backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ภูมิแพ้แมลงสาบ (Cockroach Allergy)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/02/2021

ภูมิแพ้แมลงสาบ (Cockroach Allergy)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า มีอาการไอ จาม และรู้สึกระคายเคืองบริเวณผิวหนัง ทุกครั้งที่อยู่ใกล้กับแมลงสาบ ก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีสัญญาณแรกเริ่มของอาการ ภูมิแพ้แมลงสาบ (Cockroach Allergy) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที

คำจำกัดความ

ภูมิแพ้แมลงสาบ (Cockroach Allergy) คืออะไร

ภูมิแพ้แมลงสาบ (Cockroach Allergy) คือโรคภูมิแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ที่ถูกปล่อยออกมาจากตัวแมลงสาบ ซึ่งมักมาในรูปแบบของเหลวหรือมูลจากแมลงสาบ ที่แพร่กระจายไปทั่วตามพื้นผิวสิ่งของ คล้ายกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก เมื่อสัมผัสเข้าไปก็อาจส่งผลให้แอนติบอดีในร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน จนมีอาการของภูมิแพ้เกิดขึ้น

ภูมิแพ้แมลงสาบ สามารถพบได้บ่อยเพียงใด

โรคภูมิแพ้แมลงสาบ เป็นหนึ่งในโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลก สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และจะพบได้มากตามแหล่งที่อยู่อาศัยในเขตร้อน ชุมชน บ้านเรือนที่ขาดการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

อาการ

อาการของ โรคภูมิแพ้แมลงสาบ

อาการทั่วไปของโรคภูมิแพ้แมลงสาบมักจะคล้ายคลึงกับอาการแพ้อื่น ๆ โดยเราสามารถสังเกตได้จากปฏิกิริยาของร่างกายที่แสดงออกมาให้เห็นเด่นชัด ดังนี้

  • ไอ
  • จาม
  • หายใจลำบาก
  • คัดจมูก
  • เกิดการติดเชื้อในโพรงจมูก
  • อาการคัน ระคายเคืองบริเวณผิวหนัง ตา คอ จมูก
  • ตาแดง
  • แน่นหน้าอก
  • ลมพิษ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหอบหืดร่วมด้วย หากผู้ป่วยพบว่ากำลังมีอาการที่รุนแรง ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที

    สาเหตุ

    สาเหตุของการเกิดภูมิแพ้แมลงสาบ

    โดยปกติแล้วภูมิคุ้มกันของร่างกายมักมีปฏิกิริยาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายในทันที ดังนั้น เมื่อคุณ  ทันทีที่มีสารแปลกปลอมเข้ามาสู่ร่างกาย ดังนั้น เมื่อคุณได้รับสารบางอย่างที่แมลงสาบปล่อยออกมา ก็อาจทำให้ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนอง และก่อให้เกิดเป็นอาการภูมิแพ้ขึ้น

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้แมลงสาบ

    เนื่องจาก โรคภูมิแพ้แมลงสาบ เกิดจากสารในตัวของแมลงสาบโดยตรง ทำให้ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้แมลงสาบ มีดังนี้

    • อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตอบอุ่นจนถึงเขตร้อน ที่มีแมลงสาบชุกชุม
    • การเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากแมลงสาบอาจมากินอาหารในชามของสัตว์เลี้ยงได้
    • เศษอาหารที่ตกหล่นตามพื้น หรือเศษอาหารในถังขยะ
    • รอยแตกตามผนัง พื้น รวมไปถึงท่อน้ำทิ้ง ที่อาจเป็นแหล่งอาศัยของแมลงสาบ

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัย โรคภูมิแพ้แมลงสาบ

    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจเริ่มจากการซักประวัติและสอบถามเกี่ยวกับอาการแพ้ จากนั้นจึงอาจทำการตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี และทดสอบอาการแพ้บนผิวหนังเบื้องต้น เพื่อค้นหาสารก่อภูมิแพ้ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการแพ้ และดำจะได้ค้นหาการวิธีรักษาที่เหมาะสมถัดไป

    การรักษา โรคภูมิแพ้แมลงสาบ

    การรักษาโรคภูมิแพ้แมลงสาบอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอาการที่ผู้ป่วยมี โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์อาจเลือกวิธีการรักษา ดังนี้

    • สั่งจ่ายยาแก้แพ้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการแพ้เบื้องต้น
    • ให้ยาพ่นจมูกเพื่อช่วยลดอาการบวมและคัดจมูก โดยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการแพ้ที่ผู้ป่วยมี
    • ใช้ยาโครโมลินโซเดียม (Cromolyn sodium) พ่นจมูก เพื่อยับยั้งสารเคมีที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาอาการแพ้

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษา โรคภูมิแพ้แมลงสาบ

    นอกจากการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แล้ว คุณอาจจำเป็นต้องปรับพฤติกรรมบางอย่างร่วมด้วย เพื่อช่วยป้องกันแมลงสาบที่อาจนำไปสู่โรคภูมิแพ้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    • เลือกใช้ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้าไป
    • ทำความสะอาดห้องครัว หรือจัดสิ่งของทั่วทุกมุมบ้าน ให้เป็นระเบียบ และสะอาดอยู่เสมอ
    • ปิดฝาถังขยะให้สนิท
    • ซ่อมแซมรอยแตกหรือรูตามผนังและพื้นบ้านให้ปิดสนิท
    • ใช้ยาฆ่าแมลงหรือกับดักแมลงสาบ

    ในกรณีที่คุณมีสัตว์เลี้ยงอยู่ภายในบ้าน หลังจากให้อาหารสัตว์เลี้ยงเสร็จแล้ว ควรทำความสะอาดภาชนะทุกครั้ง และกำจัดเศษอาหารที่เหลือทิ้งให้หมด ก่อนแมลงสาบจะเข้ามากิน และปล่อยสารที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ขึ้นได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา