เบาหวานเป็นโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญ อาจเกิดจากการผลิตอินซูลิน (Insulin) ไม่เพียงพอ หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจต้องใช้ ยาเบาหวาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการและควบคุมโรค แต่อาจมีผู้ป่วยบางรายที่กังวลว่า ยาเบาหวานอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer) การเรียนรู้ความเกี่ยวข้องระหว่างยาเบาหวานและมะเร็งตับอ่อนให้ดี จึงอาจช่วยให้เข้าใจทั้งสองโรคนี้ และรับมือกับโรคและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ดีขึ้น
ความเกี่ยวข้องกันระหว่าง ยาเบาหวาน และมะเร็งตับอ่อน
ยาที่มีส่วนผสมหลักของอินเครติน (incretin-based) เป็นหนึ่งในยาทางเลือกตัวใหม่ในการรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 ยาที่มีส่วนผสมของอินเครติน มี 2 ประเภท ได้แก่ GLP-1 agonists และ DPP-4 inhibitors โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- GLP-1 agonists
GLP-1 agonists จะป้องกันไม่ให้ท้องว่าง และเพิ่มการผลิตอินซูลิน ซึ่งจะไปลดน้ำตาลในเลือด ตัวอย่างยา GLP-1 agonists เช่น Exenatide (Byetta) liraglutide (Victoza) โดย Exenatide เป็นยาที่มีส่วนผสมของอินเครตินตัวแรก ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในปีพ.ศ. 2548
- DPP-4 inhibitors
ในทางกลับกัน DPP-4 inhibitors จะชะลอการดูดซึมของกลูโคสผ่านกระเพาะอาหาร ซึ่งจะไปกดฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นน้ำตาลในเลือด และเพิ่มการผลิตอินซูลิน ตัวอย่างของยา DPP-4 inhibitors เช่น sitagliptin (Januvia) ซึ่งเป็นยา DPP-4 inhibitor ตัวแรกที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ เมื่อปีพ.ศ. 2549
องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ได้รับรายงานเกี่ยวกับอาการตับอ่อนอักเสบ และมะเร็งตับอ่อน ในผู้ที่กินยาเบาหวาน แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานใด ๆ แต่ก็ถือว่ายาเบาหวานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาตับอ่อนอักเสบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่า เนื่องจากตัวยามีฤทธิ์ทำให้น้ำหนักลดลง ยา GLP-1 agonists มักถูกจ่ายให้แก่ผู้ป่วยน้ำหนักเกินที่มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้วสำหรับโรคมะเร็งตับอ่อน
ต่อมาองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา และองค์การยาสหภาพยุโรป (EMA) ได้ทบทวนข้อมูลที่มีอยู่จากการทดลองในสัตว์อย่างกว้างขวางขึ้น ทั้ง 2 องค์กรนี้ได้วิเคราะห์งานวิจัยทางพิษวิทยา จำนวน 250 ชิ้น ในสัตว์เกือบ 18,000 ตัว ผลปรากฏว่า ไม่พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะตับอ่อนอักเสบที่เกี่ยวข้องกับยาที่มีส่วนผสมของอินเครติน ทั้ง 2 องค์กรยังวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหลายร้อยคน และไม่พบความเกี่ยวข้องใด ๆ
ผู้ป่วยกินยาเบาหวานต่อเนื่องได้หรือไม่?
สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (ADA) แนะนำว่า ผู้ป่วยไม่ควรหยุดกินยาโดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อนก่อน ก่อนกินยาเหล่านี้ ผู้ป่วยควรทราบถึงความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจช่วยให้สามารถเลือกยาในการรักษาเบาหวานที่เหมาะสมที่สุดได้
หากผู้ป่วยหยุดกินยาโดยไม่ปรึกษาคุณหมอ อาจเสี่ยงเกิดผลข้างเคียง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง ไตเสียหาย ตาบอด
[embed-health-tool-bmi]