backup og meta

มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย กับวิธีรักษาที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 28/03/2023

    มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย กับวิธีรักษาที่ควรรู้

    มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย หรือมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 มักตรวจพบได้จากการตรวจเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานที่ผิดปกติหรือมีอาการที่เกิดจากมะเร็งของผู้ป่วย โดยเซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่นอกเหนือจากปากมดลูกได้ด้วย เช่น กระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก ซึ่งการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายทำได้ด้วยการฉายรังสี เคมีบำบัด และรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และประคับประคองอาการเท่านั้น

    ทำความรู้จักกับ มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย

    ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า มะเร็งระยะที่ 4 หมายถึง มะเร็งระยะแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย คือ ระยะที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปที่กระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก หรือไกลกว่านั้น โดยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นระยะสุดท้าย (ระยะที่ 4) มักตรวจพบได้จากการตรวจเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานที่ผิดปกติหรือมีอาการที่เกิดจากมะเร็งของผู้ป่วย ซึ่งเซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายยังส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากปากมดลูกได้ด้วย เช่น ทวารหนัก กระเพาะปัสสาวะ (ระยะ IVA) ซึ่งอาจรวมถึงกระดูก ปอดหรือตับ (ระยะ IVB) สำหรับมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการวินิจฉัยในระยะนี้มักรักษาได้ยากและมีผู้ป่วยส่วนน้อยที่หายจากโรคนี้

    แน่นอนว่า ปัจจัยหลายประการมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยในการรับการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งจุดประสงค์ของการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งอาจเพื่อให้อาการดีขึ้น โดยการควบคุมให้เซลล์มะเร็งอยู่ในบริเวณที่เกิด เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาของผู้ป่วย หรือยืดอายุการอยู่รอดของผู้ป่วย สำหรับประโยชน์ที่เป็นไปได้ของการรักษาโรคมะเร็งจะต้องสมดุลและรอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับการรักษา

    วิธีรักษา มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย

    สำหรับวิธีรักษามะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายอาจออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

    วิธีรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายที่ไม่แพร่กระจาย

    การรักษามะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายที่ไม่แพร่กระจาย (ระยะ IVA) อาจทำได้ ดังนี้

    • การฉายรังสีร่วมกับการทำเคมีบำบัดที่ให้ในเวลาเดียวกัน
    • การผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานออก ตามด้วยการฉายรังสี โดยอาจจะมีการใช้เคมีบำบัดหรือไม่มีก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ
    • การรักษาด้วยรังสีภายใน
    • การทดลองทางคลินิกของเคมีบำบัด เพื่อลดขนาดของเนื้องอก ตามด้วยการผ่าตัด
    • การทดลองทางคลินิกของเคมีบำบัดและการฉายรังสีในเวลาเดียวกัน ตามด้วยเคมีบำบัด

    ปัจจุบัน มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายที่ไม่แพร่กระจายจะได้รับการรักษาที่ดีที่สุด โดยการใช้รังสีบำบัดและเคมีบำบัดร่วมกัน การรักษาด้วยรังสี คือ การรักษาด้วยรังสีเอกซเรย์พลังงานสูงที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยการฉายรังสี สามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือที่มจุดมุ่งหมายเพื่อเอกซเรย์ร่างกาย (การฉายรังสีจากลำแสงภายนอก) หรือโดยการวางแคปซูลของสารกัมมันตรังสีขนาดเล็กไว้ใกล้ปากมดลูกโดยตรง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยรังสีทั้ง 2 ชนิดในระหว่างการรักษา การรักษารังสีภายนอกสำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์

    วิธีรักษามะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายที่แพร่กระจาย

    การรักษามะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายที่แพร่กระจาย (ระยะ IVB) อาจทำได้ ดังนี้

    • การรักษาด้วยรังสี ซึ่งเป็นการบำบัดแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นจากมะเร็งและปรับปรุงคุณภาพชีวิต
    • เคมีบำบัดและการบำบัดแบบกำหนดเป้าหมาย
    • เคมีบำบัดเป็นการบำบัดแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นจากมะเร็งและปรับปรุงคุณภาพชีวิต
    • การทดลองทางคลินิกของยาต้านมะเร็งใหม่ หรือการผสมยา

    โรคมะเร็งปากมดลูกที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ และกระดูก ถือเป็นเรื่องยากที่จะรักษา ในอดีตผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกรยะสุดท้ายที่แพร่กระจายจะได้รับการวินิจฉัยว่ารักษาไม่หาย และแทบจะไม่มีชีวิตรอดเกิน 1-2 ปี ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด เพื่อยืดระยะเวลาการรอดชีวิตและบรรเทาอาการจากมะเร็งระยะลุกลาม ผู้ป่วยรายอื่นอาจได้รับการจัดการด้วยความพยายามในการลดความเจ็บปวด การตกเลือด รวมถึงการฉายรังสีเฉพาะในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ได้รับผลกระทบ

    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย คือ การปรึกษาคุณหมอถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพราะคุณหมออาจจะมีเหตุผลในการแนะนำแผนการรักษาที่แตกต่างจากสิ่งที่ได้กล่าวไปข้างต้น อย่าลังเลที่จะถามคำถามเกี่ยวกับตัวเลือกในการรักษาของตัวเอง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 28/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา