ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นเรื่องที่ผู้หญิงไม่ควรละเลย โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากการติดเชื้อ HPV แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก อีกด้วย หากตรวจพบหรือเข้าข่ายว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง จะได้ปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ
ทำความเข้าใจกับ มะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดในเซลล์ปากมดลูก ซึ่งเป็นช่วงล่างของมดลูกที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามต่อสู้ไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำอันตรายต่อร่างกาย ร่างกายบางคนอาจต่อสู้กับเชื้อจนสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ในขณะที่บางรายร่างกายอ่อนแอกว่าทำให้มีเชื้ออยู่ในร่างกายนานหลายปี นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น
- อายุ 50 ปีขึ้นไป
- การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
- สูบบุหรี่
- มีบุตรหลายคน
- ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ทั้งนี้ การ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นประจำ หรือรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก ได้
วิธีการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีวิธีใดบ้าง
เมื่อตรวจพบว่าร่างกายมีเชื้อ HPV ในระดับผิดปกติ คุณหมอมักแนะนำให้ตรวจหามะเร็งปากมดลูก เพิ่มเติม เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคมะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณและอาการอื่น ๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ เช่น มีเลือดออกจากช่องคลอด มีอาการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่คุณหมอส่วนใหญ่เลือกใช้มีดังนี้
การตรวจแปบสเมียร์ (Pap test)
การตรวจแปบสเมียร์ เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกวิธีหนึ่ง โดยคุณหมอจะเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเซลล์ที่มีความผิดปกติ ซึ่งการตรวจแปบสเมียร์ เป็นการตรวจที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเซลล์ที่ปากมดลูกเป็นเซลล์มะเร็ง หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
ตรวจหาเชื้อ HPV
การตรวจเพื่อหาเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก นั้นทำได้โดยการเก็บตัวอย่างเซลล์เยื่อบุจากบริเวณปากมดลูกไปตรวจเพื่อหาเชื้อ HPV ในห้องปฏิบัติการ
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นวิธีการตรวจที่ช่วยให้ทราบตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่ามีความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ หากเข้ารับการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ หากสงสัยเกี่ยวกับอาการ หรือไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม