backup og meta

คันตามผิวหนัง ในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

คันตามผิวหนัง ในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

อาการ คันตามผิวหนัง เป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น สภาพผิวแห้ง การติดเชื้อรา ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคได้ไม่ดีมักประสบกับปัญหานี้เนื่องจากระบบเลือดไหลเวียนไปที่ผิวหนังส่วนปลาบได้ไม่ดีนัก ส่งผลให้มีสภาพผิวแห้ง ทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองผิวได้ง่าย ทั้งนี้ อาการคันตามผิวหนังอาจบรรเทาได้ด้วยการทาโลชั่นเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น รวมทั้งการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจช่วยป้องกันและบรรเทาอาการคันตามผิวหนัง อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับผิวหนังอื่น ๆ ได้ด้วย

อาการ คันตามผิวหนัง เกิดจากอะไร

อาการคันตามผิวหนัง (Pruritus) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผิวแห้ง ผื่นเเพ้ผู้ป่วยเบาหวานอาจพบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพผิวหนังได้บ่อยเนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตเเละเส้นประสาทส่วนปลายอาจมีปัญหา ผลให้เกิดอาการคันระคายเคืองผิว ที่บริเวณขา เเละเท้า รวมถึงอาจเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ง่ายกว่าคนอื่นทั่วไป 

วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการ คันตามผิวหนัง

วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการคันตามผิวหนัง อาจทำได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณ์ที่มีสารเคมีหรือมีน้ำหอมเป็นส่วนประกอบ เพราะอาจระคายเคืองผิวได้
  • หลีกเลี่ยงการอาบหรือน้ำอุ่นนานเกินไป เพราะทำให้ผิวเสียความชุ่มชื้น ทำให้ผิวแห้งและเกิดอาการคันได้
  • ทามอยส์เจอร์ไรเจอร์หรือโลชั่นเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น เพราะเมื่อผิวแห้ง หรือแตก ลอก จะทำให้เกิดอาการคันได้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะหากร่างกายมีภาวะขาดน้ำ หรือ ได้รับน้ำไม่เพียงพอกับความต้องกาย จะส่งผลให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น ทำให้ผิวเเห้งและเกิดปัญหาผิวหนังอื่น ๆแทรกซ้อนได้
  • หากเป็นอาการคันซึ่งเกิดจากอาการแพ้ สามารถบรรเทาอาการคันได้ด้วยยา เช่น ครีมสเตียรอยด์อ่อน ๆ หรือ ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน (Antihistamine) ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอและเภสัชกรก่อนใช้ยา
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม 
  • หมั่นดูแลตัวเองตามคำแนะนำของคุณหมอและบุคลากรทางการแพทย์หากมีอาการที่ไม่เเน่ใจควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

ปัญหาผิวหนังอื่น ๆ ในผู้ป่วยเบาหวาน

ปัญหาผิวหนังอื่น ๆ ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีดังนี้

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยอาจติดเชื้อแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) และซึ่งอาจลุกลามจนมีอาการรุนแรงได้หากควบคุมโรคเบาหวานได้ไม่ดี การติดเชื้อชนิดนี้จะทำให้ผิวหนังแดงอักเสบ พบมีฝีหรือตุ่มอักเสบร่วมด้วยได้ และอาจะลุกลามจนเกิดเป็นภาวะติดเชื้อในกระเเสเลือดได้ 
  • การติดเชื้อรา มักพบบริเวณผิวหนังที่อับชื้น โดยเฉพาะบริเวณข้อพับหรือรอยพับ ได้เเก่ รักแร้ ขาหนีบ ส่งผลให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น โรคสังคัง โรคน้ำกัดน้ำเท้า โรคกลากเกลื้อน โรคเชื้อราที่เล็บ
  • ปื้นดำบริเวณข้อพับหรือโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) มีลักษณะเป็นผื่นปื้นดำหนา มักพบที่บริเวณข้อพับ เช่น บริเวณด้านหลังของคอ รักแร้ ใต้เต้านม และขาหนีบ ภาวะเป็นสัญญานของภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งมักพบในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • จุดที่หน้าแข้งจากเบาหวาน (Shin spot or Diabetic Dermopathy) พบเป็นผื่นขนาดเล็กคล้ายจุดรูปร่างกลมหรือรี มีสีน้ำตาลอ่อน มักพบที่ผิวหนังบริเวณหน้าแข้งของผู้ที่เป็นเบาหวานเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลให้การไหลเวียนเลือดส่วนปลายผิดปกติเกิดเป็นรอยจุดเล็ก ๆ ภาวะนี้เป็นภาวะที่ไม่อันตราย
  • ผื่นผิวหนังเนโครไบโอซิส ไลปอยดิกา (Necrobiosis Lipoidica) เป็นผื่นสีแดงที่มีขอบเขตชัดเจน มักเริ่มปรากฏบริเวณหน้าแข้ง อาจทำให้เจ็บและคันได้ เมื่อเวลาผ่านไป บริเวณกลางผื่นจะยุบตัวลงและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล มักเกิดในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเป็นเวลานาน
  • ตุ่มน้ำเบาหวาน (Bulllosis Diabeticorum) เป็นตุ่มน้ำใสที่ไม่เจ็บ อาจเกิดขึ้นที่หลังมือ ปลายแขน ขาส่วนล่างหรือเท้า ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก มักเกิดกับผู้ที่มีปัญหาเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมจากเบาหวาน
  • แผลเท้าเบาหวาน (Diabetic Foot Ulcer) ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีเป็นระยะเวลานานเรื้อรัง อาจส่งผลให้เส้นเลือดส่วนปลายอุดตัน อีกทั้งเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ทำให้มีอาการเท้าชา เกิดแผลได้ง่ายรวมทั้งแผลยังหายช้า และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อซึ่งอาจรุนแรงจนต้องตัดเท้าได้

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

หากรักษาด้วยตัวเองในเบื้องต้นแล้วอาการคันยังไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์หรือมีอาการรุนแรงขึ้น อีกทั้งหากมีภาวะทางผิวหนังอื่น ๆ ที่อาจเป็นสัญญาณว่าควบคุมโรคเบาหวานได้ไม่ดีควรไปพบคุณหมอเพื่อเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม และรับการรักษาที่เหมาะสม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Skin Problems in Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/skin-problems. Accessed June 15, 2022

Diabetes Rash & Other Skin Conditions. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/12176-diabetes-skin-conditions. Accessed June 15, 2022

DIABETES: 12 WARNING SIGNS THAT APPEAR ON YOUR SKIN. https://www.aad.org/public/diseases/a-z/diabetes-warning-signs. Accessed June 15, 2022

Diabetes and Your Skin. https://www.webmd.com/diabetes/guide/related-skin-conditions. Accessed June 15, 2022

Itchy Skin and Diabetes. https://www.diabetes.co.uk/diabetes-complications/itchy-skin-and-diabetes.html. Accessed June 15, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/08/2022

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการของคนเป็นเบาหวาน สังเกตได้อย่างไร

อาการคันตามตัว เกิดจากอะไร ควรดูแลตัวเองอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 24/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา