backup og meta

เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก เตรียมอย่างไร และใครที่ควรตรวจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 08/02/2024

    เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก เตรียมอย่างไร และใครที่ควรตรวจ

    สิ่งสำคัญที่ผู้หญิงหลายคนไม่ควรละเลยคือการ ตรวจมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้ในผู้หญิง ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus หรือ HPV) ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ส่วนใหญ่แล้วโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก ๆ มักไม่แสดงอาการ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ และ จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้พบมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะแรก ๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้สูงและยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้อีกด้วย สำหรับการ เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก อาจทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการล้างช่องคลอดด้วยของเหลวต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อจะได้ไม่ส่งผลกระทบกับผลตรวจ

    ผู้ที่ควร ตรวจมะเร็งปากมดลูก

    โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุในช่วง 30-65 ปี ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี เริ่มตั้งแต่อายุ 21 ปี ไปจนถึงอายุ 29 สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 30-65 ปี ควรปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางสำหรับการตรวจที่มีความเหมาะสม

    หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อเอชพีวี ส่วนใหญ่ในช่วงระยะแรก ๆ ของการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีมักจะไม่มีอาการใด ๆ บางครั้งระบบภูมิคุ้มกันก็จะกำจัดเชื้อนั้นออกไปจากร่างกายได้เอง แต่มีเพียงบางส่วนที่เชื้อไวรัสเอชพีวีติดนานหรือเรื้อรังจนทำให้เกิดเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ

  • เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • มีประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
  • ขั้นตอนการ เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก

    ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในการตรวจสุขภาพที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้หญิง ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HVP) การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถหาร่องรอยของเชื้อที่ทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ๆ ก็ยิ่งมีโอกาสในการรักษาหายมากขึ้น ทั้งยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้อีกด้วย ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่นิยมมี 2 แบบ คือ การตรวจแบบแปปสเมียร์ (Pap Test) และการตรวจแบบตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี

    เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก แบบแปปสเมียร์ (Pap Test)

    การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Test) เป็นขั้นตอนตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยคุณหมอจะทำการเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก เพื่อนำไปตรวจว่า เนื้อเยื่อบริเวณนั้นสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้หรือไม่ สำหรับผู้ที่ควรตรวจแบบแปปสเมียร์ คือ ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไป หรือได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ และควรตรวจทุก ๆ 3 ปี โดยก่อนเข้ารับการตรวจแปปสเมียร์จะต้องมีการเตรียมตัว ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 วัน
    • งดการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ผ้าอนามัย ครีม แป้ง
    • งดใช้ยาบริเวณช่องคลอดอย่างน้อย 2 วัน
    • หลีกเลี่ยงการทำแปปสเมียร์ช่วงมีประจำเดือน
    • หลีกเลี่ยงการล้างช่องคลอดด้วยของเหลวต่าง ๆ

    เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก แบบตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี

    การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีในร่างกาย โดยคุณหมอจะทำการตรวจเชื้อไวรัสเอชพีวีก็ต่อเมื่อผลการตรวจแปปสเมียร์มีความผิดปกติ หรือในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี คุณหมอจะทำการเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกเช่นเดียวกับการตรวจแปปสเมียร์ แต่มีวิธีการตรวจที่แตกต่างกัน สำหรับผู้ที่ต้องตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีจะต้องมีการเตรียมตัวก่อนตรวจ ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 วัน
    • งดการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ผ้าอนามัย ครีม แป้ง
    • งดใช้ยาบริเวณช่องคลอดอย่างน้อย 2 วัน
    • หลีกเลี่ยงการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีช่วงมีประจำเดือน
    • หลีกเลี่ยงการล้างช่องคลอดด้วยของเหลวต่าง ๆ
    สำหรับผู้ที่ตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี แล้วผลเป็นปกติไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี แต่สามารถตรวจได้ทุก ๆ 5 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีผลการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีเป็นบวก ไม่ได้หมายความว่าเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก เพียงแต่มีเชื้อไวรัสเอชพีวีในร่างกาย มีความจำเป็นต้องดูแลตัวเองอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้น หลังจากนั้น 1 ปี ไวรัสเอชพีวีจะทำการนัดเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีอีกรอบ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 08/02/2024

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา