backup og meta

อาการแทรกซ้อนจากโรคผิวหนังอักเสบ

อาการแทรกซ้อนจากโรคผิวหนังอักเสบ

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคผิวหนังอักเสบอาจจะเกิดปัญหาทั้งทางร่างกายและทางด้านจิตใจได้มากกว่าที่เป็นอยู่ อาการแทรกซ้อนจากโรคผิวหนังอักเสบ ที่พบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้

การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง

การติดเชื้อแบคทีเรียนั้นเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคผิวหนังอักเสบที่พบได้บ่อย โดยจะมีเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcal หรือ streptococcal เป็นเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิดที่พบได้มากที่สุด ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบมักจะเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง เนื่องจากโรคผิวหนังอักเสบนั้นทำให้เกิดรอยแตกบนผิวจากผิวที่แห้งมาก และจากการเกาในบริเวณที่มีอาการคัน นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบนั้นจะมีความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังที่พบได้บ่อยเหล่านี้น้อยกว่าคนปกติ ทำให้พวกเขามักจะเจอปัญหาฝี รูขุมขนอักเสบ และการติดเชื้อจากโรคผิวหนังอักเสบ แพทย์ผิวหนังมักจะแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อก่อนที่โรคผิวหนังอักเสบจะรุนแรงขึ้น

หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่พบได้มากที่สุดของอาการแทรกซ้อนนี้คือการเกาผิวที่อักเสบ หรือการรักษาอย่างไม่ถูกวิธี สิ่งที่สำคัญคือคุณควรที่จะสังเกตเห็นสัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรีย ดังต่อไปนี้

  • มีน้ำหนองไหลออกจากผิว
  • ผิวแตกเป็นสะเก็ดสีเหลือง
  • มีจุดมีขาวอมเหลืองในบริเวณที่ผิวหนังอักเสบ
  • ผิวเริ่มบวมและมีอาการปวด
  • ร่างกายมีอุณหภูมิสูง (เป็นไข้)
  • รู้สึกไม่สบาย

ในบางครั้ง การติดเชื้อแบคทีเรียนั้นอาจจะมีอาการรุนแรง และนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของทารกที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อที่ผิวหนังอย่างรุนแรง หากคุณคิดว่าคุณหรือลูกของคุณอาจจะมีอาการแทรกซ้อนนี้ ควรจะปรึกษาแพทย์ในทันที

การติดเชื้อไวรัสที่ผิวหนัง

ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบมักจะมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อไวรัสบนผิวหนังบางชนิด โดยเฉพาะ หากผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) อาจทำให้เกิดสภาวะที่อันตรายอย่าง Eczema Herpeticum หรือการติดเชื้อเริมบนผิวหนัง อาการของปัญหานี้ได้แก่

  • ผิวหนังอักเสบที่มีอาการปวดจะมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว
  • แผลพุพองมีหนองแตก ทิ้งรอยแผลตื้นๆ ไว้
  • ร่างกายมีอุณหภูมิสูงและมักจะรู้สึกไม่สบาย

คุณควรจะติดต่อแพทย์หรือแพทย์ผิวหนังในทันทีหากคุณสงสัยว่าตนเองจะมีสภาวะ Eczema Herpeticum

หมายเหตุ: ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบไม่ควรจะรับวัคซีนโรคฝีดาษที่ได้รับใบอนุญาตในปัจจุบัน เนื่องจากอาจจะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อที่รุนแรง เรียกว่า Eczema Vaccinatum เชื้อไวรัสที่มีชีวิตอยู่ในวัคซีนโรคฝีดาษนี้สามารถแพร่พันธุ์และลุกลามไปทั่วร่างกายได้ นอกจากนี้ ผู้ที่ใกล้ชิดกันผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบก็ไม่ควรรับวัคซีนโรคฝีดาษเช่นกัน เพราะมีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไวรัสที่มีชีวิตอยู่ในวัคซีนไปสู่ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ

ผลกระทบทางด้านจิตใจ

นอกจากปัญหาทางกายแล้ว โรคผิวหนังอักเสบนั้นอาจจะทำให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจได้ งานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเด็กก่อนวัยเรียนที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ มักจะมีปัญหาทางพฤติกรรมมากกว่า เช่น มักจะอยู่ไม่สุขมากกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง เด็กในวัยเรียนที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบก็อาจจะโดนรังแกได้ ทำให้เป็นบาดแผลในใจและยากที่จะรับมือสำหรับเด็ก

ปัญหาทางด้านจิตใจอีกประการหนึ่ง ที่สามารถพบได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็กคือ การสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเด็ก เนื่องจากพวกเขามักจะรู้สึกว่าการจัดการกับปัญหาของตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่ยาก และเมื่อพวกเขามีภาพลักษณ์ของตนเองที่ไม่ดีก็อาจนำไปสู่ความคิดในเชิงลบได้

สิ่งสำคัญก็คือคุณควรที่จะทราบเกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยของโรคผิวหนังอักเสบเหล่านี้ เพื่อที่คุณจะได้สามารถป้องกันและทำการรักษาสภาวะเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Eczema (Atopic Dermatitis) Complications. https://www.niaid.nih.gov/diseases-conditions/eczema-complications. Assessed September 25, 2016.

Complications of atopic dermatitis. http://www.dermnetnz.org/topics/complications-of-atopic-dermatitis/. Assessed September 25, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย แวววิกา ศรีบ้าน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผื่นผิวหนัง (Skin Rash) อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

ประเภทของผิวหนังอักเสบ มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย แวววิกา ศรีบ้าน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา