backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

prediabetes คือ อะไร มีวิธีสังเกต และรับมืออย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/01/2022

prediabetes คือ อะไร มีวิธีสังเกต และรับมืออย่างไรบ้าง

prediabetes คือ ภาวะก่อนเบาหวาน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน แต่มีแนวโน้มและเพิ่มความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวบคุมอาหาร รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี อาจลดความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานได้

คำจำกัดความ

prediabetes คือ อะไร

ภาวะก่อนเบาหวาน คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยปกติค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่ามีความเสี่ยงภาวะก่อนเบาหวาน โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ 

อาการ

อาการของภาวะก่อนเบาหวาน

อาการของภาวะก่อนเบาหวาน ที่พบได้บ่อย คือ สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณคอ รักแร้ ข้อศอก เข่า ข้อนิ้วมือ รวมถึงอาการอื่น ๆ  มีดังนี้

สาเหตุ

สาเหตุของ ภาวะก่อนเบาหวาน

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะก่อนเบาหวาน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าพันธุกรรมอาจมีส่วนสำคัญในการเพิ่มปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากความผิดปกติในยีนที่ควบคุมกระบวนการผลิตอินซูลิน อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเหมาะสม และเมื่อระดับอินซูลินลดลง อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน รวมถึงการขาดออกกำลังหาย ไขมันสะสม ภาวะน้ำหนักเกิน อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน 

โดยปกติน้ำตาลในเลือดเป็นแหล่งพลังงานให้กับส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย เมื่อรับประทานอาหารน้ำตาลจะถูกย่อยเข้าสู่กระแสเลือด ตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ดึงน้ำตาลจากเลือดไปให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะก่อนเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะก่อนเบาหวาน 

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะก่อนเบาหวาน มีดังนี้

  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • น้ำหนักเกินมาตรฐานหรือภาวะอ้วน คือ ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า ≥25 เมื่อร่างกายมีการสะสมของไขมัน มากกว่าปกติ อาจทำให้ฮอร์โมนอะดิโปเนคติน (Adiponectin) ที่สร้างจากเนื้อเยื่อไขมันในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน และเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน 

    • รอบเอว

    ผู้ที่มีรอบเอวมากกว่าปกติ โดยผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว และผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะดื้ออินซูลิน 

    • รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ 

    การรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม นมปรุงแต่งรส ผลไม้แปรรูป อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวาน

    • ขาดการออกกำลังกาย

    คนที่ขาดการออกกำลังกาย มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะเวลาที่ออกกำลังกายร่างกายจะใช้น้ำตาลในเลือดเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานมากขึ้น และอาจช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

    • คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคเบาหวาน

    โรคเบาหวานเป็นโรคที่ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อน อาจเพิ่มความของโรคเบาหวานได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป

    • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

    ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นภาวะที่ส่งผลให้ผู้หญิงมีประจำเดือนผิดปกติ มีลักษณะทางร่างกายที่เปลี่ยนไป เช่น มีขนขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย สิวขึ้น ผมร่วง น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของภาวะก่อนเบาหวาน

  • ปัญหาด้านการนอนหลับ
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น การอดนอน นอนไม่เป็นเวลา นอนไม่หลับ อาจทำให้ระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของภาวะก่อนเบาหวานและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 

    • มีกลุ่มอาการของโรคอ้วนลงพุง

    ผู้ที่มีกลุ่มอาการของโรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ซึ่งสาเหตุที่เชื่อมโยงกับภาวะก่อนเบาหวานนั้น อาจมาจาก ความดันโลหิตสูง มีคอเลสเตอรอล และมีระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์มาก เมื่อถูกสะสมไว้มาก ๆ และไม่มีการปรับพฤติกรรมใด ๆ เพื่อแก้ไข อาจสามารถพัฒนาเข้าสู่โรคเบาหวานได้ในที่สุดเช่นเดียวกัน

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน

    วิธีการวินิจฉัยภาวะก่อนเบาหวานหลัก ๆ มี 3 วิธี ดังนี้

    • การตรวจระดับน้ำตาลสะสม คือ การทดสอบนี้วัดเปอร์เซ็นต์ของน้ำตาลในเลือด ระหว่าง ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) หรือฮีโมโกลบินปกติ กับไกลโคซิเลต ฮีโมโกลบิน (Glycosylated hemoglobin) หรือฮีโมโกลบินที่มีโมเลกุลของกลูโคสเกาะติดอยู่ เป็นเวลา 2-3 เดือน ระดับน้ำตาลสะสมที่ปกติควรต่ำกว่า 5.7% ระดับน้ำตาลสะสมระหว่าง 5.7 และ 6.4% นั้นถือว่าเป็นภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน ระดับ 6.5% หรือมากกว่าในการตรวจทั้งสองรอบที่แยกจากกันจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคเบาหวาน
    • การวัดระดับกลูโคสในพลาสมา คุณหมอจะใช้ตัวอย่างเลือดหลังจากผู้ป่วยอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง มาตรวจวัดระดับน้ำตาลของเลือด หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง เข้าเกณฑ์โรคเบาหวาน 
    • การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล คุณหมอจะวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากที่ผู้ป่วยอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เมื่อตรวจวัดระดับเรียบร้อย คุณหมอจะให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเชื่อม แล้วจะทำการวัดระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 140-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าเป็นภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน

    การรักษาภาวะก่อนเป็นเบาหวาน

    วิธีการรักษาภาวะก่อนเบาหวานที่เหมาะสม คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากพบอาการผิดปกติจะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการควบคุมการรับประทานอาหารร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

    ในกรณีผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงแต่ไม่สูงพอที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาเพื่อควบคุมระดับอินซูลิน เช่น ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ยากลูโคเฟจ (Glucophage)

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองเพื่อลดความเสี่ยงภาวะก่อนเบาหวาน

    วิธีดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะก่อนเบาหวาน มีดังต่อไปนี้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ผัก ผลไม้ ธัญพืช 
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และจำกัดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    • ควบคุมความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลภายในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ
    • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยมีค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5-22.90

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา