backup og meta

สาเหตุของโรคปอดบวม ที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน มีอะไรบ้าง

สาเหตุของโรคปอดบวม ที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน มีอะไรบ้าง

โรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ สามารถพบได้มากในทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเป็นทารก เด็กเล็ก รวมไปถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เพราะ ปอดบวม เป็นสิ่งที่เราทุกคนคาดเดาไม่ได้ว่าวันใดเราจะต้องเผชิญกับมัน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลถึง สาเหตุของโรคปอดบวม เบื้องต้นเอาไว้ให้ทุกคนในบทความนี้แล้ว

สาเหตุของโรคปอดบวม มาจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ อาจมาจากเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัสในอากาศที่มักเข้าผ่านระบบทางเดินหายใจ เมื่อสูดอากาศเข้าไป จนสะสมอยู่ภายในถุงลมทำให้มีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นปอดบวม ปอดอักเสบ ได้นั่นเอง โดยเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่พบได้บ่อยที่สุดนั้น มีดังนี้

  • แบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae
  • สิ่งมีชีวิตคล้ายแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า Mycoplasma Pneumoniae
  • เชื้อราในดิน และมูลสัตว์
  • ไวรัสโควิด-19 (COVID-19)

ที่สำคัญเชื้อไวรัสข้างต้นยังสามารถแพร่กระจายติดต่อไปยังบุคคลอื่น ๆ ได้ จากการได้รับละอองน้ำลายที่ลอยฟุ้งอยู่บนอากาศ ผ่านการไอ จาม หากเมื่อใดที่คุณรับเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแล้ว กรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสชนิดรุนแรง ก็สามารถทำให้คุณเผชิญกับโรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ ได้ง่ายขึ้น และค่อนข้างเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างมาก

สัญญาณเตือนที่ คุณรีบเข้าพบคุณหมอ

อาการของโรคปอดบวมสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการรับเชื้อภายใน 24-48 ชั่วโมง หรืออาจมากกว่านั้นตามการทำงานระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคุณ โดยทั่วไปอาการของ ปอดอักเสบ นั้น มักจะทำให้คุณมีอาการหายใจลำบาก อาการไอ เป็นไข้ ราวกับอาการไม่สบาย และไข้หวัด แต่หากเมื่อใดที่คุณมีอาการรุนแรง ดังต่อไปนี้ อาจต้องรับเข้าวินิจฉัยจากแพทย์ในทันที

  • ไอรุนแรง และไอเป็นเลือด
  • หายใจถี่เร็ว
  • เหนื่อยล้าง่าย หมดแรง
  • เหงื่อออกมาก
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน
  • ไข้ขึ้นสูงกว่า 39 องศา
  • เจ็บหน้าอก
  • รับประทานอาหารลำบาก

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะมีแนวโน้มเผชิญกับอาการรุนแรงได้มากกว่าบุคคลทั่วไป และอาจส่งผลให้ภาวะหัวใจล้มเหลว มักอยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่อายุ 65 ปี และเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ รวมถึงผู้ที่มีภาวะสุขภาพเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

การรักษา และการป้องกัน โรคปอดบวม

หากวินิจฉัยแล้วว่าเชื้อไวรัสลงไปสู่ปอดของคุณจน ปอดอักเสบ แพทย์อาจดำเนินการรักษาตามอาหาร และเชื้อไวรัสที่พบเจอ ด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น  ยาแก้ไข ยาลดไข้ ยาแก้ปวด  ยาต้านเชื้อรา ทั้งในรูปแบบการรับประทาน หรือการฉีดของเหลวผ่านทางหลอดเลือดดำ แต่สำหรับผู้ป่วยอาการหนัก แพทย์อาจต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และออกซิเจนให้คุณ พร้อมติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

นอกจากคุณจะรับการรักษาจากแพทย์ ถึงอย่างไรคุณก็ควรที่จะดูแลตนเองให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดอาการรุนแรงจากโรคปอดบวม หรือป้องกันให้ห่างไกลจากโรคปอดอักเสบ ไม่ให้กลับเข้ามาทำลายสุขภาพปอดอีกครั้ง ตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนี้

  • ดื่มน้ำในปริมาณมาก
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หยุดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด โดยสามารถขอรับการบำบัดเลิกบุหรี่ได้จากแพทย์
  • ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม เป็นประจำตามกำหนด

ช่วงอายุที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน มักเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2-65 ปีขึ้นไป แต่อาจเป็นการได้รับวัคซีนคนละชนิด ที่แพทย์เห็นว่าปลอดภัย และเหมาะสมที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pneumonia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pneumonia/symptoms-causes/syc-20354204. Accessed July 23, 2021

Pneumonia. https://www.nhs.uk/conditions/pneumonia/. Accessed July 23, 2021

ปอดอักเสบ (Pneumonia) https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=21. Accessed July 23, 2021

What you should know about pneumonia. https://www.medicalnewstoday.com/articles/151632 . Accessed July 23, 2021

Pneumonia.  https://www.webmd.com/lung/understanding-pneumonia-basics. Accessed July 23, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/07/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคปอดบวม กับความเข้าใจผิด ที่หลายคนอาจไม่รู้

โรคปอดบวมจากการสำลัก มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา