backup og meta

น้ำมูกใส เกิดจากอะไร และวิธีบรรเทาอาการน้ำมูกไหลที่ควรรู้

น้ำมูกใส เกิดจากอะไร และวิธีบรรเทาอาการน้ำมูกไหลที่ควรรู้

น้ำมูก คือ เมือกที่ผลิตจากต่อมสร้างน้ำมูกในเยื่อบุจมูก มีหน้าที่ช่วยคงความชุ่มชื้นให้กับโพรงจมูกและไซนัส ทั้งยังช่วยดักจับและป้องกันไม่ให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นละออง แบคทีเรีย ไวรัส เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจผ่านทางโพรงจมูกได้ หากภายในจมูกแห้งอาจทำให้ร่างกายเสี่ยงติดเชื้อได้มากขึ้น ร่างกายสามารถผลิตน้ำมูกได้วันละประมาณ 2 ลิตร และน้ำมูกที่ไหลออกมาส่วนใหญ่มักมีลักษณะเป็น น้ำมูกใส ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากไข้หวัด หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม การทราบสาเหตุที่ทำให้มีน้ำมูกใส อาจช่วยให้สามารถหาวิธีลดน้ำมูก และบรรเทาอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

น้ำมูกใส เกิดจากอะไร

น้ำมูกที่สีใส มักประกอบด้วยน้ำ แอนติบอดี โปรตีน และเกลือ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด เพราะเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางโพรงจมูก อาจกระตุ้นให้เยื่อบุจมูกอักเสบ จนมีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมา แต่น้ำมูกใสก็อาจเป็นสัญญาณของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้เช่นกัน เนื่องจากเมื่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ละอองเกสร เข้าสู่โพรงจมูก อาจไปกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า ฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ เช่น มีผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ เยื่อบุจมูกอักเสบ จาม คัดจมูก รวมถึงกระตุ้นให้ต่อมสร้างน้ำมูกผลิตน้ำมูกใส ๆ ออกมาด้วย

น้ำมูกใส อาจเกิดจากภาวะหรือปัจจัยเหล่านี้ได้เช่นกัน

  • อยู่ในสภาพอากาศแห้ง
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มน้ำน้อยเกินไป
  • ดื่มเครื่องดื่มที่อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาต้านการอักเสบอย่างแอสไพริน ยาลดความดัน ยาขยายหลอดเลือด ยารักษาอาการทางจิต ยากดภูมิคุ้มกัน ยาหดหลอดเลือดชนิดพ่นจมูก ยาต้านไทรอยด์ ยารักษาต้อหิน ฮอร์โมนทดแทน

วิธีบรรเทาอาการน้ำมูกไหล

โดยปกติแล้ว ร่างกายจะผลิตน้ำมูกวันละประมาณ 2 ลิต และส่วนใหญ่น้ำมูกใสจะไหลลงคอ หรือถูกกลืนลงกระเพาะอาหาร แต่ในบางครั้ง ก็อาจมีน้ำมูกใสไหลออกมามากเกินไป จนต้องคอยเช็ด หรือสั่งน้ำมูกออก เพื่อไม่ให้เลอะ หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม วิธีเหล่านี้ อาจช่วยลดน้ำมูก หรือบรรเทาอาการน้ำมูกไหลได้

  • การใช้ยา 

    • ยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น ยาไกวเฟนิซิน (Guaifenesin) ซึ่งช่วยลดเสมหะหรือน้ำมูก บรรเทาอาการคัดจมูก และทำให้หายใจคล่องขึ้น ยาฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) ซึ่งเป็นยาหดหลอดเลือด ช่วยให้น้ำมูกลดลง และบรรเทาอาการคัดจมูก
    • ยาที่คุณหมอสั่งจ่าย เช่น ยาขับเสมหะหรือละลายเสมหะ ในรูปแบบน้ำเกลือความเข้มข้นสูง (Hypertonic saline) หรือยาพ่นจมูก และหากมีน้ำมูกเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คุณหมออาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • การดูแลตัวเอง 

    • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อช่วยระบายน้ำมูก ทำให้โพรงจมูกสะอาดขึ้น และอาจช่วยป้องกันเชื้อโรคได้
    • เพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ เพื่อไม่ให้โพรงจมูกแห้งเกินไป ทั้งยังอาจช่วยลดน้ำมูกได้ด้วย
    • ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ โดยอาจเลือกดื่มน้ำอุ่น และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ เครื่องดื่มแอกอฮอล์
    • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ สารเคมี น้ำหอม หรือมลภาวะ เพราะอาจทำให้เยื่อเมือกในจมูกระคายเคือง และกระตุ้นให้ต่อมสร้างน้ำมูกผลิตน้ำมูกมากเกินไปได้
    • เลิกบุหรี่ โดยเฉพาะหากป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อปอด เช่น โรคหอบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

แม้น้ำมูกใสอาจไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย และสามารถจัดการได้ด้วยยาหรือวิธีดูแลตัวเองที่เหมาะสม แต่หากมีน้ำมูก มีเสมหะ หรือมีภาวะดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าได้

  • มีน้ำมูกหรือเสมหะในปริมาณมากติดต่อกันนานกว่า 4 สัปดาห์
  • น้ำมูกหรือเสมหะหนาขึ้น มีปริมาณมากขึ้น หรือเปลี่ยนสี
  • มีไข้
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • ไอเป็นเลือด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Effective Mucus Clearance Is Essential for Respiratory Health. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2658694/. Accessed December 31, 2021

Mayo Clinic Q and A: Nasal mucus color — what does it mean?. https://newsnetwork.mayoclinic.org/discussion/mayo-clinic-q-and-a-nasal-mucus-color-what-does-it-mean/. Accessed December 31, 2021

Is it allergies, COVID-19 or something else? What your mucus might mean. https://www.nebraskamed.com/primary-care/is-it-allergies-covid-19-or-something-else-what-your-mucus-might-mean. Accessed December 31, 2021

Catarrh. https://www.nhs.uk/conditions/catarrh/. Accessed December 31, 2021

What the Color of Your Snot Really Means. https://health.clevelandclinic.org/what-the-color-of-your-snot-really-means/. Accessed December 31, 2021

The Truth About Mucus. https://www.webmd.com/allergies/features/the-truth-about-mucus. Accessed December 31, 2021

Marvels of Mucus and Phlegm. https://newsinhealth.nih.gov/2020/08/marvels-mucus-phlegm. Accessed December 31, 2021

Mucus and Phlegm: What to Do If You Have Too Much. https://health.clevelandclinic.org/mucus-and-phlegm-what-to-do-if-you-have-too-much/. Accessed December 31, 2021

ทายสุขภาพจากสีน้ำมูก. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1169. Accessed December 31, 2021

Nasal obstruction as a drug side effect. https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/1753465811403348. Accessed December 31, 2021

Mucus Relief Cold & Sinus – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-163690/mucus-relief-cold-and-sinus-oral/details. Accessed December 31, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง

7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 30/09/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา