backup og meta

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง อันตรายหรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 29/08/2023

    ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง อันตรายหรือไม่

    สมอง เป็นส่วนสำคัญและอาจเบาะบางเกินกว่าที่เราจะเข้าใจได้ ทั้งยังเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนอย่างมาก โดยปกติแล้ว เรามักใช้สมองในการทำหน้าที่ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การสั่งให้เคลื่อนไหว อารมณ์ ความรู้สึกเจ็บ เศร้า น้อยใจ แต่ถ้าหากเกิดเนื้องอกในสมองจำก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองได้ แล้เมื่อเกิดเนื้องอกในสมองต้องทำอย่างไร เมื่อรักษาแล้วจะมี ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง เกิดขึ้นหรือหรือไม่ ติดตามได้ในบทความนี้

    เนื้องอกในสมอง เกิดจากภาวะใด

    เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เกิดจากภาวะเนื้อเยื่อในสมอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสมองมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติจนส่งผลต่อระบบสมอง และระบบประสาท โดยเนื้องอกในสมองมี 4 ระยะ ซึ่งวัดระยะได้ 1-4 ตามลำดับการเจริญเติบโตของเนื้องอก และโอกาสที่สามารถกลับมาเป็นซ้ำ

    การรักษาเนื้องอกในสมอง มีแบบไหนบ้าง

    การรักษาแพทย์จะดูหลายปัจจัย ไม่ว่าขนาด ชนิด หรือระดับของเนื้องอก รวมไปถึงเนื้องอกไปกดทับส่วนสำคัญของสมองหรือไม่ โดยการรักษาเนื้องอก มีดังต่อไปนี้

    • ศัลยกรรม คือ การผ่าตัด โดยการกำจัดเนื้องอกและเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีโดยรอบ เป็นเพียงการรักษาสำหรับเนื้องอกในสมองระดับแรก
    • การรักษาด้วยรังสี คือการใช้รังสีเอกซ์ เพื่อทำลายเซลล์เนื้องอก
  • การรักษาด้วยรังสีแบบธรรมดา เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการกำหนดเป้าหมายที่มีความแม่นยำยิ่งขึ้น
  • การฉายรังสีแบบสามมิติ (3D-CRT) เป็นการฉายรังสีจากภายนอก สามารถให้ปริมาณรังสีสูงเฉพาะในรอยโรค และลดรังสีที่จะถูกกระทบในเนื้อเยื่อที่ดี
  • การบำบัดด้วยรังสีปรับความเข้ม (IMRT) เป็นเทคนิคที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ปริมาณรังสีครอบคลุมอยู่เฉพาะตัวก้อนมะเร็งเท่านั้น เนื้อเยื่อปกติที่อยู่เคียงข้างจะได้รับปริมาณรังสีที่น้อยลงกว่าแบบ 3 มิติ
  • การบำบัดด้วยโปรตอน โปรตอนเป็นอนุภาคย่อยที่มีประจุบวกที่สามารถจัดการ ควบคุมเพื่อหยุดและส่งรังสีตรงไปที่ก้อนเนื้องอก
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง และผลข้างเคียง

    การผ่าตัดเนื้องอกในสมอง ไม่ได้ปลอดภัย 100 % ทั้งยังมีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง ก็ต่อเมื่อการผ่าตัดนั้นมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยจริง ๆ

    ภาวะแทรกซ้อนอาจพบได้ใน การผ่าตัดเนื้องอกสมอง ทุกชนิด เช่น

  • อาการชัก
  • สมองบวม
  • แผลอักเสบ หรือติดเชื้อ
  • ตกเลือดในสมอง
  • ผลข้างเคียงหลังจาก การผ่าตัดเนื้องอกในสมอง

    • การพูดยังอาจจะยังไม่กลับมาชัดเจน
    • คำพูดบางคำอาจนึกนานกว่าปกติ
    • แขน ขา ไม่มีแรง หรืออ่อนแรง
    • บุคลิกภาพ รวมถึงพฤติกรรมที่ยังไม่กลับเป็นเหมือนเดิมทันที
    • อาจจะไม่สามารถกลับไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 100 %
    • อัมพฤกษ์ อัมพาต

    มีอาการหงุดหงิดง่ายเนื่องจากผลข้างเคียงดังกล่าวข้างต้น เพราะผู้ป่วยไม่สามารถทำอะไรได้ตามใจปรารถนา

    ดูแลตนเองหลังจากได้รับ การผ่าตัดเนื้องอกในสมอง

    • การกายภาพบำบัดเป็นประจำ บริหารกล้ามเนื้อ
    • การดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงสถานที่ หรือปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดเนื้องอกซ้ำใหม่อีกครั้ง
    • พยายามไม่ทำให้ตนเองเครียด หาที่ผ่อนคลาย และพักผ่อน
    • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และถูกหลักโภชนาการ งดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารเค็มจัด หรือหวานจัด
    • พยายามหาเรื่องพูดคุยกับบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกครอบครัว หรือเพื่อน
    • การรับประทานยาตามที่หมอแนะนำและจัดให้
    • พบหมอตามนัด ซึ่งผู้ป่วยควรมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอหลังการผ่าตัด เพื่อติดตามอาการและดูภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

    ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง เกิดขึ้นกับบางบุคคลเท่านั้น แต่ผลกระทบหลังจากผ่าตัดอาจจะสามารถพบเห็นได้ ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องพยายามและใช้เวลา เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพ หากมีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที เพราะเรื่องของสมองเป็นสิ่งที่ไม่ควรรอช้า

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 29/08/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา