หากสังเกตตนเองแล้วพบว่าอวัยวะบางส่วน เช่น เท้า มือ มีอาการบวมขึ้น พร้อมทั้งมีความดันโลหิตสูงมากขึ้นกว่าปกติ เเนะนำให้รีบไปพบคุณหมอ เพื่อทำการตรวจ วินิจฉัยเพิ่มเติมโดยเร็ว เพราะอาการดังกล่าวนี้ เป็นสัญญาณของ ภาวะเบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) ได้
[embed-health-tool-bmi]
คำจำกัดความ
เบาหวานลงไต คืออะไร
โรคเบาหวานลงไต หรือ ภาวะเบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ทั้งในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1 (Type 1 diabetes) และ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) โดยไตจะมีประสิทธิภาพในการทำงานลงเรื่อย
โดยที่ไตเป็นอวัยวะหลักที่ทำหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้น
เมื่อไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จึงส่งผลให้ของเสียในร่างกายคั่งเเละเกิดอาการ รวมถึงควาผิดปกติของระบบอื่น ๆ ตามมา หรืออาจกล่าวง่ายๆ ว่าอาการนี้ก็คือ โรคไตจากเบาหวาน นั่นเอง
เบาหวานลงไต พบบ่อยเพียงใด
ภาวะเบาหวานลงไต (Diabetic Kidney Disease) พบได้ประมาณมากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การควบคุมโรคเบาหวานให้ดี จะช่วยป้องกัน เเละ ชะลอความเสื่อมของไตในอนาคตได้
อาการ
อาการของเบาหวานลงไต
ในระยะเริ่มต้นนั้นอาการของโรคไตจากเบาหวาน หรือ ภาวะเบาหวานลงไต มักจะไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจน แต่หากปล่อยให้ไตมีความเสื่อมมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้มีอาการ ดังต่อไปนี้
- ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
- ตรวจพบปัสสาวะมีโปรตีนรั่วเพิ่มมากขึ้น
- มีอาการบวมที่เท้า ข้อเท้า เปลือกตา
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- อ่อนเพลีย เหนือยง่าย
- เบืออาาหาร
- คลื่นไส้และอาเจียน
- มีอาการคันตามร่างกาย
หากมีอาการที่สงสัยว่าอาจเป็นภาวะเบาหวานลงไต หรือ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการอื่น ๆ เเนะนำให้ไปพบคุณหมอเพื่อปรึกษาเพิ่มเติม
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีอาการที่สงสัยว่ามีภาวะเบาหวานลงไต ดังเช่นที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวโรคเพิ่มเติม เเนะนำให้ปรึกษากับคุณหมอที่ดูเเลอีกครั้ง เนื่องจากร่างกายของแต่ละบุคคลอาจมีการตอบสนอง หรือ อาการเเสดงที่แตกต่างกันออกไป ทางที่ดีที่สุดจึงควรปรึกษาคุณหมอถึงอาการรวมทั้งวิธีรักษาที่ดีเหมาะสมสำหรับเเต่ละบุคคล
สาเหตุ
สาเหตุของ ภาวะเบาหวานลงไต
สาเหตุของ ภาวะเบาหวานลงไต นั้นค่อนข้างที่จะมีความซับซ้อน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระจุกหลอดเลือดฝอยในไต หรือ โกลเมอรูลัส (Glomerulus) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการกรองของเสีย หากเมื่อควบคุมเบาหวานไม่ดี ระดับนำ้ตาลที่สูงอย่างเรื้อรังจะส่งผลให้ โกลเมอรูลัสเสียหาย กระบวนการขับของเสียที่ไตจึงทำหน้าที่ได้ลดลง เเละเกิดเป็นภาวะไตเสื่องเรื้อรัง ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดปัญหากับอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายตามา
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะเบาหวานลงไต
ภาวะเบาหวานลงไต หรือโรคไตจากเบาหวาน สามารถพบได้ทั้งในผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
- ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมเบาหวานให้ได้ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน เรื้อรัง
- มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือ ไม่ควบคุมระดับควมดันให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปเเล้ว ผู้ป่วยเบาหวาน ควรมีความดันโลหิตสูงไม่เกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
การวินิจฉัยและการรักษา
*ข้อมูลในบทความนี้ เป็นเป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานที่อาจเป็นประโยชน์ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดปรึกษาคุณหมออีกครั้งเพื่อความปลอดภัย
การวินิจฉัย ภาวะเบาหวานลงไต
การวินิจฉัย ภาวะเบาหวานลงไต มีวิธีการตรวจหลัก ๆ สองประเภทคือ
- การตรวจเลือด เพื่อนตรวจค่าการทำงานของไต ซึ่งสามารถบอกได้ว่าไตมีการทำงานมากน้อยเพียงใด เเละใช้บอกว่าไตมีความเสื่อมอยู่ในระะดับใด (ไตเสื่อมมี 5 ระดับ ซึ่งสุดท้ายอาจจำเป็นต้องเข้ารับการฟอกไต)
- การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจปริมาณโปรตีนที่รั่วออกมาในปัสสาวะ
การรักษา ภาวะเบาหวานลงไต
สำหรับการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคไตจากเบาหวาน หรือ อาการเบาหวานลงไต นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดความดันโลหิต และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยที่อาจมียาบางกลุ่มที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของไตได้ ดังต่อไปนี้
- ยา SGLT2 inhibitors ซึ่งเป็นยารักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ เเละ ชะลอการเสื่อมของไตได้
- ยาในกลุ่ม Angiotensin converting enzyme หรือ ACE inhibitors เเละยากลุ่มAngiotensin receptor blockers หรือ ARBs ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเบาหวานลงไตได้
การปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
การปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจะช่วยชะลอความเสื่อมของไต รวมทั้งยังป้องกันภาวะเบาหวานลงไตได้อีกด้วย โดยสามารถทำได้เบื้องต้นดังนี้
- เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่จะมีผลทำให้การทำงานไตเเย่ลงได้
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม การมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมอยู่ในเกณฑ์มาตฐานจะช่วยให้ร่างกายจัดการกับน้ำตาลส่วนเกินได้ดีขึ้น เเละยังพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน หากลดน้ำหนักตัวลงได้ เพียง 10% ก็จะช่วยให้ควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้นอีกด้วย
- ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนช่วยให้ควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้น รวมไปถึงช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูง เเล ไขมันในเลือดสูง ซึ่งต่างส่งผลดีกับไต
- เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ อาจยึดหลัก “ลดเค็ม ลดมัน ลดหวาน” เพื่อมิให้ไตต้องทำงานหนัก
- สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคไต หรือโรคเบาหวาน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรในเรื่องของการใช้ยา หลีกเลี่ยงการซื้อยาเเก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ รวมทั้งยาสมุนไพรเเละอาหารเสริมรับประทานเอง เนื่องจากยากลุ่มดังกล่าวอาจส่งผลให้การทำงานของไตลดลง จนถึงขั้นไตวายได้