backup og meta

อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากสาเหตุใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 10/07/2023

    อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากสาเหตุใด

    อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยลดต่ำจนอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย ส่งผลให้มีอาการผิดปกติอย่างหนาวสั่น วิตกกังวล เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ หิวมากกว่าปกติ วิธีป้องกันได้แก่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอในการทำงานตามปกติ

    อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากอะไร

    อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติหรือน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (3.9 มิลลิโมล/ลิตร) มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งร่างกายมีความบกพร่องของฮอร์โมน และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาเบาหวานด้วยอินซูลิน ภาวะนี้จะทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเนื่องจากมีพลังงานไม่เพียงพอในการหล่อเลี้ยงเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ และทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมา

    ปัจจัยเสี่ยงอาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน

    ปัจจัยต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวานได้

    • รับอินซูลินเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป
    • รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่กินอาหารบางมื้อ
    • รับประทานยารักษาเบาหวานเกินขนาด
    • ทำกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายหักโหมกว่าปกติ
    • ดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง
    • รับประทานอาหารที่ไม่สมดุล

    อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นยังไง

    ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีอาการหนาวสั่น ขนลุก เจ็บที่บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ร่วมกับอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

    • มือสั่น ตัวสั่น
    • ใจสั่น
    • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
    • มีเหงื่อออก
    • หิวมากกว่าปกติ
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • วิงเวียนศีรษะ
    • สับสน มีปัญหาในการตั้งสมาธิ
    • ตัวซีด
    • ชาที่ริมฝีปาก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม

    นอกจากนี้ยังมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลากลางคืน ที่อาจมีอาการดังต่อไปนี้

    • นอนไม่หลับ มีปัญหาในการนอน
    • เหงื่อออกจนชุ่มเสื้อผ้าหรือที่นอน
    • ฝันร้าย
    • ร้องไห้ออกมาขณะนอนหลับ
    • รู้สึกเพลีย สับสนมึนงงหลังจากตื่นนอน

    สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง และควรได้รับการดูแลจากบุคลากรทางแพทย์โดยด่วน อาจมีอาการดังนี้

    • สายตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน
    • ขาแขนอ่อนแรง เดินไม่สะดวกเท่าปกติ
    • พูดจาติดขัด
    • ชัก
    • หมดสติ

    วิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

    การปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้ อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ต่ำจนเกินไปจนเกิดอาการหนาวสั่น

    • ปฏิบัติตามคำแนะนำและข้อห้ามของบุคลากรทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด และรับประทานยารักษาเบาหวานอย่างครบถ้วนตามที่คุณหมอสั่ง
    • ไม่ควรออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมทางกายที่ใช้พลังงานมากกว่าปกติ เพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงกว่าปกติ และควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อน ระหว่าง และหลังการออกกำลังกาย และปรับยาหรือปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
    • หากต้องการปรับเปลี่ยนแผนการรักษาเพราะระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่หรือสูง/ต่ำเกินไป ควรปรึกษาคุณหมอก่อนถึงการปรับเปลี่ยนยาหรืออาหารอย่างเหมาะสมกับภาวะสุขภาพของตัวเอง
    • หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของตัวเองอยู่เสมอเพื่อประเมินผลการรักษาโรคเบาหวานที่ผ่านมาและควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • ควรพกพาอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น กลูโคสเม็ด น้ำผลไม้กล่อง ของหวาน เมื่อออกไปข้างนอกอยู่เสมอ
    • ไม่ควรงดมื้ออาหาร เพราะอาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำมากจนร่างกายขาดพลังงาน
    • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โดยเฉพาะในช่วงท้องว่าง แอลกอฮอล์ยังอาจไประงับอาการที่ทำให้ทราบว่าน้ำตาลในเลือดต่ำจนอาจทำให้ทราบก็ต่อเมื่อน้ำตาลในเลือดลดต่ำในระดับรุนแรงแล้ว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 10/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา