backup og meta

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia)

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia)

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia) เป็นมะเร็งประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นกับไขกระดูก ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวมัยอีโลบลาสท์

คำจำกัดความ

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ คืออะไร

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia หรือ AML) เป็นมะเร็งประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับไขกระดูก ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวมัยอีโลบลาสท์ (เซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทหนึ่ง) เซลล์เม็ดเลือดแดง หรือเกล็ดเลือด

อย่างไรก็ดี ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในบางครั้ง สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม และระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง)

สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์

เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวในไขกระดูก ที่เริ่มกลายเป็นมะเร็ง ร่างกายจะไม่สามารถร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติได้อย่างเพียงพอ

ต่อไปนี้ เป็นอาการทั่วไปของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์

  • มีผิวซีดมาก และรู้สึกหมดแรง อาจมีอาการหายใจลำบากได้ง่าย โดยเกิดจากการขาดเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • ขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรง ทำให้เกิดการติดเชื้อหลายประเภท
  • เกล็ดเลือดลดลง จนอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ ซึ่งได้แก่ มีบาดแผลโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน มีประจำเดือนมากในผู้หญิง เลือดออกตามไรฟัน และเลือดกำเดาไหลต่อเนื่อง
  • มีจ้ำเลือดหรือผื่นที่ผิวหนัง
  • โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบาย และมีอาการแย่ลง หรืออาจมีอาการเจ็บคอหรือเจ็บปากร่วมด้วย
  • มีไข้สูงและเหงื่อออกมากตอนกลางคืน

นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้น้อย คือ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดที่ข้อต่อและกระดูก นอกจากนี้ ยังอาจมีรอยนูนสีม่วงปนน้ำเงินเกิดขึ้นใต้ผิวหนังที่ซีด

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์

มีบางงานวิจัยระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอทำให้เซลล์ไขกระดูกปกติ กลายเป็นเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยปกติ เซลล์ของมนุษย์เจริญเติบโต และทำงานตามข้อมูลที่อยู่ในโครโมโซมของแต่ละเซลล์ แต่ในกรณีของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ จะมีการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมที่แตกต่างกัน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์

มีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่อาจทำให้เกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ ได้แก่

  • การสูบบุหรี่
  • การสัมผัสสารเคมีบางประเภท
  • ยาเคมีบำบัดบางประเภท
  • การสัมผัสการฉายรังสี
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดบางประเภท
  • กลุ่มอาการทางพันธุกรรม
  • ประวัติครอบครัว
  • อายุที่มากขึ้น
  • เพศชาย
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ชัดเจน ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ หรือยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์

แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกสำหรับผู้ที่ไม่มีอาการใด ๆ อย่างไรก็ดี ไม่มีการทดสอบเฉพาะใด ๆ เพื่อวินิจฉัย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ ในระยะเริ่มแรก ดังนั้น แพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยรายงานอาการหรือสิ่งบ่งชี้ที่เป็นไปได้ใด ๆ ให้ทราบทันที

การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์

ผู้ป่วยที่เป็น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ ในประเภทย่อย ๆ จำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะ การรักษาขั้นแรกคือเคมีบำบัดซึ่งในบางครั้งตามมาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด นอกจากนี้ ยังอาจใช้ยาประเภทอื่นเพื่อรักษาร่วมด้วยเช่นกัน ในกรณีเฉพาะนั้น การผ่าตัดและการฉายรังสีอาจเป็นวิธีหลักในการรักษา

เนื่องจาก โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ สามารถก่อให้เกิดอาการรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรเริ่มการรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

ประการแรก อาจพิจารณาเข้ารับการทดลองรักษา ซึ่งเป็นการรักษามะเร็งที่ทันสมัยมาก ในบางกรณี การทดลองรักษาอาจเป็นเพียงวิธีเดียวที่สามารถนำไปสู่การรักษาใหม่ ๆ ได้ หากผู้ป่วยตัดสินใจที่จะเข้ารับการการทดลองรักษา ควรสอบถามแพทย์ว่า คลินิกหรือโรงพยาบาลนั้นให้บริการการทดลองรักษาหรือไม่

ประการที่สอง ควรเปิดรับวิธีการรักษาเพิ่มเติมหรือทางเลือกใหม่ ๆ วิธีการรักษาเพิ่มเติมสามารถใช้ร่วมกันกับการรักษาปกติ หรืออาจเป็นทางเลือกที่ใช้แทนการรักษาตามปกติ วิธีการเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์ในการบรรเทาอาการต่าง ๆ หรือทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น แต่การรักษาบางวิธียังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ผลจริง จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษาอย่างละเอียด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลรักษาตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้รับมือกับ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ นี้ได้

  • เลิกสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกาย
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • รักษาสมดุลของร่างกาย

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Understanding Acute Myeloid Leukemia. http://www.macmillan.org.uk/information-and-support/leukaemia/leukaemia-acute-myeloid/understanding-cancer. Accessed September 4, 2016

Acute Myeloid Leukemia. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acute-myelogenous-leukemia/basics/definition/con-20043431. Accessed September 4, 2016

Leukemia-Acute Myeloid. http://www.cancer.org/cancer/leukemia-acutemyeloidaml/detailedguide/leukemia-acute-myeloid-myelogenous-what-is-aml. Accessed September 4, 2016

Leukemia & Lymphoma. http://www.webmd.com/cancer/lymphoma/acute-myeloid-leukemia-symptoms-treatments. Accessed September 4, 2016

Acute Myeloid Leukemia. http://www.cancer.org/cancer/leukemia-acutemyeloidaml/. Accessed September 4, 2016

Acute Myeloid Leukemia. http://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/type/aml/. Accessed September 4, 2016

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/06/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ย้อมสีผม เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งจริงหรือ?

อาหารปิ้งย่าง ต้นเหตุมะเร็งร้าย แต่ใจก็อยากกิน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 14/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา