backup og meta

รู้ทัน ชนิดของมะเร็งตับ ให้คุณห่างไกลจากโรคมะเร็งตับมากขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 23/06/2021

    รู้ทัน ชนิดของมะเร็งตับ ให้คุณห่างไกลจากโรคมะเร็งตับมากขึ้น

    รู้หรือไม่! โรคมะเร็งตับมีกี่ชนิด แล้ว ชนิดของมะเร็งตับ มีความแตกต่างกันอย่างไร คุณมีแนวโน้มที่จะเป็น โรคมะเร็งตับ ชนิดไหนหรือเปล่า มาตรวจสอบและทำความเข้าใจกันดูว่า ชนิดของ โรคมะเร็งตับ มีต้นกำเนิดและระดับความรุนแรงแค่ไหน เพื่อให้คุณโล่งใจและคลายข้อสงสัย วันนี้เราได้นำความรู้ดี ๆ มากฝากกัน

    ทำความรู้จักกับโรคมะเร็งตับ

    โรคมะเร็งตับ เกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัย ปัจจัยแรก มีการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในตับโดยตรง ปัจจัยที่สอง โรคมะเร็งตับ เกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากอวัยวะส่วนอื่นภายในร่างกายแล้วมีการแพร่กระจายเข้าสู่ตับผ่านทางกระแสเลือด และน้ำเหลือง

    ชนิดของมะเร็งตับ มีอะไรบ้าง

    มะเร็งตับสามารถเกิดได้จาก 2 ปัจจัย คือ มะเร็งตับปฐมภูมิ เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในตับและ มะเร็งตับทุติยภูมิ เกิดขึ้นจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเข้าสู่ตับ โดย โรคมะเร็งตับ ชนิดปฐมภูมิ ที่เกิดขึ้นในตับแบ่งเป็น 5 ชนิดหลัก ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ที่กลายเป็นมะเร็ง ได้แก่

  • โรคมะเร็งตับ ปฐมภูมิชนิด Hepatocellular Carcinoma หรือ HCC
  • เป็น โรคมะเร็งตับ ระยะแรกที่พบบ่อยที่สุด พัฒนามาจากเซลล์ตับพบได้มากในผู้ที่เป็น โรคตับแข็ง คือ ตับเกิดความเสียหายจนทำให้เกิดแผลเป็นซึ่งเป็นผลมาจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน แนวโน้มในการเกิด โรคมะเร็งตับ มักจะเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและยิ่งเพิ่มอัตราการเกิดเมื่อคุณอายุมากขึ้น

  • มะเร็งไฟโบรลาเมลลาร์ (Fibrolamellar Carcinoma)
  • เป็นมะเร็งชนิดย่อยของ โรคมะเร็งตับ ปฐมภูมิ (Hepatocellular Carcinoma หรือ HCC) เป็นมะเร็งที่พบไม่บ่อย และมะเร็งไฟโบรลาเมลลาร์ (Fibrolamellar Carcinoma) มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับคนอายุ 20 หรือ 30 ปี อีกทั้งไม่ได้มีต้นเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี หรือโรคตับแข็ง

    • มะเร็งท่อน้ำดี

    เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในท่อน้ำดีซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับตับ ถุงน้ำดี ลำไส้เล็ก มีหน้าที่ในการลำเลียงน้ำดี เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร มะเร็งท่อน้ำดีสามารถเกิดได้ 2 ที่คือ หากเกิดขึ้นในท่อน้ำดีจะเรียกว่า “มะเร็งท่อน้ำดีในตับ’ แต่หากเกิดนอกท่อน้ำดีจะเรียกว่า “มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ’ ซึ่งมีอัตราการเกิดน้อยมากประมาณ 10%-20% เมื่อเทียบกับ โรคมะเร็งตับ ชนิดอื่น

    • มะเร็งเยื่อบุผนังหลอดเลือด (Angiosarcoma)

    หรือเรียกอีกชื่อว่า “มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนซาร์โคมา (Hemangiosarcoma)’ มะเร็งชนิดนี้เกิดขึ้นในหลอดเลือดของตับและมีอัตราการเกิดน้อยมาก มีแนวโน้มการลุกลามอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งชนิดนี้จึงมักตรวจพบในระยะที่ลุกลามมากแล้ว

    • โรคมะเร็งตับ ในเด็ก (Hepatoblastoma)

    เป็น โรคมะเร็งตับ ระยะแรกที่พบได้น้อย ซึ่งมักพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี การรักษาสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดหรือเคมีบำบัด เมื่อได้รับการรักษาแล้วจะมีอัตราการรอดชีวิตสูง เนื่องจากสามารถตรวจพบได้ในขณะที่ โรคมะเร็งตับ ยังอยู่ในระยะแรก

    • โรคมะเร็งตับทุติยภูมิ

    เป็นมะเร็งที่มีกระบวนการแพร่กระจายจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายเข้าสู่ตับ โดยกระบวนการแพร่กระจาย มีดังนี้

    • การแพร่กระจาย เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง
    • การแทรกซึม เซลล์มะเร็งเคลื่อนที่ผ่านผนังท่อน้ำเหลืองและหลอดเลือดในบริเวณใกล้เคียง
    • การไหลเวียน เซลล์มะเร็งไหลเวียนในน้ำเหลือง และกระแสเลือดไปยังบริเวณอื่น ๆ
    • การลุกลาม เซลล์มะเร็งเมื่อมีการลุกลามไปยังตำแหน่งอื่น ๆ แล้ว จากนั้น จะเคลื่อนผ่านผนังเส้นเลือดฝอยและเข้าสู่เนื้อเยื่อใกล้เคียง
    • การขายตัว เซลล์มะเร็งจะเจริญเติบโตเป็นเนื้องอก
    • การสร้างเส้นเลือดใหม่ กระตุ้นการสร้างเส้นเลือดใหม่ ซึ่งให้สารอาหารและออกซิเจนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้องอก

    บริเวณของมะเร็งที่มีความเสี่ยงจะแพร่กระจายไปสู่ตับมากที่สุด คือ เต้านม ลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง ไต หลอดอาหาร ปอด ผิวหนัง รังไข่ มดลูก ตับอ่อน ดังนั้น การเข้าพบหมอเพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำ ถือเป็นตัวช่วยที่จะทำให้คุณตรวจพบ โรคมะเร็งตับ ระยะแรกและสามารถรับการรักษาได้อย่างรวดเร็วที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 23/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา