backup og meta

อาหารทดแทน ทางเลือกใหม่สำหรับเบาหวานทุกระยะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 18/01/2022

    อาหารทดแทน ทางเลือกใหม่สำหรับเบาหวานทุกระยะ

    สำหรับผู้เป็นเบาหวาน การดูแลเรื่องอาหารให้เหมาะสม ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการควบคุมภาวะของโรคเบาหวาน เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไปมีผลโดยตรงกับระดับน้ำตาลในเลือด ปัจจุบันจึงมีการคิดค้นอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นเบาหวานโดยเฉพาะ เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลร่างกายที่สะดวกและจัดการโภชนาการได้สมดุลมากขึ้น

    อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นเบาหวาน

    ตอบโจทย์แนวทางการดูแลรักษาผู้เป็นเบาหวานและผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน1 เนื่องจากมีประโยชน์ที่สอดคล้องกับการรักษาทางการแพทย์ ดังนี้

    1. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และจำกัดพลังงานอย่างเหมาะสม เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนมีคาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษ ช่วยเพิ่มความอิ่มหลังมื้ออาหาร ทั้งยังให้พลังงานต่ำกว่ามื้ออาหารปกติ
    2. เน้นการรับประทานอาหารที่มาจากพืชเป็นหลัก โดยมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) สูง หลีกเลี่ยง ไขมันทรานส์ และจำกัดไขมันอิ่มตัวซึ่งในอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว เชิงเดี่ยว (MUFA) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) สูง ดีต่อสุขภาพหัวใจ
  • มีการปรึกษาและวางแผนทางโภชนาการและมื้ออาหารทดแทน ในอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนเป็นสูตรอาหารที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นอาหารเสริมหรือทดแทนมื้ออาหารได้เป็นอย่างดี
  • อาาหรทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นเบาหวาน นอกจากจะครบถ้วนด้วยสารอาหารหลัก ต่าง ๆ พร้อมแร่ธาตุและวิตามินนานาชนิดแล้ว ยังมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษที่ย่อยและดูดซึมได้อย่างช้า ๆ มีโปรตีนสูงถึง 20% มากกว่าสูตรมาตรฐานทั่วไป และมีกรดไขมัน MUFA สูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จำเป็นสำหรับผู้เป็นเบาหวานที่ต้องได้รับอย่างครบถ้วน

    ประโยชน์ของอาหารทดแทนที่ครอบคลุมถึงผู้เป็นเบาหวานในแต่ละกลุ่ม

    • ภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน (Prediabetes) เป็นภาวะที่เริ่มมีความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาล คือ มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (Fasting Blood Sugar) อยู่ที่ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร (Post-prandial Blood Sugar) มากกว่า 140-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคตมากกว่าคนทั่วไป

    ในกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงโรคเบาหวานและมีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน พบว่า การได้รับคำปรึกษาทางด้านโภชนาการอย่างเหมาะสม และวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด หรือได้รับอาหารทดแทนมื้ออาหาร ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้น้ำหนักตัวลดลง สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานในอนาคตได้ถึง 58%2 และประโยชน์ต่อสุขภาพนี้ยังคงส่งผลดีต่อเนื่องในระยะยาว โดยจากงานวิจัยพบว่าในอีก 15 ปีต่อมา อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานยังลดลงถึง 27% ทั้งยังมีภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กลดลงถึง 28%3

  • โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) เป้าหมายในการรักษาผู้เป็นโรคเบาหวาน คือ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยไม่เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว โดยมีการศึกษาในผู้เป็นโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักตัวเกิน พบว่า สามารถมีส่วนช่วยทำให้โรคเบาหวานหายขาดในช่วงระยะเวลา 2 ปี เมื่อได้รับอาหารทดแทนมื้ออาหารทั้ง 3 มื้อ ร่วมกับมีการวางแผนเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวในระยะยาว โดยหากมีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 10 กิโลกรัม จะมีโอกาสหายขาดได้ถึง 57% และหากลดน้ำหนักได้มากกว่า 15 กิโลกรัม จะเพิ่มโอกาสในการหายขาดได้ถึง 86%4 นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่ยืนยันถึงประโยชน์ของการรับประทานอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นเบาหวานทดแทนอาหารมื้อเช้าว่า มีส่วนช่วยควบคุมความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าการได้รับคำแนะนำทางโภชนาการเพียงอย่างเดียว1,5 ซึ่งจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus) เป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อมารดาและทารก เช่น ภาวะแท้ง ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ทารกพิการแต่กำเนิด ซึ่งมีการศึกษาพบว่า หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่รับประทานอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นเบาหวานแทนอาหารว่าง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี6 อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับสัดส่วนของอาหารทดแทนให้มีความเหมาะสม
  • การใช้อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นเบาหวาน

    สามารถใช้เป็นทางเลือกควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์ได้ในทุกระยะของโรคเบาหวาน

    • สำหรับระยะก่อนเป็นโรคเบาหวาน อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนฯ จะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยจำกัดพลังงาน ควบคุมน้ำหนักตัว ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานในอนาคต
    • ผู้เป็นเบาหวานที่เพิ่งเริ่มรักษาด้วยยารับประทาน หรือมีการปรับเพิ่มขนาดและชนิดของยา อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนฯ ไม่เพียงแต่มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น แต่ยังให้สารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
    • ผู้เป็นเบาหวานที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนฯ มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างมื้ออาหารได้ดี ลดความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

    จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นเบาหวานมีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของการดูแลรักษาโรคเบาหวาน และเมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ แพทย์อาจพิจารณาปรับลดขนาดยาที่ใช้ในการรักษา ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมในการรักษาลดลงได้

    อย่างไรก็ตาม ผู้เป็นเบาหวานควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับสัดส่วนของอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนฯ ให้เหมาะสมตามแต่ระยะของการรักษา 

    Meal Plan E-Book พร้อมให้ดาวน์โหลด คลิกเลย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 18/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา