backup og meta

เลือดเป็นกรด ในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 21/06/2022

    เลือดเป็นกรด ในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

    ภาวะ เลือดเป็นกรด หรือที่เรียกว่า คีโตอะซิโดซิส (Diabetic ketoacidosis : DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน มีสาเหตุมาจากระดับคีโตนและน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

    ภาวะ เลือดเป็นกรด ในผู้ป่วยเบาหวาน คืออะไร

    ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) เป็นแหล่งพลังงานสำคัญสำหรับกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ รวมถึงมีส่วนสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด หรือคีโตอะซิโดซิส (Diabetic ketoacidosis : DKA) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายของผู้ป่วยผลิตคีโตนออกมาใช้เป็นพลังงานแทนอินซูลิน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย ปวดเมื่อย คลื่นไส้และอาเจียน เป็นต้น 

    ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะเลือดเป็นกรด ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะหากปล่อยไว้นานเกินไป อาจเกิดผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

    เลือดเป็นกรดในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน 

    หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานรวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่กำลังตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดสูง โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3 เนื่องจากทารกดึงน้ำตาลจากแม่มาใช้เป็นพลังงาน จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ลดลงอย่างรวดเร็ว จนเลือดเป็นกรดได้ 

    วิธีลดความเสี่ยงเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวาน

    วิธีเหล่านี้อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวานได้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
    • หากเครียดหรือกังวล ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและบันทึกประวัติน้ำตาลในเลือดอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อวัน 
    • ปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการและโรคที่เป็นอยู่ให้ถูกต้อง เช่น วิธีการใช้อินซูลิน การปรับยาอินซูลิน
    • หากเหนื่อยล้าหรือมีภาวะเครียด ให้ทดสอบปัสสาวะเพื่อหาคีโตนส่วนเกิน หากคีโตนอยู่ในระดับปานกลางหรือสูง ให่รีบเข้ารับการรักษาทันที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 21/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา