backup og meta

ตรวจเบาหวาน เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด ทำอย่างไร

ตรวจเบาหวาน เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด ทำอย่างไร

ตรวจเบาหวาน เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและป้องกันการลุกลามของโรค ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ผู้ที่รับประทานอาหารน้ำตาลสูง ไม่ออกกำลังกาย ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน หรือปัจจัยอื่น ๆ ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวานและการลุกลามของโรคที่อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานลงไต แผลที่เท้าจากเบาหวาน

[embed-health-tool-bmi]

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจเบาหวาน

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจเบาหวานเพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคเบาหวานและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อาจมีดังนี้

  • ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 25 ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ โดยการคำนวณค่าดัชนีมวลกายที่มีหน่วยเป็น กิโลกรัม/เมตร2 ทำได้โดยการนำ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงบางประการ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ ผู้ที่รับประทานอาหารน้ำตาลสูง ไขมันสูงและไม่ออกกำลังกาย มีประวัติเป็นกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ โรคหัวใจและหลอดเลือด คนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี อาจมีความผิดปกติของระบบเผาผลาญเกิดขึ้น จึงควรเข้ารับการตรวจน้ำตาลในเลือด และควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวานซ้ำทุก 3 ปี
  • ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานทุก 3 ปี เนื่องจากโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถพัฒนากลายเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
  • ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะก่อนเบาหวาน ซึ่งเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จึงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานทุกปีเพื่อป้องกันความเสี่ยง
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เช่น เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน โรคอ้วนในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์

ตรวจเบาหวาน ทำอย่างไร

การตรวจเบาหวานเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำได้ดังนี้

  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Hemoglobin A1C) เป็นการตรวจฮีโมโกลบินในเลือดที่เป็นโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถบอกระดับน้ำตาลในเลือดโดยเฉลี่ยในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาได้ หากพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอาจแสดงว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน

การอ่านค่าการทดสอบระดับน้ำตาลในเลือด หากต่ำกว่า 5.7% ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ หากอยู่ระหว่าง 5.7-6.4 % หมายความว่า เป็นภาวะก่อนเป็นเบาหวาน และหากค่าอยู่ที่ 6.5% หรือสูงกว่า หมายความว่าเป็นโรคเบาหวาน

สำหรับบางคนที่คุณหมอวินิจฉัยว่าอาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน แต่ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดไม่สอดคล้องกับการวินิจฉัย หรือมีเงื่อนไขบางประการที่อาจทำให้การทดสอบคลาดเคลื่อน เช่น การตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลต่อระดับฮีโมโกลบิน คุณหมออาจพิจารณาให้ตรวจเบาหวานด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม  ดังนี้

  • สุ่มตรวจน้ำตาลในเลือด เป็นการสุ่มตรวจเลือดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยหากตรวจตอนเช้าซึ่งเป็นการอดอาหารข้ามคืน ค่าน้ำตาลในเลือดควรต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่หากตรวจในระหว่างวันไม่ว่าจะรับประทานอาหารครั้งสุดท้ายเมื่อใด ค่าน้ำตาลในเลือดไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากสูงกว่าจะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
  • การทดสอบน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร คุณหมอจะเก็บตัวอย่างเลือดหลังจากอดอาหารข้ามคืน ซึ่งระดับปกติของน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารควรต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากมีค่าตั้งแต่ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายความว่าเป็นภาวะก่อนเบาหวาน แต่หากมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายความว่าเป็นโรคเบาหวาน
  • การตรวจเบาหวานโดยใช้สารละลายกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test) เป็นการทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารข้ามคืน จากนั้นคุณหมอจะให้ดื่มสารละลายกลูโคส เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะทำการทดสอบซ้ำ ๆ และเว้นระยะห่างครั้งละ 2-3 ชั่วโมง หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 140-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายความว่าเป็นภาวะก่อนเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังจากผ่านไป 2 ชั่วโมง หมายความว่าเป็นโรคเบาหวาน

การตรวจเบาหวานในขณะตั้งครรภ์

คุณหมอจะประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ โดยวิธีการตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจทำได้ดังนี้

  • การทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดเบื้องต้น คุณหมออาจให้คุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มสารละลายกลูโคส เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง คุณหมอจะตรวจเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากสูงกว่าอาจมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • การติดตามผลการทดสอบ คุณหมอจะวัดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร จากนั้นคุณหมอจะให้ดื่มสารละลายกลูโคส และคุณหมอจะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทั้งหมด 3 ครั้ง ทุก 1 ชั่วโมง หากค่าการทดสอบมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึง 2 ใน 3 คุณหมอจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/diagnosis-treatment/drc-20371451. Accessed June 14, 2022

Diagnosis of Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/guide/diagnosis-diabetes. Accessed June 14, 2022

checking your blood sugar levels. https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/managing-your-diabetes/testing. Accessed June 14, 2022

Diabetes. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/getting-tested.html. Accessed June 14, 2022

The A1C Test & Diabetes. https://www.niddk.nih.gov/health-information/diagnostic-tests/a1c-test#:~:text=The%20A1C%20test%20is%20a,type%202%20diabetes%20and%20prediabetes.&text=The%20A1C%20test%20is%20also%20the%20primary%20test%20used%20for%20diabetes%20management. Accessed June 14, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานคืออะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

diabetes (โรคเบาหวาน) คืออะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา