backup og meta

ยา ฉีด เบาหวาน มีอะไรบ้าง ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างไร

ยา ฉีด เบาหวาน มีอะไรบ้าง ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างไร

ยา ฉีด เบาหวาน เป็นยาฉีดสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งออกฤทธิ์หลักในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ยกตัวอย่างเช่น เช่น อินซูลิน ดูลากลูไทด์ (Dulaglutide) เทอซีพาไทด์ (Tirzepatide) หรือพรามลินไทด์ (Pramlintide) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้น เพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อนที่อาจตามมาได้

[embed-health-tool-bmi]

ยา ฉีด เบาหวาน สำคัญอย่างไร

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลงหรือไม่ได้เลย รวมทั้งเกิดจากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง และมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงกว่าปกติ

เมื่อน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเส้นประสาทเสื่อม โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือภาวะเบาหวานขึ้นตา ซึ่งล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นเบาหวานจึงควบควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยาฉีดร่วมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ตามมาได้

ยา ฉีด เบาหวาน มีอะไรบ้าง

ยาฉีดเบาหวาน ในปัจจุบัน มีหลัก ๆ  2 ประเภท ได้เเก่  อินซูลิน และยากลุ่มจีเเอลพี – 1 (Glucagon-like Peptide 1 (GLP-1) Receptor Agonists) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

อินซูลิน

ยาอินซูลิน หรือฮอร์โมนอินซูลินสังเคราะห์ ทำหน้าที่ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนอินซูลินของร่างกายที่สร้างจากตับอ่อน คือ ควบคุม/ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย นำน้ำตาลไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน และนำน้ำตาลส่วนเกินไปเก็บสะสมไว้ยังตับ ในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรอง

ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถฉีดอินซูลินได้ด้วยตนเอง โดยฉีดบริเวณท้องแขนส่วนบน หน้าท้อง สะโพก หรือก้น โดยอุปกรณ์ที่ใช้ฉีดในปัจจุบันจะมาในรูปเเบบของ ปากกาฉีดอินซูลิน หรืออินซูลินปั๊ม (Insulin Pump) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นใหม่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (อย่างไรก็ตาม สามารถฉีดโดยเข็มฉีดยาแบบดั้งเดิมได้เช่นกัน)

สำหรับความถี่ในการฉีดอินซูลินนั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละราย และขึ้นกับชนิดของอินซูลินที่ใช้ ซึ่งคุณหมอจะพิจารณาเลือกจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประวัติสุขภาพ อายุ โรคร่วม ระดับน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงไลฟ์สไตล์

ทั้งนี้ วิธีฉีดอินซูลินที่ถูกต้องคือการฉีดเข้าสู่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง มิใช่การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพราะการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อาจทำให้อินซูลินถูกดูดซึมเข้าสู่กระเเสเลือดเร็วเกินไป จนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงเเก่ชีวิตได้

การฉีดอินซูลินอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง ได้เช่น

  • มีอาการคัน บวม หรือมีรอยแดงช้ำ บริเวณที่ฉีดอินซูลิน ทั้งนี้เเนะนำให้สลับเปลี่ยนตำเเหน่งผิวหนังบริเวณที่ฉีด เพื่อป้องกันอาการดังกล่าว
  • เกิดอาการแพ้อินซูลิน เช่น ผื่นคัน หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียน/หน้ามืด
  • เกลือเเร่โพแทสเซียมต่ำ (Hypokalemia) เช่น ท้องอืด/ท้องผูก เป็นตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนเเรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เเต่ภาวะนี้มักพบในผู้ที่ต้องได้รับอินซูลินทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นการใช้ยาในโรงพยาบาล

ยากลุ่มจีเเอลพี 1

ตัวอย่างยากลุ่มนี้เช่น

  • ดูลากลูไทด์ (Dulaglutide) – ฉีดสัปดาห์ละครั้ง
  • เอซีนาไทด์ (Exenatide) – มีทั้งชนิดฉีดสัปดาห์ละครั้ง เเละ วัน 2 ละครั้ง
  • ลิรากลูไทด์ (Liraglutide) – ฉีดวันละ 1 ครั้ง
  • เซมากลูไทด์ (Semaglutide) – ฉีดสัปดาห์ละครั้ง เเละมีรูปเเบบยารับประทานด้วย

ยาทั้งหมดมีคุณสมบัติในการช่วยกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน ช่วยให้กระเพาะอาหารบีบตัวช้าลง จึงทำให้อิ่มท้องนานขึ้น เเละ ช่วยกระุตุ้นศูนย์ควบคุมความอิ่มในสมอง ทำให้ความอยากอาหารลดลง ดังนั้น นอกยาจะมีคุณสมบัติลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เเล้ว ยังมีผลช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย

การฉีดยากลุ่มจีแอลพี 1 อาจมีผลข้างเคียง ดังนี้

  1. คลื่นไส้ ท้องอืด
  2. ท้องเสีย
  3. มึนงง ปวดหัว
  4. กรดไหลย้อน
  5. เบื่ออาหาร

ทั้งนี้ อาการข้างเคียงเหล่านี้มักเป็นเพียงช่วงเเรกหลังเริ่มใช้ยา เเละทุเลาลงเองหลังจากใช้ยาไปแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์

ในผู้ป่วยบางราย มีรายงานว่าการใช้ยากลุ่มนี้อาจเป็นสาเหตุของโรคตับอ่อนอักเสบได้ จึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

นอกเหนือจากยาทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวมาข้างต้น ยังมียาเทอซีพาไทด์ (Tirzepatide) ซึ่งเป็นตัวยารวมระหว่างยากลุ่มจีแอลพี 1 ข้างต้น ร่วมกับ จีไปพี ( Glucose-dependent insulinotropic polypeptide – GIP ) ซึ่งออกฤทธิ์้เสริมกันทั้งในเเง่การลดดระดับน้ำตาลในเลือด และ ลดความอยากอาหาร อีกทั้งยังมียาอีกกลุ่ม คือ ยาพรามลินไทด์ (Pramlintide) หรือฮอร์โมนอะไมลิน (Amylin) สังเคราะห์ ซึ่งจัดกลไกสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน อยู่ในกลุ่มยากระตุ้นตัวรับเปปไทด์ตัวเหมือนกลูคากอนชนิดที่ 1 และใช้รักษาโรคเบาหวานเช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hyperglycemia in diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperglycemia/diagnosis-treatment/drc-20373635. Accessed April 22, 2022

Types of Diabetes Mellitus. https://www.webmd.com/diabetes/guide/types-of-diabetes-mellitus. Accessed July 25, 2022

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444. Accessed July 25, 2022

สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf. Accessed July 25, 2022

Pramlintide. https://www.drugs.com/mtm/pramlintide.html. Accessed July 25, 2022

Diabetes Drugs You Inject That Aren’t Insulin. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-non-insulin. Accessed July 25, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/09/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเบาหวาน แผล หายช้า เพราะอะไร

Overt DM คือ ภาวะเบาหวานที่เป็นมาก่อนตั้งครรภ์ สาเหตุ อาการ การรักษา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 29/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา