backup og meta

สถาบันมะเร็ง และศูนย์มะเร็งในประเทศไทย

สถาบันมะเร็ง และศูนย์มะเร็งในประเทศไทย

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของทั่วโลก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี องค์การอนมัยโลกพบว่าในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จำนวน 18.1 ล้านคน โรคมะเร็งที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 9.6 ล้านคน เป็นผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งเต้านม

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ปี พ.ศ. 2559-2561 พบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 139,206 คน/ปี และข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุข ปี พ.ศ. 2562 พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 84,073 คน/ปี โดยโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด และมะเร็งปากมดลูก

การให้ความสำคัญต่อสุขภาพ การตรวจคัดกรองมะเร็ง และการรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในระยะลุกลาม และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว

สถาบันมะเร็งและศูนย์มะเร็งในประเทศไทยมีที่ไหนบ้าง

สถาบันมะเร็งและศูนย์มะเร็ง ที่สามารถติดต่อเพื่อรับข้อมูลหรือการรักษาในประเทศไทย มีดังนี้

  1. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งทุกชนิดสำหรับประชาชน ทำการวิจัยและรวบรวมสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคมะเร็ง และยังให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง โดยให้บริการคลินิกตรวจสุขภาพ 2 รูปแบบ คือ คลินิกตรวจสุขภาพและคลินิกตรวจสุขภาพพิเศษ

คลินิกตรวจสุขภาพพิเศษ ให้บริการแบบครบวงจร เป็นช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการความรวดเร็วในการรับบริการ

  • ไม่ต้องรอคิวนาน
  • ส่งผลการตรวจผ่านแอปพลิเคชัน
  • ตรวจมะเร็งด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram) และอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ได้ในวันเดียวกันกับที่เข้ารับบริการ

สามารถเข้ารับบริการได้ที่คลินิกตรวจสุขภาพพิเศษ ชั้น 2 อาคารวิเคราะห์บำบัดโรคมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

เปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ

สำหรับค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพส่วนหนึ่งสมทบทุนมูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

นัดตรวจคลินิกตรวจสุขภาพพิเศษ ติดต่อ 02 202 6880

สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ https://web.facebook.com/Premium-Checkup-NCI-103429124362736?_rdc=1&_rdr หรือ Line ID: @premium.nci

คลินิกตรวจสุขภาพ ให้บริการตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง แบ่งออกเป็นโปรแกรมหญิงและชาย ดังนี้

โปรแกรมหญิง แบ่งออกเป็น 4 โแกรม

  1. ตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งทั่วไป ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีทินเพรพ (Thinprep) ตรวจค้นหาเชื้อไวรัส HPV
  2. ตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งทั่วไป ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีทินเพรพ (Thinprep)
  3. ตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งทั่วไป ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์ (Pap Smear)
  4. ตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งทั่วไป (เว้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก)

โปรแกรมผู้ชาย แบ่งออกเป็น 2 โปรแกรม

  1. สำหรับผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี ตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งทั่วไป
  2. สำหรับผู้ชายอายุน้อยกว่า 40 ปี ตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งทั่วไป ตรวจหาค่าบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก PSA

สามารถตรวจสอบตรางคุณหมอและนัดตรวจออนไลน์ได้ที่ : http://ncicheckup.nci.go.th/information/HCList.aspx

สถานที่ติดต่อ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 268/1 ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กทม. 10400

โทร. 02 202 6800 หรือต่อ 2246, 02 202 6888

Email: [email protected], [email protected]

  1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ศูนย์มะเร็ง คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ดำเนินงานภายใต้ปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดลและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานด้านโรคมะเร็งของคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาล ป้องกัน ฟื้นฟู พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและคำแนะนำเรื่องโรคมะเร็ง ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งและบุคคลากร โดยยึดหลักสิทธิผู้ป่วยและความปลอดภัย

สามารถติดต่อที่ หน่วยตรวจผู้ป่วยโรคมะเร็ง 1 ติดกับ OPD รังสีรักษา อาคาร 1 ชั้น 1

ให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 07.00-15.00 น. หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์โทรศัพท์ : 02 201 0461

หรือ หน่วยตรวจผู้ป่วยโรคมะเร็ง 2 (ทางเข้าอาคาร 1) อาคาร1 ชั้น1

ให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 07.00-15.00 น. (ในเวลาราชการ) หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์โทรศัพท์ : 02 201 0484

สถานที่ติดต่อ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 270 ถนนพระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

โทร. 02 201 1000

เว็บไซต์: https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th.

Facebook: https://web.facebook.com/ramathibodi?_rdc=1&_rdr. หรือ https://web.facebook.com/rama.rccc/?_rdc=1&_rdr

Line ID: @ramathibodi

  1. ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้บริการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคมะเร็งสำหรับประชาชนอย่างครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ และความรู้ความสามารถของบุคลากรที่สามารถประเมินความเสี่ยง ตรวจคัดกรอง วินิจฉัย ประเมินระยะของโรค และการติดตามค้นหารอยโรคที่กลับเป็นซ้ำ

คลินิกตรวจสุขภาพชั้น 2 ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์  โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

เปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 07.00-16.00 น. วันเสาร์ เวลา 08.00-12.00 น.

เพื่อความสะดวกก่อนเข้ารับบริการ สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่เบอร์ 02 576 6153 หรือ 02 576 6156

สามารถตรวจสอบศูนย์การแพทย์/คลินิกและโปรแกรมสุขภาพอื่น ๆ ได้ที่: https://www.chulabhornhospital.com/Medical/74 และ https://www.chulabhornhospital.com/Detail_Page/โปรแกรมสุขภาพ

สถานที่ติดต่อ: 906 ถ.กำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม. 10210

โทร. 02 576 6000

เว็บไซต์: https://www.chulabhornhospital.com//HOME#.

Facebook: https://web.facebook.com/chulabhornhospital/?_rdc=1&_rdr.

  1. มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย

มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยอาจารย์นายแพทย์ไพโรจน์ สินลารัตน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาอบรมแพทย์สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาในสถาบันฝึกอบรมแพทย์ และพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกับแพทย์สาขาวิชาชีพอื่น ๆ เพื่อการดูแลรักษาและป้องกันโรคมะเร็ง และให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งกับประชาชนทั่วไป

ติดต่อ: อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ชั้น 7 เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

โทร. 02 718 1537

เว็บไซต์ : http://www.thethaicancer.com

Email: [email protected], [email protected]

โรงพยาบาลและสถาบันมะเร็งอื่น ๆ ในประเทศไทย

รายชื่อโรงพยาบาลและสถาบันมะเร็งในกรุงเทพมหานครที่สามารถเข้ารับการตรวจมะเร็ง วินิจฉัยและรักษา ได้แก่

  • โรงพยาบาลกลาง
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  • โรงพยาบาลตากสิน
  • โรงพยาบาลตำรวจ
  • โรงพยาบาลพระมงกุฏ
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช
  • โรงพยาบาลมศว.
  • โรงพยาบาลราชวิถี
  • โรงพยาบาลเลิดสิน
  • โรงพยาบาลวชิระ
  • โรงพยาบาลศิริราช
  • โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

ส่วนรายชื่อโรงพยาบาลและสถาบันมะเร็งในภาคอื่น ๆ สามารถตรวจสอบรายชื่อและช่องทางการติดต่อได้ที่เว็บไซต์มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย: http://www.thethaicancer.com/Webpage/Hospital_Hospitallist.html

ทั้งนี้ การเข้ารับการตรวจรักษาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของแต่ละโรงพยาบาล กรุณาสอบถามขั้นตอนกับทางโรงพยาบาลก่อนการขอเข้ารับการบริบาล

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

คณะแพทยศาสตร์ 4 สถาบัน รวมพลัง เพื่อเสนอ “นโยบายการต่อสู้กับโรคมะเร็งที่ถูกต้องเพื่อลดอุบัติการณ์ ลดภาวะทุพพลภาพ และการเสียชีวิตจากมะเร็งในประเทศไทย” เพื่อพิจารณากลั่นกรองเป็นระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. https://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnewsdetail.asp?hn_id=2422. Accessed January 5, 2022

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข. https://www.nci.go.th/th/New_web/index.html. Accessed January 5, 2022

แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข พ.ศ.2563-2565. https://www.nci.go.th/th/Today/download/.pdf. Accessed January 5, 2022

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง. https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th. Accessed January 5, 2022

ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์. https://www.chulabhornhospital.com//HOME#. Accessed January 5, 2022

มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย. http://www.thethaicancer.com/index.html. Accessed January 5, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/01/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับ ‘ภูมิคุ้มกันบำบัด’ แนวทางใหม่รักษามะเร็ง

ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ทางเลือกใหม่รักษามะเร็ง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 11/01/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา