหลับนั้น […]